@article{สำรอง_ขจรมณี_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง}, volume={4}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/253410}, abstractNote={<p>พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งเสริมการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ซึ่งตำแหน่งอาจารย์หรือพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่สำคัญ โดยพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจะส่งเสริมการเกิดองค์ความรู้ในด้านวิชาการ และสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติต่อไปได้</p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง และ 2) การพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมเป็นตัวพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 188 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบวัดความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และแบบวัดพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานอยู่ในระดับสูง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 21.6 (R<sup>2</sup> = .216)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมสามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานได้มากที่สุด รองลงมาคือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานเท่ากับ .268 และ .227 ตามลำดับ</p>}, number={3}, journal={วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์}, author={สำรอง อลิสา and ขจรมณี สมรรถพงศ์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={1–15} }