วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru <p>HUSO Journal of Humanities and Social Sciences คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นวารสารทางวิชาการราย 6 เดือน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ผลการค้นคว้าวิจัยในแง่มุมต่างๆ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการทั้งภายในและภายนอก กองบรรณาธิการยินดีรับพิจารณาบทความจากนักวิชาการทุกท่าน บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ตามที่กองบรรณาธิการเห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้เขียนบทความก็ไม่ทราบข้อมูลของผู้ประเมินเช่นกัน (double blind review) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้ไม่รวมข้อผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์ และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งบทความต้นฉบับคืนให้แก่ผู้เขียน</p> th-TH husojournalpnru@gmail.com (รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี กล่อมเมือง) suppachock@pnru.ac.th (ดร.ศุภโชค มณีมัย) Thu, 27 Jun 2024 19:53:50 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 360 DEGREE EMPLOYEE EVALUATION ORGANIZATIONAL MANAGEMENT TO A HIGH PERFORMANCE https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269313 <p>การประเมินผลการปฏิบัติงานในลักษณะ 360 องศานั้น เป็นการประเมินรอบทิศที่เหมาะกับองค์กรที่มีการทำงานหลากหลายมิติ หลากหลายระดับ และเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งผลลัพธ์จะช่วยกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรเกิดการตื่นตัว และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งเกิดการสร้างทักษะให้เกิดความสามัคคีในการปฏิบัติงานร่วมกัน ด้วยผลของการปฏิบัติงานนั้นจะถูกประเมินจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานนั้นๆ ฉะนั้นทุกคนก็ต่างที่จะมีผลในการประเมินของทุกคนเช่นเดียวกัน และการนี้ย่อมจะส่งผลดีในการปฏิบัติงานโดยรวมให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับสูง พร้อมทั้งสามารถเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต</p> ทรงพล แสงพันธ์, ธีทัต ตรีศิริโชติ , เบญจวรรณ ศฤงคาร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269313 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 LEGAL MEASURES IN SUPERVISING LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS A CASE STUDY OF MUNICIPALITIES COMPARE: THAILAND, FRANCE, JAPAN AND THE UNITED STATES https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/271190 <p>การเปรียบเทียบมาตรการการกำกับดูแลระหว่างของไทย ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าจากเอกสาร ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลเทศบาลของไทยกับต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส พบว่าส่วนดีและมีความเหมาะสมนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เช่น การกำกับดูแลด้านตัวบุคคลและการกระทำของนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล รองประธานสภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมาย หรือกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างนายกเทศมนตรี กับสภาเทศบาล จนทำให้เทศบาลไม่สามารถบริหารได้ตามปกติ ถึงขั้นต้องสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหรือยุบสภา แล้วแต่กรณีในประเทศฝรั่งเศสให้ศาลปกครองเป็นองค์กรพิจารณาวินิจฉัย มีคำพิพากษา และประเทศฝรั่งเศสได้ยกเลิกการกำกับดูแลเทศบาลก่อนกระทำ จะทำให้ลดข้อขัดแย้งระหว่างจังหวัดหรืออำเภอกับเทศบาลลงได้ส่วนหนึ่ง และจะทำให้เทศบาลมีอิสระในการกระทำงานตามภารกิจ และมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีมาตรการการกำกับดูแลเชิงบวก เช่น การแลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานรัฐบาลกลาง และระหว่างเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน การที่รัฐบาลกลางโอนภาษีบางประเภทที่รัฐบาลกลางเรียกเก็บได้แล้วโอนให้แก่เทศบาลที่มีรายได้น้อย เพื่อเสริมสร้างให้เทศบาลมีงบประมาณ จัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน และมีมาตรการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล การบริหารเทศบาลโดยให้ประชาชนในเขตเทศบาลจำนวนร้อยละ 2 ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด รวมกันเข้าชื่อเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้ และมีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งตามกฎหมายต่อไป และส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีมาตรการการกำกับดูแลที่ดีและเหมาะสมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เช่น รัฐบาลมลรัฐกำหนดให้มีมาตรฐานหรือดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงานให้เทศบาลถือปฏิบัติ</p> Apapong Kritawetin, จรัล เล็งวิทยา, บรรเจิด สิงคะเนติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/271190 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE 20-YEAR NATIONAL STRATEGY: DETERMINATION POLITICAL PARTY POLICY https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270487 <p>บทความวิชาการครั้งนี้นำเสนอเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความสามารถของประเทศให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคม อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลคสช. ร่างขึ้นมานั้นไม่ได้พิจารณาความเห็นและความต้องการของประชาชนอย่างเพียงพอ นโยบายและมาตรการในยุค คสช. หลายฉบับ ขัดแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีเป้าหมายที่ดี แต่เนื้อหาบางส่วนยังไม่ชัดเจน และขัดแย้งกับนโยบายของ คสช. รัฐบาลควรเริ่มต้นดำเนินการโดยการบริหารจัดการและรับฟังความเห็นของประชาชนเป็นกฎหลัก นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานภาครัฐ พรรคการเมืองควรมีนโยบายที่ส่งเสริมการพัฒนาการบริหารงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย บางครั้งพรรคการเมืองอาจมีวิธีการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพกว่ากับคณะกรรมการการเลือกตั้ง การประกาศนโยบายที่ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อาจทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นของประชาชนและความเข้าใจในนโยบายของพรรค การพัฒนาประสิทธิภาพของพรรคการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้สามารถกำหนดนโยบายสาธารณะที่ดีและโปร่งใสให้กับประชาชนได้ เมื่อมีนโยบายที่ดีแล้ว ช่วยให้ประเทศมีความก้าวหน้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติกับนโยบายพรรคการเมือง เป็นสิ่งที่ประชาชนควรพิจารณาในการเลือกตั้ง เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายของพรรคการเมืองนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศระยะยาว และนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน</p> โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้า Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270487 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 SADOK KOK THOM 2 INSCRIPTION: SIGNIFICANT EVIDENCE of ANCIENT KHOM - KHMER HISTORY https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270450 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่ออธิบายความสำคัญของจารึกสด๊กก๊อกธม 2 ต่อประวัติศาสตร์ขอม - เขมรโบราณ เนื่องจากการอธิบายประวัติศาสตร์ขอม - เขมรโบราณต้องใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อนำมาปะติดปะต่อรวบรวมตีความและอธิบายเพื่อให้ได้ประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน จารึกสด๊กก๊อกธม 2 คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลที่ขาดหายทำให้นักวิชาการตีความและอธิบายประวัติศาสตร์ในดินแดนกัมพูชาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จารึกสด๊กก๊อกธม 2 ถูกพบ ณ ปราสาทสด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นจารึกสำคัญที่สุดในบรรดาศิลาจารึกเขมรเนื่องจากเป็นจารึกที่ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกษัตริย์เขมรซึ่งไม่พบในจารึกอื่น ทำให้การลำดับกษัตริย์เขมรโบราณในอดีตที่มีความสับสนและคลุมเครือมานานชัดเจนขึ้นและทำให้เข้าใจถึงคติเทวราชาที่สอดคล้องกับการสร้างศาสนสถานบนที่สูงหรือหากสร้างในที่ราบก็จะมีฐานเป็นชั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเขาไกรลาส และเขาพระสุเมรุตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ</p> วรรณพร บุญญาสถิตย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270450 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 FACTORS OF COMPENSATION AFFECTING WORK PERFORMANCE OF GENERATION Y : A CASE OF LOWER NORTHERN REGION PART OF THAILAND https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275234 