https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/issue/feedวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี2024-06-27T17:20:35+07:00ดร.เอกราช ดีนางhsjournal@udru.ac.thOpen Journal Systems<p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2<br>มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)</p>https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/270513SERVICE EXCELLENCE IN PUBLIC SPORTS SERVICES: LEVERAGING SERVICE DELIVERY AND DESIGN2024-06-18T09:59:39+07:00Han Shanshanfsssid@ku.ac.thChaithanaskorn Phawitpiriyaklitifsssid@ku.ac.thChen Tengdafsssid@ku.ac.thSid Terasonsterason@gmail.com<p>This research provides an in-depth study of the current status and future development trends of public sports service quality management in rural Zhuang ethnic regions of China, with the goal of improving service quality, and explores the significant impacts of competency, public sports service delivery, and service design on public sports service quality. By analyzing the data using SmartPLS, the study verified the validity of the measurement tools and the significant relationships between the key variables in the structural model. The results of the study indicate that competency has a significant positive impact on Public sports service delivery and service design, which in turn have a positive effect on public sports service quality. The study validated the indirect effects through the Bootstrap program, further supporting the pathways of competency, service design and public sports service delivery on public sports service quality. Finally, the study provides strong guidance for improving public sports service quality in rural China at both the theoretical and practical levels, and offers new perspectives and suggestions for academic research and policy formulation in related fields.</p>2024-05-17T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/264836การพัฒนาวิธีคั่วข้าวเม่าด้วยเครื่องคั่วไฟฟ้าแบบปรับความเร็วรอบต้นแบบ สำหรับการผลิตข้าวเม่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบ จังหวัดนครพนม2023-12-13T13:48:15+07:00กฤตภาส วงค์มาkrittaphat@snru.ac.thวัสยษฏิ์ อนันต์ปรีชากรkrittaphat@snru.ac.thธีรวุฒิ สำเภาkrittaphat@snru.ac.thสันติ ผิวผ่องkrittaphat@snru.ac.th<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างเครื่องคั่วพลังงานไฟฟ้าแบบปรับความเร็วรอบต้นแบบสำหรับการพัฒนาวิธีคั่วข้าวเม่าในการผลิตข้าวเม่าของชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบ จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบ และ 3) ศึกษาการยอมรับเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบของกลุ่มข้าวเม่า งานวิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนกลุ่มข้าวเม่า ดำเนินงานวิจัยโดยการเก็บข้อมูลการสร้างเครื่องคั่วข้าวเม่าต้นแบบ และการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องคั่วข้าวเม่าต้นแบบ ซึ่งพบว่า เครื่องคั่วต้นแบบลดระยะเวลาการใช้แรงงานคน คิดเป็นร้อยละ 85.7 เมื่อเทียบกับการคั่วข้าวเม่าแบบใช้แรงงานคนหรือแบบดั้งเดิม และยังลดเวลาในการคั่วลงจากเดิมใช้เวลา 56 นาที เหลือ 40 นาที สำหรับการคั่ว 4 รอบ ทำให้การคั่วข้าวเม่าเร็วขึ้นร้อยละ 28.6 สามารถลดค่าแรงงานประมาณ 3,300/เดือน/คน ในการประเมินการยอมรับโดยใช้วิธี 9-point Hedonic scale พบว่าชุมชนกลุ่มข้าวเม่ายอมรับ เรื่องสี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัสของข้าวเม่าที่ได้จากการคั่วโดยเครื่องคั่วต้นแบบเทียบเท่ากับการคั่วแบบดั้งเดิม และให้การยอมรับเครื่องคั่วข้าวเม่าพลังงานไฟฟ้าต้นแบบโดยมีระดับการยอมรับอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยนี้จะนำไปสู่การขยายผลจนเกิดความน่าเชื่อถือจากชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านหนองผักตบและชุมชนข้างเคียง ทำให้เกิดการแพร่กระจายนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยชุมชนต่อไป</p>2024-06-28T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/271615USING THE PROCESS APPROACH AND SCAFFOLDING TECHNIQUE TO IMPROVE ENGLISH WRITING ABILITY OF SECOND-YEAR STUDENTS