วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal
<p>วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในทุกสาขาวิชาของครู คณาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน และเป็นศูนย์รวมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและผลงานต่าง ๆ ของนักเทคโนโลยีด้านอาชีวศึกษา เป็นวารสารราย 6 เดือน จัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p>
สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
th-TH
วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
2586-9884
-
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษา กับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/272027
<p>การศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ตพร้อมคู่มือ 3) ดำเนินการตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต และ 4) ประเมินผลการดำเนินการตามคู่มือรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ การดำเนินการเริ่มจาก<br>1) การสรุปผลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัย เทคนิคภูเก็ต นำไปสอบถามความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต โดยเลือกแบบเจาะจง จาก ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และจากสถานศึกษาที่เป็นเครือข่าย จำนวน 31 คน สรุปเป็นร่างรูปแบบ 2) การประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทบทวนร่างรูปแบบ และสรุปจัดทำเป็นรูปแบบพร้อมคู่มือฉบับร่าง นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อประเมินอีกครั้ง สรุปเป็นรูปแบบการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ประกอบด้วย 3 โครงการ 1 กิจกรรม 3) การดำเนินการตามรูปแบบและคู่มือ ตามโครงการและกิจกรรม ดังนี้ (1) โครงการพัฒนาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) โครงการพัฒนาคู่มือเทียบโอนรายวิชาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) โครงการพัฒนาครูผู้สอน ให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (4) กิจกรรมการเทียบโอนรายวิชาหลักสูตรการเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับแนวทางการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงสมรรถนะรายวิชาของการอาชีวศึกษากับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ในระดับมากที่สุด <br>2) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับรูปแบบและคู่มือที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด 3) ผลการดำเนินการตามคู่มือรูปแบบ พบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาทั้ง 15 รายวิชา ในภาพรวม อยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินคู่มือเทียบโอนรายวิชา พบว่า ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อคู่มือเทียบโอนรายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมการพัฒนาคู่มือเทียบโอนรายวิชาที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด (3) ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อแผนการสอนรายวิชาทั้ง 15 รายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของ<br>ผู้เข้าอบรมที่มีต่อโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และ (4) ความพึงพอใจของผู้ดำเนินการและผู้ขอรับเทียบโอนรายวิชาที่มีต่อกิจกรรมการเทียบโอนรายวิชา ในภาพรวมอยู่ในระดับในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประชุมกลุ่มย่อยเฉพาะกิจ ผลการดำเนินการตามรูปแบบและคู่มือของผู้เกี่ยวข้องกับการตามรูปแบบและคู่มือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
rawi dabtong
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
-
การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269281
<p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น (รหัสวิชา 20104 - 2103) โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน 2)เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านนวัตกรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ฯ ทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น (รหัสวิชา 20104 - 2103) จำนวน 58 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) ผลการศึกษาและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สามารถแบ่งหน่วยการเรียนรู้ออกเป็น 10 หน่วยการเรียนรู้ โดยมีชั่วโมงการจัดการเรียนรู้และประเมินผลทั้งสิ้น 72 ชั่วโมง กระบวนการวิจัยเป็นฐาน ประกอบไปด้วย 10 ขั้นตอนย่อยในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ </p> <p> 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนผลการทดสอบก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.50 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67 และมีคะแนนผลการทดสอบหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.50 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 </p> <p> 3) ผลการประเมินสมรรถนะด้านนวัตกร พบว่าคะแนนประเมินก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 และมีคะแนนประเมินหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.16</p> <p> 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 แปลความหมายได้ว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด</p>
ธนาคาร คุ้มภัย
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
-
การศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการทำสัญญาและหลักประกัน งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268131
<p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของกรมบัญชีกลางกับหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้าง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำสัญญาและหลักประกันของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้าง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน โดยกำหนดประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หน่วยงานของรัฐหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา ร่าง/ตรวจเอกสารสัญญา หรือลงนามในสัญญาและกลุ่มตัวอย่าง เป็นหน่วยงานรัฐ 5 หน่วยงาน และผู้รับจ้าง 5 หน่วยงาน โดยกำหนดหน่วยงานละ 5 ท่านสำหรับแบบสอบถามและ 1 ท่านสำหรับแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยด้านประชากรศาสตร์โดยการแจกแจงความถี่ เป็นจำนวน ร้อยละ ความเบ้ ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจัดลำดับปัจจัยการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ด้วย Relative Importance Index (RII) รวมทั้งจัดลำดับแนวทางการปรับปรุงเพิ่มเติมรูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วย Severity Index (SI) ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้างยังคงยึดตามแนวทางของกรมบัญชีกลาง และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำสัญญาและหลักประกันของหน่วยงานรัฐและผู้รับจ้างมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านแบบสัญญา ข้อ 5 ข้อตกลงว่าจ้างงานควบคุมงานก่อสร้าง มีค่า RII 96.00% และน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านรูปแบบ ข้อ 2 รูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างของหน่วยงานมีความแตกต่างกับรูปแบบของกรมบัญชีกลาง มีค่า RII 30.64% ในการวิจัยนี้ยังพบว่าแนวทางในการปรับปรุงเพิ่มเติมการรูปแบบการจัดทำสัญญาและหลักประกันงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพลดผลกระทบที่จะเกิดกับการจัดทำสัญญาและหลักประกันมากที่สุด ได้แก่ ด้านองค์ประกอบของสัญญา ในส่วนของเนื้อหาของสัญญา เรื่องขอบเขตของข้อตกลงและเอกสารแนบท้ายสัญญา มีค่า SI 96.80%</span></p>
Anusorn thongoum
Chaiwat Pooworakulchai
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
1
37
-
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาการคำนวณ เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/272534
