@article{เอื้อไตรรัตน์_2022, title={การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของนิสิต}, volume={11}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/251107}, abstractNote={<p>            งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (mixed method) ในสาขาวิชาภาษาไทยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดและพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรี ในรายวิชา มศว 258 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ด้วยการจับสลากกระทั่งครบตามที่ต้องการคือ 24 คน ระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดของผู้เรียน ผลการศึกษาพบข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดใน 4 ด้าน เรียงลำดับข้อบกพร่องที่พบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ 1 การใช้เสียงประกอบการพูด (Tone of Voice) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.83 ข้อบกพร่องลำดับที่ 2 คือ การใช้สายตาประกอบการพูด (Eye Contact) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 ข้อบกพร่องลำดับที่ 3 คือ การใช้มือประกอบการพูด (Gestures of Hands) <br />มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 และข้อบกพร่องลำดับที่ 4 คือ การใช้ท่าทางประกอบการพูด (Posture) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ระยะที่สองผู้วิจัยนำผลการศึกษาระยะที่หนึ่งมาออกแบบเกมการศึกษาโดยใช้แนวคิด Game Based Learning หรือ GBL เพื่อพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของผู้เรียน ระยะที่สามสรุปผลการวิจัยว่าก่อนที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาผู้เรียนมีคะแนนภาคปฏิบัติการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.50 ส่วนผลประเมินภาคปฏิบัติการหลังได้รับการพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาผ่านเกมการศึกษา พบว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.96 จากคะแนนเต็ม 20 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพบว่าหลังการพัฒนาผู้เรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนการพัฒนาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</p>}, number={1}, journal={วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี}, author={เอื้อไตรรัตน์ รณยุทธ}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={105–121} }