AT SAKON NAKHON RAJABHAT UNIVERSITY 2024-06-11T17:31:16+07:00Sarawut Panyasanmasatothai@hotmail.comPrayong Klanritmasatothai@hotmail.com<p>The purposes of this research were to study and compare the English writing ability of the second-year students before and after studying English writing using the process approach and scaffolding technique, and to investigate students’ attitude towards teaching English writing using the process approach and scaffolding technique of the second-year students. The sample consisted of 36 second-year students of the Bachelor of Arts Program in English under the Faculty of Humanities and Social Sciences, Sakon Nakhon Rajabhat University. They were selected using cluster random sampling. The research was experimental research with a one-group pretest-posttest design. Research instruments included 12 lesson plans, an English writing ability test, and an attitude questionnaire. The experiment lasted 12 weeks, 3 hours a week, 36 hours in total. The mean, percentage, standard deviation, one-sample t-test, and t-test for dependent samples were used for data analysis. The results were 1) The students’ pretest and posttest mean scores on English writing ability were 16.86 or 52.60 percent, and 25.28 or 78.99 percent respectively. The students’ posttest mean score on English writing ability was significantly higher than that of the pretest at the .01 level, and the mean score on the posttest was higher than the set criteria of 70 percent. 2) The students’ attitude towards teaching English writing using the process approach and scaffolding technique was at a good level.</p>2024-06-28T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/272992ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางที่มีต่อความรู้ด้านคำศัพท์และความสามารถด้านการฟัง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 52024-06-12T16:10:09+07:00ฮ่าว เฉินhao@udru.ac.thสุภัทรา วันเพ็ญchanh254@gmail.com<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนและความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอุดรวิทยา จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง 2) แบบวัดความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีน และ 3) แบบวัดความ สามารถในการฟังภาษาจีน ดำเนินการวิจัยจำนวน 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent samples t-test และ Pearson correlation ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้</p> <p>1. ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2. ความสามารถด้านการฟังภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียน<br />โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3. ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาจีนและความสามารถด้านการฟังภาษาจีนหลังเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลระดับความ สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง</p>2024-06-28T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/272544THE EFFECTS OF COOPERATIVE INTEGRATED READING AND COMPOSITION (CIRC) ON ENGLISH READING COMPREHENSION AND WRITING ABILITIES OF GRADE 7 STUDENTS IN LAO PDR2024-06-11T17:31:35+07:00Vathsana Kongsengphengphetbaynoy@gmail.comJulamas Jansrisukotbaynoy@gmail.com<p>The purposes of this research were to compare the English reading comprehension and writing abilities before and after teaching using CIRC method and compare the English reading comprehension and writing abilities after learning with the defined criteria of 70% of grade 7 students in Lao PDR. The samples were 20 Grade 7 students at Sengsouly School, Dongkhamxang Village, Hadsayfong District, Vientiane Capital, Lao PDR in the first semester of the academic year 2023. The sample were selected by cluster random sampling. This research was a one group pretest-posttest design. Research instruments employed for this research included 6 lesson plans, an English reading comprehension test and a writing