https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/issue/feed วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2024-01-05T08:58:57+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี กล่อมเมือง [email protected] Open Journal Systems <p>HUSO Journal of Humanities and Social Sciences คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นวารสารทางวิชาการราย 6 เดือน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ผลการค้นคว้าวิจัยในแง่มุมต่างๆ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการทั้งภายในและภายนอก กองบรรณาธิการยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการทุกท่าน บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ตามที่กองบรรณาธิการเห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้เขียนบทความก็ไม่ทราบข้อมูลของผู้ประเมินเช่นกัน (double blind review) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ไม่รวมข้อผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์ และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งบทความต้นฉบับคืนให้แก่ผู้เขียน</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269963 แนวทางการป้องกันการทุจริตของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย 2023-12-29T21:38:12+07:00 ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ [email protected] <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางการป้องกันการแก้ไขปัญหาการทุจริตในรัฐวิสาหกิจเพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ในการป้องกันการทุจริตในรัฐวิสาหกิจเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่ม A ผู้บริหารจากรัฐวิสาหกิจไทยต่างๆและกลุ่ม B กลุ่มนักวิชาการที่วิจัยเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นในภาครัฐ</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการวิจัยพบว่าสาเหตุของการทุจริตคือนักการเมืองแทรกแซงการบริหารของรัฐวิสาหกิจ ความไม่รู้จักพอของนักการเมือง ระดับจริยธรรมต่ำลง ดังนั้นสาเหตุการทุจริตในรัฐวิสาหกิจไทยแยกได้เป็น 3 ประเด็นคือ 1) ด้านการเมือง 2) ด้านเศรษฐกิจและ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม&nbsp; นอกจากนี้แนวทางการป้องกันการทุจริตมี 2 แนวทางคือ1)ภาครัฐต้องเข้มงวดกวดขันอย่างเด็ดขาดในการปราบปรามทุจริต&nbsp; ถ้าเจ้าหน้าที่ทุจริต&nbsp; ผู้บังคับบัญชาต้องรับโทษด้วยและ 2)นักการเมืองที่ถูกตัดสินว่าทุจริตต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ&nbsp; นอกจากนี้ก่อให้เกิดการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่โดยพบว่าการป้องกันการทุจริตคือ (1) แนวทางการป้องกันรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องสร้างโครงสร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเพื่อ ไม่ให้นักการเมืองสามารถเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในได้และ (2) แนวทางการปราบปรามโดยนายกรัฐมนตรี ต้องมีความเด็ดขาดในการปราบปรามทุจริตและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ข้าราชการทั่วไปและต้องกำกับให้ หน่วยงานอิสระต่างๆเช่นหน่วยงานปปชต้องตรวจสอบและสรุปผลอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นใครก็ตาม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269981 โครงสร้างพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 2023-12-29T23:14:52+07:00 อนิรุทธ์ หลวงไกร [email protected] วัลลภ พิริยวรรธนะ [email protected] <p>โครงสร้างพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีการวางเงื่อนไขที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งพรรคการเมือง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาโครงสร้างพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 &nbsp;2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จำนวน 4 คน 2) นักการเมือง จำนวน 7 คน 3) ผู้มีส่วนร่วมทางการเมือง จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มีการวางเงื่อนไง เกี่ยวกับโครงสร้างพรรค เช่น สาขาพรรค จำนวนสมาชิกพรรค ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งพรรคการเมือง รวมทั้งการจัดสรรอำนาจในการบริหารจัดการสาขาพรรคการเมือง 2) ปัญหาและอุปสรรคของการจัดตั้งพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 พบว่า รัฐธรรมนูญฯ 60 มีการวางเงื่อนไขในการจัดตั้งพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองจัดตั้งพรรคการเมืองได้ยากขึ้น เช่น การตั้งสาขาพรรค การมีสมาชิกรับผิดชอบสาขาพรรค การเก็บค่าสมาชิก 3) ข้อเสนอแนะ กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก และที่มาของเงินทุนของพรรคการเมืองที่ควรเปิดกว้างมากขึ้น ในการทำให้พรรคการเมืองสามารถมีทุนในการพัฒนาพรรคการเมือง หรือการแก้ไขกฎหมายให้ยกเลิกหรือไม่ให้มีการเก็บค่าบำรุงพรรคหรือค่าสมาชิกพรรคเพื่อทำให้การเข้าเป็นสมาชิกพรรคได้ง่ายขึ้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269965 การสืบสานนิเวศวิถีชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี 2023-12-29T21:58:17+07:00 สุกานดา สารน้อย [email protected] พรรณี บัวเล็ก [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบสานนิเวศวิถีชาวสวนทุเรียน และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสืบสานนิเวศวิถีชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่า การสืบสานนิเวศวิถีชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ภูมินิเวศที่เหมาะสม วิถีสวนทุเรียน และ การจัดการสวนทุเรียนแบบใหม่ ขณะที่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสืบสานนิเวศวิถีชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี ด้าน ภูมินิเวศ ประกอบด้วย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ นโยบายของรัฐและท้องถิ่น และ การใช้ประโยชน์พื้นที่ ด้าน วิถีสวนทุเรียน ประกอบด้วย การทำสวนแบบประณีต ทุนทางปัญญา และ ทุนทางสังคม ด้านการใช้นวัตกรรมในการจัดการสวนทุเรียน &nbsp;ประกอบด้วย การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ นวัตกรรม เทคโนโลยีความรู้ใหม่ในการทำสวนทุเรียน การสร้างกระบวนการกลุ่มเครือข่าย และทำการตลาดร่วมกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่และภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การศึกษานิเวศวิถีชาวสวนทุเรียนจังหวัดนนทบุรี พบว่า จำเป็นต้องมีการจัดการสวนที่ดี ต้องมีนวัตกรรมในการทำสวน เทคโนโลยีใหม่ เข้าใจด้านภูมิศาสตร์กายภาพ การปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกษตรกรชาวสวนทุเรียนต้องมีการจัดการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนเพื่อเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจ การตลาดร่วมกัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรชาวสวนรุ่นใหม่ ผสมผสานความรู้เดิมและนวัตกรรมของชาวสวนทุเรียน&nbsp; ทำให้เกิดการสืบสานดำรงอยู่ของนิเวศวิถีชีวิตการทำสวนของชาวสวนทุเรียน จังหวัดนนทบุรี ได้อย่างยั่งยืน</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269967 บทบาทหน้าที่ที่คาดหวังกับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี 2023-12-29T22:03:43+07:00 เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์ [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาระดับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี และ (4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 210 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่คาดหวังด้านการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล แตกต่างกัน เพศและประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<strong> (</strong>4) ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติจริงด้านการบริหารของผู้บริหาร ไม่แตกต่างกัน ส่วนตำแหน่งงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269968 งาน คน กับการเป็นองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูง: ศึกษาเปรียบเทียบ องค์การรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน 2023-12-29T22:08:28+07:00 กรภภาส์ ปักษานนท์ [email protected] อุทัย เลาหวิเชียร [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะขององค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูงในบริบทของไทย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบริหาร “งาน” และ “คน” ขององค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์การรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการธำรงสถานภาพการเป็นองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูงของทั้งสององค์การใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพประเภทการศึกษาเฉพาะกรณี (case study) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้บริหาร และพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รวมจำนวน 26 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตรรกะอุปมานการเขียนกรณีศึกษาและการสังเคราะห์ข้ามกรณีศึกษา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะขององค์การที่มีผลการปฏิบัติงานสูงในบริบทของไทย คือ เป็นองค์การที่มุ่งเน้นเรื่องการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 2) จากการเปรียบเทียบกระบวนการบริหาร “งาน” และ “คน” ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พบว่า ทั้งสองกรณีศึกษาให้ความสำคัญในเรื่องของ “งาน” ที่แตกต่างกัน โดยมุมมองของ ปตท. งานที่สร้างคุณค่าให้กับองค์การ คือ งานที่สามารถพัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความรู้ของบุคลากรในองค์การ ส่วนของทรู ฯ มองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่อง “งาน” คือ การมีนโยบายและกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานช่วยให้บุคลากรในองค์การทราบถึงทิศทาง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ในส่วนการประเมินผลการปฏิบัติงานสูงกับ “คน” พบว่า ปัจจัย ด้านการวางแผนอัตรากำลังคน ด้านการสรรหา ด้านการคัดเลือก ด้านการบริหารคนเก่ง ด้านการอบรมพัฒนา ด้านแรงจูงใจ และด้านวัฒนธรรมองค์การ จะช่วยส่งเสริม “คน” ให้มีผลการปฏิบัติงานสูง และ 3) องค์การควรมีแนวทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้องค์การธำรงผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและสามารถปรับตัวได้จนะมีการวางแผนและปรับกลยุทธ์และพันธกิจทางธุรกิจเพื่อความอยู่รอดในอนาคต</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269969 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 ภายใต้ระบบราชการ 4.0 2023-12-29T22:14:02+07:00 ประพันธ์ พวงจันทร์ [email protected] วลัยพร ชิณศรี [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ข้อมูลทั่วไปที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 2) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 3)เพื่อทราบปัจจัยระบบราชการ 4.0 และการให้บริการที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 4)เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมภาค 7 &nbsp;กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มาติดต่อราชการของศาลยุติธรรมในภาค 7 จำนวน 384 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน โดยในการวิจัยครั้งนี้มีการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1)ข้อมูลทั่วไปที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 มีการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าข้อมูลทั่วไปที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001 2)ระดับคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมในภาค 7 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าระดับการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ปัจจัยระบบราชการ4.0และการให้บริการมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ใช้สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าระบบราชการ4.0และการให้บริการมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 (4) แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรมภาค 7 ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน สรุปว่า ควรมีการให้ความรู้กับประชาชนในการใช้ระบบสารสนเทศของศาล จัดทำหรือสร้างระบบที่มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้บริการประชาชน ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่แนะนำการติดต่อราชการควรเพิ่มอุปกรณ์ที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลในการให้บริการประชาชนผู้มาติดต่อและเพิ่มส่วนของการใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการติดต่อราชการเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269970 การเคลื่อนย้ายตะกอนบริเวณชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี 2023-12-29T22:18:25+07:00 อนุวัฒน์ คชวรรณ [email protected] ณรงค์ พลีรักษ์ [email protected] ปริญ หล่อพิทยากร [email protected] อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเคลื่อนย้ายตะกอนจากแม่น้ำเพชรบุรีสู่ชายฝั่งด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมครอบคลุม 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 และฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 พบว่าในช่วงฤดูฝน มีค่าอัตราความหนาแน่นของตะกอนสูงกว่าในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากฤดูฝนมีปริมาณน้ำมากทำให้มีตะกอนและระยะการแพร่กระจายมากขึ้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ฤดูฝนมีระยะการแพร่กระจายของตะกอนประมาณ 13 กิโลเมตร อัตราความหนาแน่นของตะกอนอยู่ระหว่าง 0.04 – 0.56 พบอยู่ทางตอนบนของพื้นที่ บริเวณปากคลองช่อง ปากคลองบางตะบูน ปากแม่น้ำเพชรบุรี เริ่มมีอัตราความหนาแน่นลดลงบริเวณตำบลขุนไทร จนถึงปลายของแหลมผักเบี้ย และอัตราความหนาแน่นน้อยตั้งแต่บริเวณหาดทรายเม็ดแรกตามแนวชายฝั่งของพื้นที่ลุ่มน้ำจนถึงบริเวณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย มีอัตราความหนาแน่นสูงเฉพาะบริเวณที่มีทางน้ำไหลออกสู่ทะเล ฤดูหนาวมีระยะการแพร่กระจายของตะกอนประมาณ 5 กิโลเมตร อัตราความหนาแน่นของตะกอนอยู่ระหว่าง 