https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/issue/feed วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-11-19T08:50:22+07:00 ดร.กฤษดา เชียรวัฒนสุข hsrnj.journal@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการบริหารงานร่วมกันระหว่างสถาบัน ในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ การเพิ่มศักยภาพนักวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทที่มีการปรับเปลี่ยนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ รวมถึงการร่วมมือกันสร้างผลงานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้สู่ชุมชน สังคมและประเทศชาติให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/277087 พฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง 2024-10-07T08:54:11+07:00 สุนันทา บุญประคอง sununtha_b@mail.rmutt.ac.th สุรพร อ่อนพุทธา suraporn_o@rmutt.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการวัดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง ทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการวัดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พฤติกรรมการรับความคิดริเริ่ม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมความยั่งยืน และ พฤติกรรมการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพงานแตกต่างกัน แต่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-11-05T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สุนันทา บุญประคอง, สุรพร อ่อนพุทธา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/273196 บทบาทของปัจจัยเชิงลบด้านองค์กรที่ส่งผลให้พนักงานในสถานประกอบการในภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครลดความทุ่มเทในการทำงาน 2024-05-23T13:28:34+07:00 ชานน ชลวัฒนะ chanon@go.buu.ac.th สุชาดา วุฒิปัญญารัตนกุล suchada_w@go.buu.ac.th วรรณวิชนี ถนอมชาติ wanvice@buu.ac.th ปิยพรหม สมบูรณ์สุนิธิ piyapromh@gmail.com <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธีโดยใช้การวิจัยแบบเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มจากการศึกษาในเชิงคุณภาพและใช้การวิจัยเชิงปริมาณมาทดสอบสมมติฐานที่พัฒนาตัวแปรมาจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยเชิงลบทางด้านองค์กรที่ทำให้พนักงานในองค์กรลดความทุ่มเทในการทำงาน ใช้เครื่องมือเป็นแบบแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 32 ราย ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่อิ่มตัวแสดงให้เห็นถึงปัจจัยเชิงลบทางด้านองค์กรที่ลดความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ การขาดการสนับสนุนจากองค์กร ความเครียดอันเกิดจากการทำงาน ผู้นำที่ขาดประสิทธิภาพ ข้อจำกัดด้านโอกาสในความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่ดี และการขาดความมั่นคงในการทำงาน จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยต้องการทราบว่าตัวแปรหลักด้านใดของปัจจัยด้านองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการลดความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน จึงได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างปลายปิด<br />กับกลุ่มตัวอย่าง 315 ราย และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่า การขาดสนับสนุนขององค์การ (X1) ความเครียดในที่ทำงาน (X2) ความเป็นผู้นำหรือการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ (X4) ไม่มีผลกระทบทางสถิติต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงาน ที่นัยสำคัญทางสถิติมากกว่า 0.05 ในทางตรงกันข้าม ข้อจำกัดด้านโอกาสในการก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน (X3) พฤติกรรมเชิงลบของวัฒนธรรมและบรรยากาศขององค์กร (X5) และความไม่มั่นคงในงาน (X6) ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อความทุ่มเทในการทำงานของพนักงาน</p> 2024-12-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Chanon Chonwattana, Suchada Wuttipanyarattanakul, Wanvicechanee Tanoamchard, Piyaprom Somboonsuniti https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/273103 ความคิดเห็นของการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2024-10-05T16:40:49+07:00 ประกาย วุฒิพิพัฒนพงศ์ prakai.wutti@gmail.com ชาลินี ปลูกผลงาม chalineephd@gmail.com ฐิติมา สุ่มแสนหาญ Thitima.s@chula.ac.th ชูศักดิ์ อินทมนต์ chusak4473@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านศักยภาพของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ส่งผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ปัจจัยด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ส่งผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ปัจจัยด้านศักยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในการประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ส่งผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านศักยภาพของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่มีผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวยังหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ด้านความยั่งยืนของการอนุรักษ์ถึงทรัพยากรทางธรรมชาติ 2) ปัจจัยด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ส่งผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวยังหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) ปัจจัยด้านศักยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในการประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนที่ส่งผลต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวยังหมู่บ้านท่องเที่ยววิถีชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้แก่ ด้านความร่วมมือจากภาครัฐ</p> 2024-12-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 ประกาย วุฒิพิพัฒนพงศ์, ชาลินี ปลูกผลงาม, ฐิติมา สุ่มแสนหาญ, ชูศักดิ์ อินทมนต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/277544 สภาพแวดล้อมการทำงานและภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัท Zhanchen New Materials Group Co., Ltd. 2024-11-19T08:50:22+07:00 เต๋อหัว หวัง wangdehua1979@gmail.com จิตรลดา ตรีสาคร ap.chitralada@thongsook.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัท Zhanchen New Materials Group Co., Ltd. และเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในบริษัทเดียวกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือพนักงานของบริษัท Zhanchen New Materials Group Co., Ltd. โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นแบบการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้วิธี Partial Least Square Structural Equation Modeling (PLS-SEM) ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 83.9 และยังพบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลมากกว่าสภาพแวดล้อมการทำงานต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ดังนั้น องค์กรสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยเน้นที่การจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัย การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการวางผังพื้นที่ทำงานอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงาน การส่งเสริมให้ผู้นำมีอิทธิพลเชิงบวกสามารถนำไปสู่การพัฒนาความสามารถของพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กร</p> 2024-12-19T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 เต๋อหัว หวัง, จิตรลดา ตรีสาคร