ability test. The experiment lasted for 6 weeks, 3 hours a week, total of 18 hours in total. The mean, percentage, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one sample were used in data analysis. The findings of this research were as follows:</p> <ol> <li>The students’ pretest and posttest mean scores of English reading comprehension ability were 14.35 (47.83%) and 22.70 (75.66%) respectively. The students’ pretest and posttest mean scores of writing ability were 10.85 (54.25%) and 16.15 (80.75%) respectively. The students’ English reading comprehension and writing abilities after the experiment were higher than those of the pretest. It indicated that the students’ English reading comprehension and writing abilities after learning using CIRC method were statistically higher than before learning.</li> <li>The English reading comprehension and writing abilities of grade 7 students after learning by using CIRC method were statistically higher than the criteria of 70%.</li> </ol>2024-06-29T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/273114การดำรงชีพและการเมืองในชีวิตประจำวันของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอิสระ ภายใต้การกำกับของรัฐ2024-04-20T12:43:12+07:00สุนิตย์ เหมนิลsunit@udru.ac.thณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์sunit@udru.ac.th<p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการดำรงชีพและการเมืองในชีวิตประจำวันของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบอิสระ บ้านโพนสา ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 17 คน ผลการวิจัยพบว่า การปลูกยาสูบได้อยู่ในกำกับของรัฐอย่างเข้มงวดผ่านการขออนุญาตหลายขั้นตอน นอกจากนี้ เกษตรกรยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากตัวแสดงที่เกี่ยวข้องภายใต้ความสัมพันธ์ในเครือข่ายทางสังคมและโครงสร้างเชิงอำนาจในพื้นที่ซึ่งได้ซ่อนอยู่ในหลากหลายกิจกรรม อันประกอบไปด้วย หน่วยงานรัฐด้านสรรพสามิต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับซื้อยาสูบ ผู้ให้กู้ยืมเงิน ผู้ให้เช่าที่ดิน โดยตัวแสดงเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อการดำรงชีพและการเมืองในชีวิตประจำวันของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรต้องดำรงอยู่ท่ามกลางแรงกดดันและความท้าทาย อย่างไรก็ตามเนื่องจากเกษตรกรมีทรัพยากรในการดำรงชีพและยุทธศาสตร์ในการดำรงชีพที่หลากหลาย ทำให้เกษตรกรสามารถข้ามผ่านแรงกดดันและความท้าทายบางอย่างได้</p> <p> ทั้งนี้ ถึงแม้เกษตรกรจะอยู่ภายใต้โครงสร้างเชิงอำนาจ แต่เกษตรกรก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์เป็นฝ่ายตั้งรับเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกัน เกษตรกรได้แสดงพฤติกรรมต่ออำนาจที่เหนือกว่า ทั้งการบ่ายเบี่ยงและการหน่วงเหนี่ยวเวลา การฉวยใช้ประโยชน์ การนินทาและการให้ฉายา การต่อรองและแสวงหาทางเลือกที่หลากหลาย พฤติกรรมที่แสดงออกในลักษณะดังกล่าว ได้ช่วยส่งเสริมให้การดำรงชีพบรรลุผลได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าในพื้นที่วิจัยรัฐได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนยาสูบ แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่สอดคล้องกับทรัพยากรและยุทธศาสตร์ในการดำรงชีพของเกษตรกร ดังนั้น ภายใต้การกำกับ แรงกดดัน และความท้าทายที่เกษตรกรต้องเผชิญนั้น สิ่งสำคัญที่ทำให้เกษตรกรยังคงดื้อดึงปลูกยาสูบคือ 1) ความสอดคล้องกับทรัพยากรและยุทธศาสตร์ในการดำรงชีพ และ 2) การที่รัฐประสบความล้มเหลวในการส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่น</p>2024-06-29T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/274886สถานการณ์และแนวโน้มการล่อลวงคนไทยไปแสวงหาประโยชน์เพื่อธุรกิจผิดกฎหมายและค้ามนุษย์: กรณีศึกษาชายแดนจังหวัดเชียงราย2024-06-27T17:20:35+07:00สุธีรา คณะธรรมnaysuthira@gmail.comบรรพจณ์ โนแบ้วem_suthira_k@crru.ac.thวรัญญา พรหมสาขา ณ สกลนครem_suthira_k@crru.ac.th<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ เส้นทางการเดินทางเข้าไปทำงาน วิธีการล่อลวง ปัจจัยในการเข้าสู่กระบวนการ รวมถึงกระบวนการช่วยเหลือส่งกลับผู้เสียหายคืนสู่ภูมิลำเนา (ประเทศไทย) ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จำนวน 10 คน และตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ตามกลไก NRM จำนวน 10 คน โดยทั้งสองกลุ่มใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนไทยที่เป็นผู้เสียหายถูกนำออกนอกประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้เสียหายเป็นผู้มีระดับการศึกษาสูงและมีทักษะทางภาษาอังกฤษหรือจีนเป็นอย่างดี ถูกชักจูงและการล่อลวงผ่านสื่อออนไลน์และโซเซียลมีเดียทุกรูปแบบ ผู้เสียหายทุกรายสมัครใจเดินทางไปทำงานด้วยตนเองและเดินทางข้ามแดนแบบผิดกฎหมาย เส้นทางเดินทางเริ่มต้นจนสิ้นสุดของผู้เสียหายมี 2 วิธี คือ ผู้เสียหายเดินทางไปยังจุดนัดหมายเพื่อข้ามแดนเองและมีรถของนายหน้าหรือแท็กซี่ไปรับตามจุดนัดหมายจากต้นทาง ส่วนวิธีการล่อลวงผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์นั้นมีหลายวิธี เช่น การสร้างแรงจูงใจโดยให้ค่าตอบแทนสูง นายหน้าจ่ายเงินล่วงหน้า และการสร้างภาพคนที่ไปทำงานมาแล้วประสบผลสำเร็จ ด้านปัจจัยในการเข้าสู่กระบวนการการค้ามนุษย์ ปัจจัยดึงดูด คือ ค่าตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของงานที่ทำในปัจจุบันและโอกาสการขยายตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัจจัยผลักดัน คือปัจจัยทางเศรษฐกิจ การว่างงาน ภาวะหนี้สินและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในประเทศไทย และปัจจัยเสริม คือ ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และภูมิสังคมของจังหวัดเชียงรายที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดรวมถึงการค้ามนุษย์ ด้านกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทยนั้น ยึดแผน ปฏิบัติการว่าด้วยกลไกการส่งต่อระดับชาติ (NRM) เป็นแนวทางปฏิบัติ ส่วนกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศปลายทาง จะเน้นให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายแบบบูรณาการในความร่วมมือ แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ กรณีผู้เสียหายสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาประเทศไทยได้ด้วยตนเอง และกรณีผู้เสียหายพยายามติดต่อกับคนรู้จักหรือสื่อต่างๆ ในหลากหลายช่องทางเพื่อขอรับการช่วยเหลือ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ภาครัฐควรมีนโยบายในการจัดทำโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกระบวนการค้ามนุษย์ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นแนวชายแดนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ </p>2024-06-29T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/272310อิทธิพลของปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษาพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร2024-06-10T16:48:54+07:00พรทิรา ดาราจันทร์darachan_1984@hotmail.comวรรษิดา บุญญาณเมธาพรdarachan_1984@hotmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้น ที่จะศึกษาเรื่องอิทธิพลของปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวจีน<strong> </strong>กรณีศึกษาพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาปัจจัยผลักทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณชาวจีน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวพระพรหมเอราวัณกรุงเทพมหานคร จำนวน 160 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวบข้อมูล และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)ผลการศึกษาพบว่า ช่วยเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษา ในฝั่งอุปสงค์ (Demand)ที่เป็นแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณต่อความพึงพอใจและการตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ สำหรับทางด้านการปฏิบัติการทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว คือ จุดหมายปลายทาง ให้ตอบสนองต่อความต้องการอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความพึงพอใจและกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอีกผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยผลักดัน ด้านการผ่อนคลาย ด้านความสมบูรณ์ทางกายภาพ และด้านการตอบสนองต่อตนเอง มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ 2) ปัจจัยดึงดูด ด้านสิ่งดึงดูดใจของสถานที่ท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ และ3) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีน มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ </p>2024-06-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี