TY - JOUR AU - ทองศิลป์, อัศนีย์ PY - 2018/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร JF - วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ JA - HSRNJ VL - 1 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/252461 SP - 55-67 AB - <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายใน ภายนอก และศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ภายนอกตัวบุคคล ที่มีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการจำแนกกลุ่มความสามารถในการเรียนของนักศึกษา และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัจจัยภายในและภายนอกจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 809 คน ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสม กลุ่มสาขาวิชา ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ความคาดหวังในอนาคต ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน และการให้บริการของสถานศึกษา ตัวแปรตาม คือ ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกลุ่มความสามารถในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ</p><p>ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต และการให้บริการของสถานศึกษา โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและบรรยากาศในชั้นเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ตัวแปรทุกคู่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความคาดหวังในอนาคตสามารถทำนายศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (R2=53.0%, Adj.R2 =52.9%) การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มความสามารถในการเรียน พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต บรรยากาศในชั้นเรียน และการให้บริการสถานศึกษา อธิบายการเป็นสมาชิกกลุ่มได้ร้อยละ 87.8 (hit rate internal =93.9%, external= 93.7%) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 นอกจากนี้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้บริการสถานศึกษากลุ่มวิศวกรรม - วิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มมนุษย์-สังคม และสูงกว่ากลุ่มวิจิตรศิลป์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแปรบรรยากาศในชั้นเรียนไม่พบนัยสำคัญของการทดสอบ</p> ER -