Announcements

ประกาศ

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Journal of Humanities and Social Sciences) วารสารอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 โดยมีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน) และ (กรกฎาคม-ธันวาคม) เปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสาร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564 ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้า สามารถส่งบทความได้ทาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru

ประกาศปิดรับบทความปี พ.ศ.2567-2568

2024-01-31

เรียน ผู้สนใจส่งบทความเพื่อพิจารณาติพิมพ์ลงวารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กองบรรณาธิการขอแจ้งให้ท่านทราบว่า ขณะนี้กองบรรณาธิการปิดรับบทความชั่วคราว เนื่องจากจำนวนบทความครบตามจำนวนเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณที่ทุกท่านให้ความสนใจส่งบทความเข้ามาตีพิมพ์กับทางวารสาร  

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Journal of Humanities and Social Sciences) วารสารอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2

2021-07-02

ประกาศ

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Journal of Humanities and Social Sciences) วารสารอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 โดยมีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน) และ (กรกฎาคม-ธันวาคม) เปิดรับบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสาร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2564 ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้า สามารถส่งบทความได้ทาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru

แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

2021-07-02

แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการ และบทพิจารหนังสือ (Book Review) จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและนักศึกษาทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มีโอกาสเสนอผลงานวิซาการเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่สหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผลงานวิชาการที่รับตีพิมพ์อาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ บทวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น ตันฉบับ (Manuscript) ที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น ต้องไม่เป็นผลงานทางวิชาการที่ลอกเลียน ตัดทอนจากผลงานวิจัยของผู้อื่น ไม่มีการคัดลอกหรือชักนำให้เข้าใจผิดในผลงานหรือผลการศึกษา เรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer-reviewed) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

1.ประเภทของบทความที่รับพิจารณา

1.บทความวิจัย

2.บทความวิชาการ

3.บทพิจารหนังสือ

2.รูปแบบการเขียนบทความ

2.1.ชื่อเรื่อง

2.2.ผู้แต่ง

2.3.บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2.4.บทนำ

2.5.เนื้อหา

2.6.บทสรุป

2.7.เอกสารอ้างอิง

2.8.ประวัติการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการและสังกัด

3.การเตรียมต้นฉบับ

3.1.ให้ระบุชื่อผู้เขียน ยศหรือตำแหน่ง ที่อยู่หรือที่ทำงานที่สามารถติดต่อได้ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ อีเมล์และโทรสารที่สามารถติดต่อได้

3.2.พิมพ์โดยโปรแกรม Microsoft Word for Windows

3.3.ใช้อักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 15 โดยใช้กระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียวเท่านั้น

3.4.ระยะห่างระหว่างบรรทัดให้ใช้ single space ความยาวของบทความไม่น้อยกว่า 15 หน้าแต่ไม่เกิน 20 หน้า รวมเอกสารอ้างอิง

3.5.ใช้ระบบอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association)

3.6.การตั้งค่าหน้ากระดาษ

- ระยะขอบบน (Top margin) 1” หรือ 2.54 เชนติเมตร

- ระยะขอบล่าง (Bottom margin) 1” หรือ 2.54 เชนติเมตร

- ระยะขอบซ้าย (Left margin) 1.5” หรือ 3.17 เซนติเมตร

- ระยะขอบขวา (Right margin) 1” หรือ 2.54 เชนติเมตร

4.การส่งต้นฉบับบทความเพื่อตีพิมพ์

4.1.ส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ เอกสารประกอบด้วย

4.1.1.ต้นฉบับ จำนวน 2 ชุด

4.1.2.ไฟล์ข้อมูลส่งมาที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru

4.1.3.แบบเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ ส่งมายังบรรณาธิการวารสาร HUSO Journal of Humanities and Social Sciences คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เลขที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพ10220

5.การอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง

กรณีที่ผู้เขียนต้องการระบุแห่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่อง 1) ให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in text citation) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างด้วยก็ได้หากต้องการ 2) ให้มีการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม (reference citation) โดยการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในการเขียนผลงานนั้นๆ จัดเรียงรายการตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้ห้วข้อ เอกสารอ้างอิง สำหรับผลงานวิชาการภาษาไทย หรือ Reference สำหรับผลงานวิชาการภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) กรณีรายการเอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้แปลรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษต่อท้ายรายการอ้างอิงภาษาไทยเดิม ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้

  1. หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: ผู้จัดพิมพ์.

พรพิมล ตรีโชติ. (2542). ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Huntington, S. (2003). The Clash of Civilization and the Remaking of World Order. New York: Simon & Schuster Paperbacks.

  1. วารสาร

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ลำดับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย

สมบัติ จันทรวงศ์. (2557). คณาธิปไตยหรือประชาธิปไตยในอาเชียน: มุมมองของ Alexis de Tocqueville. วารสารเอเชียพิจาร ฉบับปฐมฤกษ์, 1(1), 23-63.

Chanrochanakit, P. (2011), Deforming thai Politics As Read through Thai Contemporary Art. Third Text, 25(4), 419-429.

  1. นิตยสารหรือนังสือพิมพ์

ชื่อผู้แต่ง. (วัน เดือน ปีที่พิมพ์เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อบทความ. ชื่อนิตยสาร/หนังสือพิมพ์,ปีที่, หน้า.

มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง. (31 พฤษภาคม 2554) จะเอายังไงกับภาคใต้?. มติชน, 35, หน้า 15.

  1. บทความจากเว็บไซต์

ชื่อผู้แต่ง, (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง.สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี ที่สืบค้น, สืบคันจากชื่อเว็บไซต์

สมชาย ภคภาสวิวัฒน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าง AEC และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557, จาก ฐานเศรษฐกิจ.

*** หมายเหตุ ต้นฉบับบทความที่นำส่งจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์และคำแนะนำการเขียนที่กำหนดเท่านั้น จึงจะได้รับพิจารณาดำเนินการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์