@article{ภาวสุทธิไพศิฐ_ชาวเพ็ชร_2022, title={อุปสรรคในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา}, volume={11}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/253416}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้เพื่อสังเคราะห์อุปสรรคและการแก้ไขอุปสรรคในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาต้องใช้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนเฉพาะความพิการที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเรียนรวมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 โรงเรียน คัดเลือกโดยใช้วิธียึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลักและวิธีสังคมมิติ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ 1. แบบวิเคราะห์เอกสาร 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบบันทึกข้อมูลจากการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>อุปสรรคของสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่คือความไม่เพียงพอของน้ำใช้ อาคารสถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลำดับ โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กังวลเรื่องความปลอดภัยและความเหมาะสม และทุกโรงเรียนคิดว่ายังมีบางบริเวณที่ควรพัฒนาในเรื่องความสะอาด อุปสรรคของสภาพแวดล้อมด้านกลุ่มเพื่อนคือเรื่องวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกัน ลักษณะเฉพาะของเด็กทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน และการบริหารจัดการให้เด็กทั้ง 2 กลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน ตามลำดับ อุปสรรคของสภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนรู้ในส่วนผู้สอนนั้นคือเรื่องการสื่อสาร ความไม่เพียงพอของความรู้และประสบการณ์ การเลือกดูแลเด็กและจำนวนของครูต่อนักเรียนไม่เหมาะสม และความแตกต่างทางความคิดและภาระงานของครู<br />มีมาก ตามลำดับ ส่วนอุปสรรคที่เกี่ยวกับตัวผู้เรียนคือเรื่องลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน เรื่องภาวะอารมณ์และพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคล และกระบวนการจัดการเรียนรู้ยังไม่มีความชัดเจนและเหมาะสมตามลำดับ อุปสรรคของสภาพแวดล้อมด้านการบริหารคือเรื่องการขัดแย้งทางความคิด การสื่อสารภายในองค์กร และการมอบหมายภาระงานอื่นๆให้ครู </p> <p>การแก้ไขอุปสรรคมีทั้งวิธีการแก้ไขที่เหมือนกันและที่แตกต่างตามบริบทของโรงเรียน และพบว่าผู้บริหาร ครู นักเรียนตลอดจนชุมชนภายนอกมีส่วนร่วมในการแก้ไข <br />การแก้ไขอุปสรรคมีความแตกต่างกันในกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ บางอุปสรรคใช้วิธีการแก้ไขหลายวิธีในขณะเดียวกัน การแก้ไขอุปสรรคมีทั้งระดับนโยบายและระดับบุคคล รวมทั้งการป้องกันไว้ล่วงหน้าและ ณ ขณะที่อุปสรรคเกิดขึ้นแล้ว </p>}, number={1}, journal={วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี}, author={ภาวสุทธิไพศิฐ อารี and ชาวเพ็ชร นะรงษ์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={175–189} }