<p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดยาง(มีมานะวิทยา) ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน จำนวน 3 แผน 2) แบบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา แบบปรนัย 4 ตัวเลือกและแบบอัตนัย เติมคำตอบ จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า T-test ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาในระดับมากที่สุด</p>
วิชญาพร บุญหนุน
สุภาณี เส็งศรี
ธงชัย เส็งศรี
นิสา นิลนนท์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
216
230
-
The The Development of Video Content for Public Relations The Department of Educational Communications and Technology Using A Problem Agitate Solve Storytelling Technique
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269957
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 2) เพื่อประเมินคุณภาพวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอของวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแจงร้อนวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากผู้ที่เคยรับชมวิดีโอคอนเทนต์และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี <em>(</em> = 4.50, S.D. = 0.72) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี ( = 4.33, S.D. = 0.53) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.99) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.74) ดังนั้น วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบ Problem Agitate Solve ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง</p>
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
-
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268528
<p>การวิจัยครั้งที้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติ ปัจจัยทางการตลาด และการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี (2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมไทยในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้การคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 74 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที่ (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปมีทัศนคติต่อขนมไทย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ รายได้ การศึกษา ต่างกันมีพฤติกรรมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปีต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปีต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน เพศ ต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปีต่างกัน ส่วนเพศต่างกันมีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ขนมไทยในตลาดสามชุกร้อยปี ไม่แตกต่างกัน</p>
กรกช มูลทองชุน
สมภพ อุตสาหะ
ฉันทนา ปาปัดถา
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
66
86
-
ปัจจัยการสร้างเสริมศักยภาพทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูนวัตกร ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/273040
<p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างเสริมศักยภาพทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูนวัตกรในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ 1)ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้นำชุมชม สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงเฉพาะผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมพัฒนาครูในโครงการพัฒนาครูภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจำนวน 15 คน โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลด้วยเครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมศักยภาพทางวิชาชีพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูนวัตกรในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 5 ปัจจัยหลัก (n=15 ร้อยละ 100) ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะสำคัญของครูนวัตกร (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.91 S.D.=0.22</span><span style="font-weight: 400;">) 2) การเสริมความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.95 S.D.=0.11</span><span style="font-weight: 400;">) 3) กิจกรรมการพัฒนาตนเองของครูนวัตกรแบบผสมผสาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.90 S.D.=0.10</span><span style="font-weight: 400;">) 4) การสนับสนุน ติดตาม เสริมแรง และ สร้างแรงจูงใจจากต้นสังกัดและเพื่อนร่วมวิชาชีพ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=5.00 S.D.=0.00</span><span style="font-weight: 400;">) และ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างครูนวัตกรกับภาคีเครือข่ายและชุมชน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.77 S.D.=0.40</span><span style="font-weight: 400;">)</span></p>
Supanee Sengsri
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
231
249
-
The The Development of Motion Graphic Media to Promote Awareness of Portfolio Creation for High School Students
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/269958
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อโมชันกราฟิกที่พัฒนาขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแจงร้อนวิทยาที่เข้าร่วมกิจกรรม ECT ROADSHOW ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เคยรับชมสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน ซึ่งผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (= 4.33, S.D. = 0.58) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (= 4.22, S.D. = 0.54) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (<strong> </strong>= 4.43, S.D. = 0.78) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (<strong> </strong>= 4.34, S.D. = 0.71) ดังนั้น การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรับรู้เรื่องการทำแฟ้มสะสมผลงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง</p>
กุลธิดา ธรรมวิภัชน์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
-
การรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268529
<p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)</span> <span style="font-weight: 400;">ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพของวัยรุ่น (2) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร</span> <span style="font-weight: 400;">(3)</span> <span style="font-weight: 400;">เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร และ (4) ศึกษาการรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร</span> <span style="font-weight: 400;">ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวณด้วยโปรแกรม G*power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้เรื่องอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.17) (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=3.98) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (3) เพศของวัยรุ่นต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนอายุ การศึกษา อาชีพ และรายรับต่อวัน ต่างกันพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน และ (4) การรับรู้ส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารสุขภาพของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p>
ทัศนีย์ สิงหบุญพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
114
129
-
ความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติ กรณีศึกษา : นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/270478