0.06 – 0.55 ในบริเวณปากคลองช่อง ปากคลองบางตะบูน ปากแม่น้ำเพชรบุรี เริ่มมีอัตราความหนาแน่นลดลงบริเวณชายฝั่งตำบลขุนไทร จนถึงบริเวณแหลมหลวง และพบการฟุ้งกระจายของตะกอนแขวนลอยที่มีอัตราความหนาแน่นไม่มาก ตั้งแต่แหลมหลวงบริเวณหาดทรายเม็ดแรก ไปตลอดตามแนวชายฝั่งของพื้นที่ลุ่มน้ำจนถึงบริเวณตำบลปากน้ำปราณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269971 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนด้วยระบบภูมิสารสนเทศ ในชุมชนแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 2023-12-29T22:25:19+07:00 นาถสุดา วงษ์บุญงาม [email protected] ภัทราพร สร้อยทอง [email protected] นฤมล อินทรวิเชียร [email protected] ประสาร อินทเจริญ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน และการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการสร้างแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย 12 ท่าน และประชาชนในชุมชนแหลมผักเบี้ย 20 ท่าน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย</p> <p>ผลการศึกษาได้สร้าง วิสัยทัศน์การท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย คือ “แหลมผักเบี้ย ต้นทางทราย ปลายทางเกลือ ชุมชนยั่งยืน น่าอยู่น่าเที่ยว ธรรมชาติสมบูรณ์ เกื้อกูลถิ่นวิถี เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน”&nbsp;และได้สร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนแหลมผักเบี้ย&nbsp;5 ด้าน คือ 1)&nbsp;การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการท่องเที่ยวชุมชนและการต้อนรับที่ดี การมีเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน 3)&nbsp; การบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชน เช่น แผนการพัฒนาท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม 4) การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการ และความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว และ 5)&nbsp;การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ การสร้าง MASCOT และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และนำมาบูรณาการกับระบบภูมิสารสนเทศสร้างเป็น 2 เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน คือ 1) การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนแหลมผักเบี้ย (พักกายพักใจในแหลมผักเบี้ย) 2) เส้นทางศึกษาวิถีชีวิตประมงชายฝั่งแหลมผักเบี้ย (Unseen แหลมผักเบี้ย)</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269972 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร 2023-12-29T22:32:04+07:00 ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ [email protected] กัลย์ ปิ่นเกษร [email protected] <p>วัตถุประสงค์การวิจัยคือ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่หลายองค์กรให้ความสนใจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระดับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงาน และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และความมีอิสระในงาน ที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ ผู้ที่ถูกคัดเลือกมาจากพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนทั้งสิ้น 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.931</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ความมีอิสระในงาน อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ความมีอิสระในงาน สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 20.8 (R<sup>2</sup> = .208) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานได้มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง และด้านความมีอิสระในงาน <br>มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานเท่ากับ .459 .311 และ .214 ตามลำดับ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269973 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวแบบเที่ยวไปทำงานไปของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2023-12-29T22:38:13+07:00 เสกสรรค์ วีระสุข [email protected] วันวิสาข์ เพชรบุรี [email protected] <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวแบบเที่ยวไปทำงานไปของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครในสภาวะวิกฤตโควิด-19 (2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคต่อความตั้งใจการท่องเที่ยวแบบเที่ยวไปทำงานไปในสภาวะวิกฤตโควิด-19 (3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบการ การท่องเที่ยวแบบเที่ยวไปทำงานไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น สุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก(Convenience