วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการบริหารงานร่วมกันระหว่างสถาบัน ในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ การเพิ่มศักยภาพนักวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทที่มีการปรับเปลี่ยนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ รวมถึงการร่วมมือกันสร้างผลงานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้สู่ชุมชน สังคมและประเทศชาติให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> สมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ th-TH วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2651-155X <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> I MAY BE WRONG ฉันอาจจะผิดก็ได้ ปัญญาญาณจากชีวิตพระป่า https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/269903 <p>หนังสือ 'ฉันอาจจะผิดก็ได้' นั้นสามารถกล่าวได้ว่าเต็มไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและความสง่างาม มีการเล่าเรื่องที่อบอุ่นและทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกร่วม เปรียบเหมือนว่าผู้เขียนนั่งเล่าเรื่องราวอยู่ข้าง ๆ ผู้อ่านและเป็นเพื่อนที่คอยเติมชีวิตให้เต็ม ให้ความรื่นรมย์ในยามที่มีสุข คอยปลอบประโลม และช่วยดึงความเชื่อมั่นกลับมาในยามที่มีทุกข์ หนังสือเล่มนี้จึงควรค่าแก่การอ่านอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความกังวลและกำลังสงสัยว่าตนเองเผชิญสิ่งใดอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้ได้มุมมองแบบที่ไม่เคยมองมาก่อนในการใช้ชีวิต</p> วนิดา พลเดช Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 6 3 120 121 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเลือกใช้บริการโซเชียลแบงก์กิ้ง กรณีศึกษา ไลน์บีเคของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/263885 <p>ด้วยยุคสมัยการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความสะดวกสบายของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการเลือกใช้งานเทคโนโลยีของผู้บริโภค งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางเทคโนโลยีที่ส่งต่อความตั้งใจที่จะเลือกใช้บริการโชเชียลแบงก์กิ้ง กรณีศึกษา ไลน์บีเคของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย โดยมีการใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างช่วงอายุ 21-37 ปี ทั้งหมด 378 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากผู้ศึกษาวิจัยได้กำหนดผู้กรอกแบบสอบถามเป็นกลุ่มผู้ที่มีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการโชเชียลแบงก์กิ้งของไลน์บีเคในกลุ่มเจเนอเรชันวาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจเลือกใช้บริการ ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม สิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้งาน การรับรู้ของผู้บริโภค นวัตกรรมส่วนบุคคล คุณภาพระบบ และความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการทางเทคโนโลยีของแอปพลิเคชันไลน์บีเคและปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการทางเทคโนโลยีของแอปพลิเคชันไลน์บีเค คือ ความคาดหวังในความพยายาม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กุลณัฐ หัตถปนิตย์ กรชนก แซมหิรัญ นรีกานต์ คนโททอง นัทธมน สมตั้งมั่น จารุพร ตั้งพัฒนกิจ Copyright (c) 2023 กุลณัฐ หัตถปนิตย์, กรชนก แซมหิรัญ, นรีกานต์ คนโททอง, นัทธมน สมตั้งมั่น, จารุพร ตั้งพัฒนกิจ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 6 3 1 14 อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อความผูกพันของพนักงาน ผ่านทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก: กรณีศึกษาบริษัท ABC ในประเทศจีน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/268120 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานบริษัท ABC ในประเทศจีน และเพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีอิทธิพลระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันของพนักงานบริษัท ABC ในประเทศจีน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ พนักงานบริษัท ABC ในประเทศจีน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นแบบตามสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลองโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงต่อความผูกพันของพนักงานบริษัท อย่างไรก็ตามการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกพันของพนักงานบริษัทผ่านทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ซึ่งมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 84.5 จึงยืนยันได้ว่าทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรคั่นกลางอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นผู้จัดการควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานผ่านนโยบายต่าง