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ กรณีศึกษา : นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ ประชากร คือ เจ้าของสถานประกอบการ หรือผู้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ เข้าปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวนทั้งสิ้น 19 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเป็นเพศชาย มีอายุ 21-30 ปี วุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีอายุงานต่ำกว่า 10 ปี และมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก/ หัวหน้างาน ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านทักษะปฏิบัติ รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ</p>
พีรญา เชตุพงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-01
2024-07-01
7 1
-
พฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268531
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (2) ศึกษาการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ(4) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 80 คน โดยใช้การคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.90) (2) การตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนอาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครภาพรวม อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> =4.19) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับชั้นที่กำลังศึกษา การนับถือศาสนา และจำนวนเงินที่ได้รับมาในแต่ละวันไม่แตกต่างกัน และปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคมีผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ธิดารัตน์ สิงหบุญพงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/270955
<p><span style="font-weight: 400;">วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) ศึกษาตัวบ่งชี้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การดำเนินการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Selection) เพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบ และยืนยันอีกครั้งจากการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม นำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) หลักการพัฒนา 2) กระบวนการพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย (1) สมรรถนะครูยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ การแสวงหาข้อมูลทางสื่อดิจิทัลและการนำข้อมูลมาใช้งาน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ การสร้างสรรค์เนื้อหาดิจิทัลและการพัฒนานวัตกรรม การติดต่อสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ และจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (2) วิธีการพัฒนาสมรรถนะครูยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนา และ 4) ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนา และตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบ มี 58 ตัวบ่งชี้</span></p>
Anunya Rueangpeng
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
181
199
-
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพชีวิตและความสุขของคนวัยทำงานกลุ่มเจเนอเรชันวาย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268719
<p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทำความเข้าใจว่าพนักงานเจเนอเรชันวายรับรู้ถึงระดับความสุขและคุณภาพชีวิตของตนอย่างไร และ 2) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขและคุณภาพชีวิตของคนวัยทำงานกลุ่มเจเนอเรชันวาย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 44 ปี การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.926 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเป็นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 27 ถึง 34 ปี เป็นโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,000 บาทหรือน้อยกว่า 2) คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสี่ด้านและคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในช่วงปานกลาง ระดับความสุขอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=46.52, SD=6.22) โดยร้อยละ 28.35 ระบุว่ามีความสุขสูง ร้อยละ 41.94 ระบุว่ามีความสุขปานกลาง และร้อยละ 29.71 ระบุว่ามีความสุขต่ำกว่า 3) คุณภาพชีวิต ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลเชิงบวกต่อความสุขของคนวัยทำงานกลุ่มเจเนอเรชันวายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยตัวแปรทั้ง 4 นี้สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงในระดับความสุขได้ร้อยละ 56.90</p>
ธารทิพย์ พจน์สุภาพ
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
38
53
-
The MODEL OF EXCELLENCE ADMINISTRATION FOR THE DEPARTMENT OF INFORMATION TECHNOLOGY TO INNOVATOR IN AYUTTHAYA TECHNICAL COLLEGE
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/271353
<p>The objectives of this research are as follows: 1) To develop a management model for the Department of Information Technology at Phra Nakhon Si Ayutthaya Technical College. 2) To implement the management model for the Department of Information Technology at Phra Nakhon Si Ayutthaya Technical College. 3) To evaluate satisfaction with the management model for the Department of Information Technology at Phra Nakhon Si Ayutthaya Technical College. The target groups in this research are: 1) Information Technology department teachers at Phra Nakhon Si Ayutthaya Technical College, totaling 7 people. 2) Students, numbering 100 individuals. The research tools used include: 1) The management model, specifically the I AMP 5Q Model, and 2) Satisfaction assessment forms categorized by the 5Q objectives: Quality Student, Quality Teacher, Quality Director, Quality Classroom, and Quality College. The statistical methods used in the research include finding the mean and the standard deviation The research findings indicate that the I AMP 5Q Model management model achieves high satisfaction levels across the 5Q objectives, with an overall mean of 4.84 and a standard deviation of 0.16.</p>
chattrasinee pirahirun
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
200
215
-
การผลิตสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ivebjournal/article/view/268784
<p><span style="font-weight: 400;">การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี และศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างบุคคลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับเรือพระราชพิธี จำนวน 100 คน ที่ให้ข้อมูลด้วยความสมัครใจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) โมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี ประกอบด้วย 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เรือพระราชพิธี ตอนประวัติความเป็นมา ตอนที่ 2 เรือพระราชพิธี ตอนเรือพระที่นั่ง ตอนที่ 3 เรือพระราชพิธี ตอนเรือรูปสัตว์ และตอนที่ 4 เรือพระราชพิธี ตอนเรือเหล่าแสนยากร และ 2) ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิกชุดเรือพระราชพิธี ภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.70, S.D. 0.51) โดยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.71, S.D. 0.55) ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.69, S.D. 0.85) และด้านการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /></span><span style="font-weight: 400;">=4.69, S.D. 0.51)</span></p>
ฉันทนา ปาปัดถา
เกษมพันธุ์ ศรีเฮืองโคตร
ทัตติ สวนศิลป์พงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-28
2024-06-28
7 1
38
53