@article{สงวนสัจพงษ์_ฉิรินัง_จันทรศร_ไชยสกุลเกียรติ_2022, title={นโยบายสาธารณะกับการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของไทย}, volume={11}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/251977}, abstractNote={<p>            บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะกับการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะเรือนกระจกของโลกในปัจจุบัน นโยบายการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น ได้ดำเนินการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมไปแล้ว จำนวนสิบพื้นที่ทั่วประเทศ โดยการกำหนดพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กระทำโดยการออกกฎกระทรวงขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นโยบายดังกล่าวสามารถบรรลุเป้าประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</p> <p>            ดังนั้นก่อนการกำหนดนโยบายสาธารณะดังกล่าว ภาครัฐจำเป็นต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดนโยบาย เพื่อรับทราบข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยจะเป็นผลให้เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วจะเกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุด ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดเกี่ยวกับการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service : NPS) และเมื่อเกิดการจำกัดสิทธิบางประการของประชาชนในพื้นที่แล้ว ภาครัฐจึงจำเป็นจะต้องหาแนวทางเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดความเห็นพ้องร่วมกันในการกำหนดนโยบายซึ่งจะเป็นผลให้นโยบาย การกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่</p>}, number={1}, journal={วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี}, author={สงวนสัจพงษ์ วิษณุพงษ์ and ฉิรินัง เพ็ญศรี and จันทรศร วรเดช and ไชยสกุลเกียรติ อุดมวิทย์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={237–257} }