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านค่าตอบแทนที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของเจเนอเรชั่นวายในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวางโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับของค่าตอบแทนเชิงธุรกรรม ค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินทางตรง (สวัสดิการ) และค่าตอบแทนเชิงความสัมพันธ์ และใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านเงินเดือน ค่าตอบแทนจูงใจ โบนัส วันหยุด งานที่ท้าทาย ความก้าวหน้าในอาชีพ การให้การยอมรับนับถือ หัวหน้างาน สภาพแวดล้อมการทำงาน และเพื่อนร่วมงานร่วมกันทำนายผลการปฏิบัติงานของเจนเนอเรชั่นวาย</p> <p>ประโยชน์ในงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การจัดการค่าตอบแทนเพื่อให้สอดคล้องกับเจเนอเรชั่นของขององค์การได้ ทั้งนี้เพื่อในระยะยาวจะสามารถลดต้นทุนด้านค่าตอบแทน และสามารถตอบสนองการจัดการความหลากหลายในองค์การโดยเฉพาะความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> Naphat Wuttaphan Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275234 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 USING COMMUNICATIVE ACTIVITIES TO IMPROVE ENGLISH SPEAKING ABILITY OF MATTHAYOMSUKSA 4 STUDENTS https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275235 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ ศึกษาเจตคติต่อการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จำนวน 32 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมสื่อสาร แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมสื่อสาร การดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 24 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 73.80 คิดเป็นร้อยละ 24.60 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 222.52 คิดเป็นร้อยละ 74.17 ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่านักเรียนมีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักเรียนมีเจตคติต่อการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมสื่อสารอยู่ในระดับดีมาก</p> Kasira Kunnanthanaorn, Prayong Klanrit Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275235 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE HISTORICAL TOURISM DEVELOPMENT IN NAKHON NAYOK PROVINCE https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275237 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม 2) ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม และ 3) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม ของเมืองดงละคร ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายก เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการตีความ เพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้</p> <ol> <li>ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรมตำบลดงละคร มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถานและวัฒนธรรม ที่สำคัญ ได้แก่ วัดมณีวงศ์ เมืองโบราณดงละคร <br />วัดดงละคร กลุ่มแม่บ้านทำกระยาสารท หนองหิงหาย วัดคลองโพธิ์ วัดใหม่บำเพ็ญผล และวัดท่าอิฐ</li> <li>ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรม ตำบลดงละคร<br />5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านความร่วมมือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านจิตสำนึกและการเห็นคุณค่าของโบราณสถาน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และด้านความเข้มแข็งของชุมชน</li> <li>รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี และวัฒนธรรมของเมืองดงละคร ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายกที่เหมาะสม มี 2 รูปแบบ คือ 1. การท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ</li> </ol> <p> 4. ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการการท่องเที่ยว คือ 1) การบริหารจัดการที่ดี โดยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้อย่างป็นระบบ มีบุคลากรตามจุดเพื่อตอบคำถามและอธิบายถึงสถานที่และเรื่องราวสำคัญ ๆ <br />2) การมีส่วนร่วม โดยให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลวัด สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้สึกการเป็นเจ้าของและมีรายได้เพิ่มขึ้น 3) การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ด้วยการสื่อสารที่หลากหลาย 4) การสร้างจิตสำนึกและการเห็นคุณค่าของโบราณสถาน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ 5) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนให้ชัดเจน</p> วชิรวิทย์ วิชาสวัสดิ์, วัชรินทร์ อินทพรหม, วณิฎา ศิริวรสกุล, วรรณพร บุญญาสถิตย์, พัลยมน สินหนัง, ณัฏฐา เกิดทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/275237 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE DEVELOPMENT OF PRODUCT OF THE TRICOLOR BATIK GROUP PAK PHANANG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269265 <p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ ของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ประชุมเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มประชากรคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 46 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการพัฒนาของกลุ่มผ้าปาเต๊ะสามสี อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) ด้านการออกแบบผลิตตภัณฑ์ สมาชิกกลุ่มไม่มีทักษะด้านการออกแบบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ขาดความวิเคราะห์ของผู้บริโภคทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่มีรูปแบบที่หลากหลาย แนวทาง ควรมีวิทยากรในการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มีความหลากหลาย 2) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญา ขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การเพ้นท์ผ้า จากรุ่นสู่รุ่นเนื่องจากไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แนวทาง ควรมีการจัดอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจ และโรงเรียนที่อยู่ภายในอำเภอ 3) ด้านงบประมาณสนับสนุน หน่วยงานของภาครัฐ ไม่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ที่จะจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง แนวทาง หน่วยงานของภาครัฐ ควรมีงบประมาณสนับสนุน จัดวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย 4) ด้านการตลาด ทางกลุ่มไม่มีความรู้เรื่องการตลาด และไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้บริโภค แนวทาง กลุ่มควรมีการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อจะได้ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีช่องทางการจำหน่ายสินค้า 5) ด้านการประชาสัมพันธ์ กลุ่มไม่มีเครือข่าย ขาดการเชื่อมโยงเที่ดีกับแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ขาดการนำเทคโนโลยีมาใช้ประชาสัมพันธ์สินค้า แนวทาง ควรมีการสร้างเครือข่าย มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น เพจFacebook, LINE, TikTok, YouTube เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลข่าวสาร และช่องทางการสั่งซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต รูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า ลวดลายของผ้าปาเต๊ะดีไซน์มีลายดังนี้ 1) ลายนกยูง <br />2) ลายดอกไม้ 3) ลายพัด 4) ลายใบไม้ และ 5) ลายเถาวัลย์ รูปแบบผลิตภัณฑ์มีเพียง 3 อย่าง ได้แก่ 1) ผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ 2) พวงกุญแจที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ 3) ดอกไม้ทำจากผ้าปาเต๊ะตกแต่งกระเป๋ากระจูด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะดีไซน์ พบว่า มีการประชุมวางแผนร่วมกัน การดำเนินการพัฒนาจากผืนผ้าปาเต๊ะดีไซน์ มาเป็นกระเป๋า 2 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1 กระเป๋าอเนกประสงค์ แบบที่ 2 กระเป๋าปากปิ๊กแป๊ก สมาชิกกลุ่มสามารถนำความรู้และทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสร้างรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อเศรษฐกิจชุมชน</p> วาสนา ฉายประทีป, พนัส โพธิบัติ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269265 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE CONSERVATION AND INHERITING OF THE ANCIENT WISDOM OF ARRANGING KHAN MAK IN NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269177 <p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ และการสืบสานการจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการจากกลุ่มประชากร 2 อำเภอ คัดเลือกแบบเจาะจง <br />กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 32 คน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า การจัดขันหมากแบบโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นไปตามความเชื่อและประเพณีนิยม ให้ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้ไปขอหรือทาบทาม (แยบเมีย) ขันหมาก ประกอบด้วย เชี่ยนเฒ่า ขันหมากหัว ขันหมากถาม (คอ) ขันหมากต่อ (คาง) พานหมาก 15 คำ ผ้าไหว้ เทียนไหว้ เครื่องเทียบผลไม้และขนมมงคล เครื่องเซ่นวักตักแตน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดของอำเภอเมืองใช้ 25 อย่าง อำเภอฉวางใช้ 24 อย่าง รูปแบบการจัดมีเอกลักษณ์เฉพาะเหมือนกัน ได้แก่ จัดพลู เรียกว่า วนพลูส่วนภาชนะที่ใส่ขึ้นอยู่กับความสวยงามและถูกต้องตามแบบโบราณอย่างเคร่งครัด สภาพปัจจุบันและปัญหา พบว่า ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาการจัดขันหมากแบบโบราณ ผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์มีอายุ 60 – 80 ปี ไม่มีการถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เด็กรุ่นใหม่ทีมีอายุ 40 ปีลงมาไม่มีผู้ใดที่สนใจ แนวทางควรจัดการอบรมระยะสั้นให้กับผู้สนใจหรือใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันเน้นในเรื่องของความประหยัดและการใช้บริการทางธุรกิจในการจัดแบบธรรมดา แนวทางควรส่งเสริมให้มีการจัดขันหมากแบบโบราณ เพื่อการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักในเชิงอนุรักษ์ ด้านการจัดแบบโบราณเนื่องจากปราชญ์ผู้มีความรู้ในเรื่องการจัดขันหมากมีอายุมากขึ้นขาดช่วงการถ่ายทอด แนวทางเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ด้านการจัดขันหมากแบบโบราณ มีการจัดอบรมให้แก่ผู้สนใจนักเรียน นักศึกษาและกลุ่มผู้สนใจ ด้านการประชาสัมพันธ์ไม่มีเฟสบุ๊ค ไม่มีเครือข่าย แนวทางควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็ปไซต์ เฟสบุ๊ค สร้างเครือข่ายกับร้านจัดดอกไม้และมีแพ็กเกทให้เลือกตามความเหมาะสมตามงบประมาณที่ตั้งไว้ แนวทางการอนุรักษ์และการสืบสาน พบว่า ควรจัดทำเป็นหลักสูตรจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาท้องถิ่น จัดทำเป็นข้อมูลในเว็ปไซด์ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นหนังสือ วีดีทัศน์ ซีดีเผยแพร่ให้ผู้สนใจ จัดฝึกอบรมเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ หาตลาดเพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีงานทำก่อให้เกิดรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็งและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ</p> อริสรา จิตรา, ราชันย์ นิลวรรณาภา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269177 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 A STUDY OF TOURIST SERVICE BUSINESS OPERATIONS AFFECTING TOURIST SATISFACTION THROUGH CHINESE TOURIST SERVICE PROVIDERS IN CHIANG MAI PROVINCE https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269457 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจีนในพื้นที่เชียงใหม่ และเพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสำหรับธุรกิจบริการท่องเที่ยวเพื่อสร้างความพึงพอใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนในพื้นที่เชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวภายในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงระหว่าง 1 เดือนที่ผ่านมาจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยใช้การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ สมมติฐานของการวิจัย ใช้สถิติ สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน รวมทั้งใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 25 – 49 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพเจ้าของกิจการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท ภาพรวมคุณภาพการบริการของผู้ให้บริการท่องเที่ยวมีภาพรวมความสำคัญค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีความสำคัญมากที่สุดได้แก่ “การให้บริการตรงตามความต้องการ” รองลงมาได้แก่ “การบริการที่ทั่วถึง” “การสร้างบรรยากาศในการบริการที่ดี” “การให้การช่วยเหลือและการแก้ปัญหา” และ “การอำนวยความสะดวกในการบริการ” ตามลำดับ ภาพรวมความพึงพอใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีภาพรวมความพึงพอใจค่อนข้างสูง โดยประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ “การกลับมาเที่ยวซ้ำ” ตามลำดับ ตัวแปรคุณภาพการบริการ ด้านการให้บริการตรงตามความต้องการมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวจีนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้านการกลับมาเที่ยวซ้ำและการบอกต่อมากที่สุด</p> รัตน์นรินฑิราก์ นิภาวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269457 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 AN ANALYSIS OF LANGUAGE PATTERNS AND STRATEGIES IN WRITING CAFÉ REVIEWS VIA FACEBOOK PAGES https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270457 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกลวิธีการใช้ภาษาในการรีวิวคาเฟ่บนเพจเฟซบุ๊ก ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)เก็บข้อมูลรูปแบบและกลวิธีการใช้ภาษาในการรีวิวคาเฟ่บนเพจเฟซบุ๊ก 3 เพจ เพจ Cafe Story`: รีวิวคาเฟ่ทุกวัน เพจชีวิตติดรีวิว และเพจ EDTguide เลือกเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรีวิวคาเฟ่ในประเทศไทย 3 ประเภท ได้แก่ การรีวิวคาเฟ่ร้านกาแฟ การรีวิวคาเฟ่ร้านอาหาร และการรีวิวคาเฟ่ท่องเที่ยวที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน และที่เจ้าของเพจเป็นผู้โพสต์เท่านั้น ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2564 – เดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 467 เรื่อง และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจคาเฟ่ ที่มีการรีวิวร้านคาเฟ่ของตนในเพจเฟซบุ๊ก จำนวน 6 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกคาเฟ่ที่นำเสนอเนื้อหาการประชาสัมพันธ์คาเฟ่ผ่านเพจเฟซบุ๊กที่เปิดเป็นสาธารณะ และครอบคลุมในกลุ่มคาเฟ่ร้านกาแฟ คาเฟ่ร้านอาหาร และคาเฟ่แนวท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบรูปแบบในการรีวิวคาเฟ่บนเพจเฟซบุ๊กทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ การตั้งชื่อ การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง การตั้งชื่อ ปรากฏทั้งสิ้น 4 รูปแบบ ได้แก่ การตั้งชื่อโดยใช้ชื่อคาเฟ่ การตั้งชื่อโดยใช้เมนูอร่อยของร้าน การตั้งชื่อแบบบอกกล่าว และการตั้งชื่อแบบผสม การเปิดเรื่อง ปรากฏทั้งสิ้น 4 รูปแบบ ได้แก่ การเปิดเรื่องแบบบรรยาย การเปิดเรื่องแบบพรรณนา การเปิดเรื่องแบบตั้งคำถาม และการเปิดเรื่องแบบทักทายผู้อ่าน การดำเนินเรื่อง ปรากฏทั้งสิ้น 4 รูปแบบ ได้แก่ การดำเนินเรื่องโดยการบรรยาย การดำเนินเรื่องโดยการพรรณนา การดำเนินเรื่องโดยการสนทนากับผู้อ่าน และการดำเนินเรื่องแบบผสม การปิดเรื่อง ปรากฏทั้งสิ้น 4 รูปแบบ ได้แก่ การปิดเรื่องโดยการให้ข้อมูลสำคัญ การปิดเรื่องโดยใช้วัจนกรรม การปิดเรื่องโดยใช้แฮชแท็ก และการปิดเรื่องแบบผสม กลวิธีการใช้ภาษาในการรีวิวคาเฟ่บนเพจเฟซบุ๊ก แบ่งเป็น กลวิธีทางอรรถศาสตร์ ปรากฏทั้งสิ้น 8 กลวิธี ได้แก่ คำสื่อจินตภาพ คำทับศัพท์ คำสแลง การใช้สัญรูป คำสรรพนาม คำเปลี่ยนแปลงรูปเขียน คำคล้องจอง และ คำภาษาถิ่น ตามลำดับ และกลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ปรากฏทั้งสิ้น 3 กลวิธี ได้แก่ วัจนกรรม อุปลักษณ์ และคำถามเชิงวาทศิลป์ ตามลำดับ</p> ผศ.ดร.รสริน ดิษฐบรรจง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/270457 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE LEARNING MANAGEMENT OF THAI DRAMATIC ART USING PROJECT-BASED LEARNING WITH VLOGS TO DEVELOP LEARNING ACHIEVEMENT AND CREATIVE THINKING OF GRADE 5 STUDENTS https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269719 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ Vlog 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ Vlog กับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.51 และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ Vlog กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชานาฏศิลป์ จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์รายวิชานาฏศิลป์ จำนวน 40 ข้อ 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 8 ข้อ และ 4) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ Vlog สูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ Vlog ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06) และ 3) นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกกระตือรือร้น ตื่นเต้นในการเรียนรู้และทำกิจกรรมโครงงานร่วมกับการสร้างสรรค์ผลงานผ่าน Vlog ได้รับประโยชน์ทั้งด้านความรู้และการนำเสนอผลงาน ทำให้การเรียนในรายวิชานาฏศิลป์น่าสนใจยิ่งขึ้น</p> Chaturapon Khanchanturk Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269719 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 FACTORS RELATING TO THE DEVIANT WORKPLACE BEHAVIOR OF PRIVATE COMPANY EMPLOYEES IN BANGKOK METROPOLITAN https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/264720 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านการดำเนินงาน