sampling) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 385 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 24-32 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท และมีรายได้ระหว่าง20,001-30,000 บาท/เดือน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น work from anywhere และเมื่อถามถึงประสบการณ์การทำงานแบบเที่ยวไปทำงานไป พบว่าผู้บริโภคทั้งมีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์พอๆกัน โดยส่วนใหญ่ยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะเดินทางเที่ยวไปทำงานไปในภูมิภาคหรือต่างภูมิภาค และมีความคาดหวังในสถานที่ที่ต้อการเที่ยวไปทำงานไปคือ มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และ ที่พักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในประมาณ 3-5 วัน ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านรายได้เท่านั้นที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคล นโยบายภาครัฐ และการส่งเสริมทางการตลาดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีผลต่อความตั้งใจแบบเที่ยวไปทำงานไป</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269974 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษาฐานประชาธิปไตยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 2023-12-29T22:42:49+07:00 ชัยวัฒน์ โยธี [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษาฐานประชาธิปไตยชุมชนของตำบลควนรู ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการธำรงรักษาฐานประชาธิปไตยชุมชนแบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลักคือ 1. ปัจจัยภายในชุมชน ที่มีตัวแสดงหลัก 4 ประการคือ 1) ด้านบุคคลและผู้นำ เป็นตัวแสดงลำดับต้นที่ส่งผลทำให้ประชาธิปไตยชุมชนอ่อนกำลังลง ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนผ่านของผู้นำทั้ง 3 ขาที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ - ผู้นำท้องถิ่น – ผู้นำภาคประชาชน 2) ด้านกลุ่ม – องค์กร มีตัวแสดงสำคัญ 4 ประการประกอบด้วย เศรษฐกิจองค์รวมระดับชาติ, สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันส่งผลต่อความเชื่อของประชาชน, การคุกคามของโรคติดต่อโควิด 19, ด้านสังคมและวัฒนธรรม 3) ด้านสถาบันการปกครอง คือการหยุดชะงักลงของกลไกการปกครองท้องถิ่น และการถูกคุกคามจากกลไกการเมืองระดับชาติ 4) ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงทางทางสังคมที่ทำให้ประชาชนได้เข้ามารวมตัวกันในกิจกรรมของชุมชนน้อยลง 2. ปัจจัยภายนอกชุมชน มีตัวแสดงสำคัญ 4 ประการคือ 1) ด้านการเมือง เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองระดับชาติที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อการปกครองท้องถิ่นและโครงสร้างทั้งระบบ 2) ด้านเศรษฐกิจ ที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลต่อชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการเกษตร 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมในทุกระดับ 4) ภัยคุกคามจากโรคติดต่อโควิด 19 ทำให้สังคมชุมชนต้องหยุดชะงักในทุกมิติ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269975 การใช้ถ้อยคำแสดงเกียรติคุณในหนังสืออนุสรณ์งานศพ: กรณีศึกษาพระราชประวัติของสตรีสูงศักดิ์ 2023-12-29T22:45:33+07:00 กุณฑิกา ชาพิมล [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ถ้อยคำแสดงเกียรติคุณที่สื่อถึงความเป็นผู้หญิงในหนังสืออนุสรณ์งานศพ และบทบาทความเป็นผู้หญิงที่สื่อสะท้อนผ่านกลวิธีทางภาษา กลุ่มข้อมูลที่ใช้ศึกษาคือ พระราชประวัติในหนังสืออนุสรณ์งานศพของสตรีสูงศักดิ์ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 - 2499 จำนวน 6 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่เสนอภาพความเป็นผู้หญิงมี 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำแสดงฐานะ การใช้ถ้อยคำแสดงพื้นที่ และการใช้ถ้อยคำแสดงคุณลักษณะ กลวิธีภาษาดังกล่าวสามารถสื่อสะท้อนบทบาทความเป็นผู้หญิงได้ 5 บทบาท ได้แก่ บทบาทความเป็นลูก บทบาทความเป็นภรรยา บทบาทความเป็นแม่ บทบาทความเป็นเจ้านาย และบทบาทความเป็นผู้รับคำสั่ง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269976 หญ้าแฝก : การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2023-12-29T22:48:20+07:00 ทยากร บำรุงพานิช [email protected] พนัส โพธิบัติ [email protected] <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 3) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกของกลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารและศึกษาในภาคสนาม ด้วยการสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลวิจัยพบว่า ภูมิปัญญางานหัตถกรรมหญ้าแฝก เกิดจากการเรียนรู้ ทักษะ และการเข้าร่วมกิจกรรมอบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก ซึ่งจัดโดยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยกลุ่มหญ้าแฝก อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ได้มาขยายผลการใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกใน พ.