ๆ เช่น ค่าตอบแทนและการฝึกอบรมที่แข่งขันได้ การปลูกฝังทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและแนวทางการจัดการที่สอดคล้องกับคุณค่าทางวัฒนธรรมจีนเป็นกุญแจสำคัญในการเลี้ยงดูพนักงานที่มีความผูกพัน</p> ซูชี่ หยวน ภูมิพิชัย ธารดำรงค์ Copyright (c) 2023 ซูชี่ หยวน, ภูมิพิชัย ธารดำรงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 6 3 15 33 อิทธิพลเชิงสาเหตุต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรที่บริษัท Y: การศึกษาความพึงพอใจในฐานะตัวแปรคั่นกลาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/268122 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงาน ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบส่วนบุคคล และรางวัลภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงานและการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรที่บริษัทวาย และเพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของความพึงพอใจของพนักงานที่มีอิทธิพลระหว่างสภาพการทำงาน ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบส่วนบุคคล และรางวัลภายนอกต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรที่บริษัทวาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ พนักงานในบริษัทวาย โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มแบบโควตา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลองโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบส่วนบุคคล และรางวัลภายนอกที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงานและการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรที่บริษัทวายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ถึง .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 70 ในขณะที่ความรับผิดชอบส่วนบุคคลและความพึงพอใจมีอิทธิพลโดยตรงต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กร โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 57 นอกจากนี้ ภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบส่วนบุคคล และรางวัลภายนอกมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรผ่านความพึงพอใจของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.207, 0.112, 0.110 และ 0.030</p> ซ่าน หวัง ภูมิพิชัย ธารดำรงค์ Copyright (c) 2023 ซ่าน หวัง, ภูมิพิชัย ธารดำรงค์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 6 3 34 53 ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/261401 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่มีต่อประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เก็บข้อมูลจากพนักงานที่ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และระยอง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และเก็บข้อมูลตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวด้านการสื่อสารภายในองค์กรสีเขียว การออกแบบและวิเคราะห์ภาระงานสีเขียว การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรสีเขียว การสรรหาและคัดเลือกสีเขียว การจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัลสีเขียว และการประเมินผลการทำงานสีเขียวมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการผลิต โดยมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำองค์กรให้ดำเนินการด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ได้</p> ศรากุล สุโคตรพรหมมี สุรพร อ่อนพุทธา วิญญู ปรอยกระโทก วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา Copyright (c) 2023 ศรากุล สุโคตรพรหมมี, สุรพร อ่อนพุทธา, วิญญู ปรอยกระโทก, วรางกูร อิศรางกูร ณ อยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-20 2023-12-20 6 3 54 72 ผลกระทบของการสื่อสารองค์การที่มีต่อการจัดการการฟื้นฟูสีเขียวและ ผลการดำเนินงานขององค์การ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/267615 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อที่ศึกษาผลกระทบของการสื่อสารองค์การที่มีต่อการจัดการการฟื้นฟูสีเขียวและผลการดำเนินงานขององค์การของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย โดยทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานระดับผู้จัดการแผนกที่ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีที่ตั้งในประเทศไทย จำนวน 546 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการไม่ใช้ความน่าจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงไปยังพื้นที่ที่มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในจังหวัดปราจีนบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สมการโครงสร้าง ซึ่งผลการศึกษา พบว่า