ความเครียดในการทำงาน บุคลิกภาพด้านมืด และ พฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการดำเนินงาน ความเครียดในการทำงาน บุคลิกภาพด้านมืด กับพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน</p> <p> การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัดโดยใช้การหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของคอแครน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ความเครียดในการทำงานในภาพรวมอยู่ระดับน้อย บุคลิกภาพด้านมืดในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง และพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบนในภาพรวมอยู่ระดับน้อยที่สุด และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการดำเนินงาน ความเครียดในการทำงาน บุคลิกภาพด้านมืด กับ พฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> Pavin Chinachoti Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/264720 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 RHETORICAL MOVES OF AI-GENERATED RESEARCH ARTICLE ABSTRACTS AND PUBLISHED RESEARCH ARTICLE ABSTRACTS IN APPLIED LINGUISTICS https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/265142 <p>บทคัดย่อเป็นส่วนสำคัญในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการโดยมีเนื้อหาสรุปบทความเพื่อช่วยให้ผู้อ่านประเมินความสำคัญของงานได้ โดยยุคปัจจุบันผู้เขียนอาจใช้เทคโนโลยีช่วย เช่น <em>ChatGPT</em> จาก บริษัท <em>OpenAI </em>เพื่อช่วยในการสร้างส่วนบทคัดย่อของบทความวิจัย โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุรูปแบบอัตถภาคในบทคัดย่อของบทความวิจัยที่สร้างโดย <em>ChatGPT</em> โดยเปรียบเทียบกับผลงานที่เขียนโดยมนุษย์จากวารสารที่มีชื่อเสียงในด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ ข้อมูลประกอบด้วยบทคัดย่อของบทความวิจัย 60 บทคัดย่อที่มาจากสองแหล่งข้อมูล โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์อัตถภาคของ Hyland (2000) เพื่อวิเคราะห์ความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า บทคัดย่อที่สร้างโดย AI มักใช้รูปแบบ P-M-Pr-C ในขณะที่บทคัดย่อที่เขียนโดยมนุษย์มักยึดถือรูปแบบ I-P-M-Pr-C ส่วนความแตกต่างในรูปแบบการเขียนนี้เสนอให้เห็นว่าอาจมีความแตกต่างในเลือกใช้รูปแบบของภาษาระหว่างข้อความที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์และผู้เขียนมนุษย์ในบริบทของการเขียนบทคัดย่อ</p> Sattra Maporn, Banjong Burinprakhon, Intisarn Chaiyasuk, Anyarat Nattheeraphong Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/265142 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700 THE PLAYING OF RANAD-EK MAHORI IN TAB MAHORI OF BAN PATTAYAKOSOL https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269194 <p>งานวิจัยเรื่อง การบรรเลงระนาดเอกมโหรีจากตับมโหรี บ้านพาทยโกศล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับตับมโหรี บ้านพาทยโกศลและเพื่อศึกษาการบรรเลงระนาดเอกมโหรีจากตับมโหรี บ้านพาทยโกศล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นกระบวนการวิจัยเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ สามารถใช้เป็นข้อมูลเผยแพร่เกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพของระนาดเอกมโหรี</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ตับมโหรี บ้านพาทยโกศลนั้น เพลงตับส่วนใหญ่มีเพลง 5 เพลง ยกเว้นตับนางนาคและตับนกกระจอกเท่านั้น จะมี 6 เพลง ใช้อัตราจังหวะสองชั้น และใช้หน้าทับ 2 ประเภทได้แก่ หน้าทับปรบไก่ สองชั้นและหน้าทับสองไม้ ลักษณะการดำเนินทำนองทั่วไปเป็นแบบดำเนินทำนอง มีสำนวนบังคับทางและกึ่งบังคับทางอยู่บ้างในบางเพลง และพบการใช้ลูกโยนซึ่งมีลักษณะการบรรเลงอย่างเดียวกันกับเพลงเรื่อง และการใช้สำนวนในเพลงหน้าพาทย์ ในส่วนของทางระนาดเอกมโหรีในตับมโหรีบ้านพาทยโกศลนั้นมีการใช้กลอนระนาดในลักษณะต่าง ๆ เช่น กลอนร้อยลูกโซ่ กลอนไต่ลวด กลอนม้วนตะเข็บ กลอนย้อนตะเข็บ กลอนสับ กลอนลอดตาข่าย นอกจากนี้ยังมีการดำเนินทำนองที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสอดคล้องกับลักษณะเสียงของระนาดเอกมโหรี และมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เป็นแบบแผนในการบรรเลงระนาดเอกมโหรีบรรเลงเพลงอื่น ๆ ต่อไปได้</p> กฤษฎา นุ่มเจริญ, สาริศา ประทีปช่วง, ดุษฎี มีป้อม Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/269194 Thu, 27 Jun 2024 00:00:00 +0700