ศ.2557 มีการสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก และได้เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ถ่ายทอดความรู้จากนางจินต์&nbsp; เทพกำเนิด สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก พบว่า 1) ด้านการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญากลุ่มแม่บ้านหญ้าแฝกจะมาทำงานหัตถกรรมจักสานได้ หลังจากทำอาชีพในครอบครัวแล้ว โดยใช้เวลาตอนกลางคืน การถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่นยังไม่มีการถ่ายทอด แนวทางที่จะถ่ายทอดควรจะทำเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอควนขนุนได้เรียนรู้ โดยใช้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2) ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีความรู้ด้านการออกแบบ แนวทางควรมีวิทยากร เข้ามาแนะนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย 3) ด้านการตลาด กลุ่มหญ้าแฝกไม่มีความรู้เรื่องการตลาด ขาดช่องทางการจำหน่าย แนวทางแก้ไขคือ ควรมีช่องทางการจำหน่ายบนเว็บไซต์ มีเบอร์โทรศัพท์ ติดต่อกับลูกค้าทุกเครือข่าย 4) ด้านการสร้างเครือข่าย ไม่มีการสร้างเครือข่ายกับลูกค้าใหม่ ๆ ตามกลุ่มไม่มีผู้มีความรู้ทางด้านระบบการสื่อสารออนไลน์ แนวทางควรสร้างเครือข่ายกับกลุ่มหัตถกรรมอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ควรมีเพจเป็นของกลุ่ม และมีการสั่งซื้อทางเฟซบุ๊ก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก ได้พัฒนาความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 กระเป๋าหญ้าแฝกรูปทรง 4 เหลี่ยม รูปแบบที่ 2 คือ กระเป๋าหญ้าแฝกที่นำผลิตภัณฑ์อื่นมาประสม การออกแบบคำนึงถึงความต้องการผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270195 THE ROLE OF ANIMACY IN THAI CHILDREN’S RELATIVE CLAUSE ACQUISITION* 2024-01-05T08:58:57+07:00 ภัทรา ปิณฑะแพทย์ [email protected] <p>คุณานุประโยคเป็นโครงสร้างที่มีผู้ศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางเนื่องจากเป็นโครงสร้างที่มีความซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณานุประโยคแบบประธานและคุณานุประโยคแบบกรรม คุณานุประโยคไม่เพียงแต่มีความซับซ้อนทางโครงสร้างเท่านั้นแต่ยังมีความซับซ้อนทางความหมายอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งความมีชีวิตของคำนามหลักในคุณานุประโยคซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรับคุณานุประโยคในตำแหน่งประธานและกรรม การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทของความมีชีวิตของคำนามหลักในการสร้างคุณานุประโยคตำแหน่งประธานและกรรมของเด็กไทยก่อนวัยเรียน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการทดลองจากเด็กไทยอายุระหว่าง 2-5 ปีที่อาศัยในกรุงเทพมหานครจำนวน 85 คน โดยใช้ภาพจำนวน 4 ชุดซึ่งประกอบด้วยคำนามที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเป็นเครื่องมือในการวิจัย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าเด็กทุกช่วงวัยสามารถสร้างคุณานุประโยคในตำแหน่งประธานได้อย่างคล่องแคล่วกว่าคุณานุประโยคในตำแหน่งกรรม โดยเด็กสามารถสร้างคุณานุประโยคในตำแหน่งประธานได้ดีกว่าเมื่อประธานในคุณานุประโยคเป็นสิ่งที่มีชีวิตมากกว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กสามารถสร้างคุณานุประโยคในตำแหน่งกรรมได้อย่างคล่องแคล่วกว่าเมื่อกรรมในคุณานุประโยคเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตมากกว่าสิ่งที่มีชีวิต</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269978 สิทธิและเสรีภาพการร้องทุกข์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ กรณีศึกษา ปัญหาและอุปสรรคการร้องทุกข์ผ่านระบบสายด่วน 1555 กรุงเทพมหานคร ของสำนักงานเขตภาษีเจริญ 2023-12-29T22:55:26+07:00 เมธี อินทชัย [email protected] วัลลภ พิริยวรรธนะ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสิทธิการร้องทุกข์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ 2) เพื่อศึกษากระบวนจัดการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานเขตภาษีเจริญ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของกระบวนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์ของสำนักงานเขตภาษีเจริญ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการแบ่งวิธีดำเนินการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เอกสารหลักในการศึกษาวิจัยเอกสารและ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัยจำนวน 21 คน และตัวแทนภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ จำนวน 5 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การร้องทุกข์ ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญ 2) กระบวนจัดการรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีระเบียบแบบแผน และปฏิบัติตามกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติจากส่วนกลางอย่างเคร่งครัด กำกับดูแลตามระเบียบราชการและนโยบายของผู้บริหาร และ 3) ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ รายละเอียดเรื่องราวร้องทุกข์ไม่ชัดเจน ปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ความไม่เข้าใจในข้อกฎหมายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ร้องและผู้ถูกร้อง สิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอ รวมถึงความรู้ความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ และประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบมีความแตกต่างกัน ระบบเรื่องราวร้องทุกข์ของกรุงเทพมหานครไม่ตอบสนองต่อการใช้งานในปัจจุบัน กรุงเทพมหานครขาดการประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ให้ประชาชนทราบ และเรื่องราวร้องทุกข์บางเรื่อง ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตภาษีเจริญ</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269979 รูปแบบการจัดการภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัยบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว ชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 2023-12-29T22:59:25+07:00 ทรงยศ สาโรจน์ [email protected] <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัยบ้านประชารัฐริมคลองลาดพร้าว ชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ภูมิทัศน์ฯ และ3) ศึกษารูปแบบการจัดการภูมิทัศน์ฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และในส่วนของการประเมินรูปแบบฯ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐานโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนได้มีการจัดการภูมิทัศน์ที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว ประกอบด้วย การชี้แจงสร้างความเข้าใจ การสำรวจชุมชน และการนำระเบียบข้อบังคับมาเพื่อบังคับใช้ 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ฯ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และ(2) ปัจจัยที่เกิดจากแผนนโยบายจากภาครัฐ 3) รูปแบบการจัดการภูมิทัศน์ฯ ประกอบด้วย (1) ระยะที่ 1 ต้นน้ำ (2) ระยะที่ 2 กลางน้ำ และ(3) ระยะที่ 3 ปลายน้ำ 4) ผลการประเมินรูปแบบฯ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269980 น้ำสรงรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรีคติความเชื่อที่ส่งผลต่อการเป็นแหล่งน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2023-12-29T23:02:04+07:00 วสวัตดิ์ เนตรประหาส [email protected] ภาณุวิชญ์ วุ่นชุม [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อในการใช้น้ำสรงรอยพระพุทธบาทเป็นน้ำอภิเษกในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากการศึกษาพบว่า การใช้น้ำสรงรอยพระพุทธบาทเป็นน้ำอภิเษกเริ่มการใช้ครั้งแรกในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2454 และมีการพลีกรรมในลักษณะเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งสุดท้ายในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ พ.ศ. 2530 ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการใช้น้ำสรงรอยพระพุทธบาทเป็นน้ำอภิเษกมี 2 ประการ คือ 1) คติความเชื่อ และตำนาน ซึ่งกล่าวถึงพรานบุญที่ได้ใช้น้ำที่ขังอยู่บนรอยพระพุทธบาทมาลูบตัวจนบาดแผลหายสนิท และเนื้อที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บเมื่อได้ดื่มน้ำนั้นบาดแผลก็หายสนิท รวมถึงความเชื่อในทางด้านพิธีกรรมที่เป็นน้ำอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุดเสมือนเป็นการสรงน้ำพระบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งปรากฏหลักฐานสมัยกรุงศรีอยุธยา เกี่ยวกับการใช้น้ำสรงรอยพระพุทธบาท ในบันทึกบาทหลวงตาชาร์ด ราว พ.ศ. 2228&nbsp; 2) การเป็นปูชนียวัตถุสำคัญของรัฐโบราณจนถึงรัฐชาติ รอยพระพุทธบาทนี้ถือเป็นปูชนียวัตถุที่พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ทรงมีพระราชศรัทธาเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ เมื่อมีการสร้างรัฐชาติจึงเป็นการดึงเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของรัฐจารีตในอดีตมาสู่ความเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กุศโลบายอันสำคัญในการรวมศูนย์กลางทางอำนาจการปกครอง</p> 2023-12-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023