การสื่อสารองค์การมีผลต่อการจัดการการฟื้นฟูสีเขียวและมีผลต่อผลการดำเนินงานองค์การอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 โดยมีค่าน้ำหนักมาตรฐานเท่ากับ 0.615 และ 0.261 นอกจากนี้ การจัดการการฟื้นฟูสีเขียวมีผลต่อผลการดำเนินงานองค์การอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 โดยมีค่าน้ำหนักมาตรฐานเท่ากับ 0.516 โดยผลการศึกษานี้เสนอให้องค์การต้องมีการสื่อสารผ่านบุคคลในองค์การและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนอกองค์การเพื่อการจัดการการฟื้นฟูสีเขียวและผลการดำเนินงานขององค์การที่ดียิ่งขึ้น</p> อุมาวสี ศรีบุญลือ อรวี ศรีบุญลือ สุรพร อ่อนพุทธา เมทินี รัษฎารักษ์ Copyright (c) 2023 อุมาวสี ศรีบุญลือ, อรวี ศรีบุญลือ, สุรพร อ่อนพุทธา, เมทินี รัษฎารักษ์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-21 2023-12-21 6 3 73 92 การศึกษาไทยในสายตานักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/268441 <p>โครงการนี้มุ่งทำความเข้าใจมุมมองนักศึกษาต่างชาติในประเทศไทยที่มีต่อการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย โดยเน้นทำความเข้าใจแรงจูงใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคมการเรียนที่ประเทศไทย และทัศนคติของนักศึกษาต่างชาติที่มีต่อการเรียนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยเพื่อให้ตอบรับกับนักศึกษาต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาเป็นนักศึกษาต่างชาติที่เป็นนักศึกษาปัจจุบันที่วิทยาลัยนานาชาติที่มหาวิทยาลัยศิลปากรจำนวน 15 คน การศึกษาพบว่านักศึกษาต่างชาติเข้าศึกษาที่วิทยาลัยนานาชาติด้วยแรงจูงใจต่าง ๆ แรงจูงใจส่วนตัว แรงจูงใจจากหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย และแรงจูงใจที่มาจากสถานที่ตั้งโรงเรียน นักศึกษาต่างชาติมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับประเทศและวัฒนธรรมไทยที่ต่างกัน ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมประเทศของนักศึกษาต่างชาติ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการเข้าถึงคนท้องถิ่น ประสบการณ์ต่างประเทศและบุคลิกภาพ นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่านักศึกษาต่างชาติจะมีทัศนคติที่เป็นบวกหรือที่เป็นลบนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การเรียนการสอน อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน การให้การสนับสนุนนักเรียนต่างชาติ ผลการศึกษาดังกล่าวนำมาจัดทำข้อเสนอแนวทางในการจัดการเรียนการสอน โดยที่การเรียนการสอนควรมุ่งพัฒนาองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบได้แก่ การสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาต่างชาติอย่างเหมาะสม 2) การพัฒนาด้านการเรียนการสอน และ 3) การให้บริการสนับสนุนนักเรียนต่างชาติ</p> ธัญญา ลัญฉประสิทธิ์ รัตนพงศ์ คงเจริญ วิสวัส ทองธีรภาพ สุดาวดี จันทร์ภิวัฒน์ เนตรชนก ฤทธาคนี Copyright (c) 2023 ธัญญา ลัญฉประสิทธิ์, รัตนพงศ์ คงเจริญ, วิสวัส ทองธีรภาพ, สุดาวดี จันทร์ภิวัฒน์, เนตรชนก ฤทธาคนี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 6 3 93 106 ความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/267352 <p>ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพิ่มมากขึ้น มีการกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ESG การเปลี่ยนแปลงนี้มีรากฐานมาจากความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของข้อมูล ESG สำหรับทั้งนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนและการมีส่วนร่วมต่อองค์กร การเปิดเผยข้อมูล ESG ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งส่งผลต่อชื่อเสียงที่ดีของกิจการและดึงดูดความสนใจของนักลงทุนได้มากขึ้น นักลงทุนจะใช้ข้อมูลด้าน ESG ประเมินบริษัทร่วมกับข้อมูลทางการเงิน การเปิดเผยข้อมูลนี้ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ส่งเสริมเป้าหมายหลักของบริษัทคือการแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งวัดได้จากราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงที่สุด จากงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า บริษัทที่มีคะแนนการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่สูง ส่งผลต่อผลการดำเนินงานและมูลค่ากิจการเพิ่มสูงขึ้น สามารถสร้างผลตอบแทนได้สม่ำเสมอในระยะยาว การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน แนวทางนี้จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามหลักความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทเป็นที่สนใจของนักลงทุนและได้เปรียบในการแข่งขัน</p> จิราวัฒน์ แสงเป๋า ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ สุภา ทองคง Copyright (c) 2023 จิราวัฒน์ แสงเป๋า, ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ, สุภา ทองคง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-27 2023-12-27 6 3 107 119