วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2<br>มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ <br>กำหนดจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> th-TH [email protected] (ดร.เอกราช ดีนาง) [email protected] (นายรุ่งโรจน์ มีแก้ว) Mon, 27 Nov 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ เรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/261670 <p>การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ เรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ 2) แบบประเมินความรู้และความสามารถ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานํามาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพเรื่องการทอเสื่อลายควาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มีองค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผลของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) โครงสร้างของหลักสูตร 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อ/วัสดุประกอบการฝึกอบรม และ 7) การวัดและการประเมินผล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ มีคะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความสามารถอยู่ในระดับดี 3. ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ศศิพงษ์ ศรีสวัสดิ์, จุฬาวดี มีวันคำ, ชารีณัฏฐ์ วุฒิเบญรัศมี, อุษนีย์ ศรีสารคาม, ลภัสรดา อู่เจริญ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/261670 Mon, 27 Nov 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/265364 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด จำนวน 20 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบโดยใช้ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกที่พัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 79.04/75.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 75/75 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05</p> บัวบูชา สุพานิช, กัญญาวดี แสงงาม Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/265364 Mon, 27 Nov 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/267397 <p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายรูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแผ่นดินของพ่อ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ก่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างไร โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบการสนทนากลุ่ม (<em>Focus</em><em> </em><em>Group</em>) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมในการเข้าสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลา และลดการดำเนินงานแบบลองผิดลองถูกทำให้ทราบถึงศักยภาพหรือขีดความสามารถที่แท้จริงขององค์กรของตนเอง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน อย่างไรก็ตามปัจจัยด้านแรงงานในปัจจุบันที่มีข้อจำกัดโดยเฉพาะจำนวนแรงงาน ส่งผลต่อความสามารถในการผลิตกิจการของกลุ่มที่ทำการผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และความ สามารถในการแข่งขันทั้งในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งขาดแรงงานรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการประกอบอาชีพในพื้นที่ อีกทั้งกลุ่มยังมีความรู้ด้านการจัดการบริหารในส่วนของการพัฒนาช่องทางการตลาด และการสร้างการรับรู้ของตราสินค้าที่ไม่เพียงพอและทันสมัย </p> สลิลรดา รัตน์พลที Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/267397 Wed, 13 Dec 2023 00:00:00 +0700 กลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/260872 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 2. ศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 3. กำหนดกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือน ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาในระยะที่ 1 พบว่า ประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมในการบันทึกบัญชีครัวเรือนในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 คุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ระยะที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจ และความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือน คือ ผู้ทำบัญชีต้องมีความเต็มใจในการจัดทำบัญชี สร้างแรงกระตุ้นให้ทราบถึงประโยชน์ในการจัดทำ มีความรู้ความเข้าใจในการนำข้อมูลจากการบันทึกบัญชีมาวางแผนทางการเงินแล้วจะมีเงินออม ต้องลงมือปฏิบัติ ได้รับความร่วมมือของสมาชิกในครัวเรือน จัดเวลาการบันทึกบัญชีให้ตรงกัน เพื่อความเคยชินและกันการหลงลืม สรุป รายรับ รายจ่าย ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้แก้ปัญหาได้</p> กฤตติกา แสนโภชน์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/260872 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269506 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้ระยะเวลาในการศึกษา เมษายน 2566 ถึง สิงหาคม 2566 ดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนารูปแบบ จำนวน 3 รอบปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย <br />1) สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 13 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 35 คน 3) พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. จำนวน 7 คน 4) ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลทุ่งฝน จำนวน 3 คน และ 5) ทีมสหวิชาชีพประกอบ ด้วยแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเสวนาและประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และให้ผู้ร่วมศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ทุกกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 13 คน เป็นเพศชาย 8 คน (ร้อยละ 61.54) และเพศหญิง 5 คน (ร้อยละ 38.46) ได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน อยู่ในระยะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ 9 คน (ร้อยละ 69.24) ระยะพึ่งพารุนแรง 4 คน (ร้อยละ 30.76) และได้รับการประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมากที่สุด 11 คน (ร้อยละ 84.62) การประเมินความสามารถในการสูญเสียกิจวัตรประจำวันมาก 2 คน (ร้อยละ 15.38)</p> <p>รูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตโรงพยาบาลทุ่งฝน มีการทดลองใช้ ประยุกต์แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสะท้อนคิด และสามารถพัฒนารูปแบบได้ดังนี้ 1) มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีความตระหนักร่วมกัน 2) มีกติกาสำหรับการทำงานร่วมกับทีม สหวิชาชีพและเครือข่าย 3) สามารถแก้ไขปัญหาและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างครอบคลุม</p> เชิดชาย งามหอม Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269506 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269412 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง คือ แกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน จำนวน 172 คน และผู้ป่วย จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียงกระบวนงานที่สำคัญเป็นวงรอบต่อเนื่องแบบ PDCA ศักยภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยโดยรวมหลังพัฒนาอยู่ในระดับสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value&lt;0.001) ความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง และผลลัพธ์การดูแล พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care) ร้อยละ 29.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.3 ดัชนีมวลกายผิดปกติ ร้อยละ 87.8 ฟันที่เหลือเคี้ยวได้ในผู้สูง อายุ 60 ปีขึ้นไป 20 ซี่ขึ้นไป ร้อยละ 31.7 ระยะเวลาที่เริ่มป่วยติดเตียง 1-5 ปี ร้อยละ 56.1 ป่วยมากที่สุดคือโรคมะเร็ง ร้อยละ 26.8 ระดับอาการผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 90.2 ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย มากที่สุดคือ อาการนั่งหรือนอนเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.3</p> สมบูรณ์ แง่ไชย Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269412 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ที่ส่งเสริมทักษะทางสังคม สำหรับเด็กออทิสติก ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดยโสธร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269363 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติกที่เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อมที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 3 คน เป็นการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบ A-B-A แบ่งการทดลองเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ A1 เป็นระยะเส้นฐาน ระยะ B1-B4 เป็นระยะการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์ และระยะ A2 เป็นระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แบบสังเกตทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามเทคนิคฟลอร์ไทม์</p> ทักษิณ ทองจันทร์, กัญญาวดี แสงงาม, แสงจันทร์ กะลาม Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/269363 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700