วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj <p>วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการบริหารงานร่วมกันระหว่างสถาบัน ในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ การเพิ่มศักยภาพนักวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจในบริบทที่มีการปรับเปลี่ยนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ รวมถึงการร่วมมือกันสร้างผลงานวิจัยเพื่อนำองค์ความรู้สู่ชุมชน สังคมและประเทศชาติให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> hsrnj.journal@gmail.com (ดร.กฤษดา เชียรวัฒนสุข) nhat.jui@gmail.com (ดร.ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ) Tue, 05 Nov 2024 14:45:18 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 พฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/277087 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการวัดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของพนักงานในองค์กรภาครัฐแห่งหนึ่ง ทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการวัดพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พฤติกรรมการรับความคิดริเริ่ม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พฤติกรรมความยั่งยืน และ พฤติกรรมการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง และระยะเวลาการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพงานแตกต่างกัน แต่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุนันทา บุญประคอง, สุรพร อ่อนพุทธา Copyright (c) 2024 สุนันทา บุญประคอง, สุรพร อ่อนพุทธา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/277087 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700