วารสารมานุษยวิทยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac <p>วารสารมานุษยวิทยา เป็นวารสารวิชาการของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง การสนับสนุน ยกระดับ และเผยแพร่การศึกษาใหม่ ๆ ทางมานุษยวิทยาที่อธิบายพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ประการที่สอง การสนับสนุนให้นักมานุษยวิทยารุ่นต่าง ๆ ได้ผลิตงานวิชาการที่มีคุณภาพที่อธิบายสภาพปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ รวมถึงความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมและอคติทางสังคม ประการที่สาม การส่งเสริมความเข้าใจและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการศึกษาชีวิตมนุษย์ เป้าหมายทั้ง 3 ประการนี้คือปรัชญาและพันธกิจสำคัญของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรที่เล็งเห็นว่าความรู้ทางมานุษยวิทยาคือสิ่งที่จำเป็นต่อสังคมเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของมนุษย์และความแตกต่างทางสังคมในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว</p> <p> </p> <p>วารสารมานุษยวิทยามีการตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม โดยเปิดรับข้อเสนอบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journal Online) ผู้ส่งบทความไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </p> <p> </p> <p>วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี<br />ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>ISSN 2630-001X (Print) ISSN 2773-9619 (Online)</strong></p> Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization) th-TH วารสารมานุษยวิทยา 2630-001X <p> ลิขสิทธิ์@ของวารสารมานุษยวิทยา<br />ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ, ประเทศไทย</p> <p> </p> <p><strong>ข้อมูลเพิ่มเติม:<br /></strong><a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/">https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/</a></p> (Book Review) ธรรมชาติสถาปนา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสมัยของทุน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/275198 <p>-</p> พงศ์ปกรณ์ วานิช Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 (Book Review) นิเวศวิทยาแนวสตรีนิยม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/275222 ปุณยนุช ณ นคร Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 ลิ้มรสความดัง: บทบาทของเชฟคนดังในการเปลี่ยนแปลงศาสตร์แห่งการทำอาหาร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/276683 <p>บทความนี้ตรวจสอบความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างอาหาร วัฒนธรรมคนดัง และสิทธิอำนาจทางอาหารจากมุมมองทางมานุษยวิทยา การเกิดขึ้นของเชฟคนดังได้ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อโลกแห่งการทำอาหาร โดยกำหนดมุมมองของสังคมและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและวัฒนธรรมอาหาร การวิเคราะห์บทบาทของบุคคลสำคัญเหล่านี้เผยให้เห็นว่า เชฟคนดังไม่ได้เพียงแค่มีทักษะในการทำอาหารเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สามารถกำหนดแนวโน้มและมาตรฐานในศาสตร์แห่งการทำอาหารได้อีกด้วย บทความแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนแรกแนะนำแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการกิน และศาสตร์แห่งการทำอาหาร ส่วนที่สองตรวจสอบอิทธิพลของวัฒนธรรมคนดังต่อวงการอาหาร และส่วนที่สามสำรวจพลวัตอำนาจและผลกระทบทางวัฒนธรรมของเชฟคนดังต่อศาสตร์แห่งการทำอาหารร่วมสมัย บทความนี้สรุปโดยเน้นถึงบทบาทสำคัญของเชฟคนดังในการเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติในการทำอาหารและการมีส่วนร่วมของสาธารณชนกับอาหาร ทำให้พวกเขากลายเป็นบุคคลสำคัญในภูมิทัศน์อาหารสมัยใหม่</p> ปิยรัตน์ ปั้นลี้ Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 ครัวไทด่าน : “พื้นที่” และ “ประสบการณ์” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/276435 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาครัวไทด่านในเชิงพื้นว่ามีนัยยะในมิติสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร และ 2) ศึกษาครัวไทด่านโดยใช้มุมมองมานุษยวิทยาครัวว่า “คน” และ “ครัว” มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ระเบียบวิธีศึกษาประกอบด้วยการสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นมานุษยวิทยาครัว ครัวและอาหารไทด่าน รวมถึงการลงภาคสนามเพื่อสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึก พื้นที่ศึกษาคือหมู่บ้านในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นสังคมเกษตร มีฐานทรัพยากรอาหารที่หลากหลายและมีวัฒนธรรมเฉพาะ โดยเฉพาะรูปแบบครัวและอาหาร ผลการศึกษาเผยให้เห็นว่า ครัวไทด่านมีการจัดวางตำแหน่งแห่งที่ไม่เพียงแต่มีความสำคัญในเชิงกายภาพ หากแต่ยังเป็นพื้นที่ของประสบการณ์ที่สะท้อนให้เห็นจุดเริ่มต้นของการปรุงแต่งอาหารที่มี “คน” และ “ครัว” สัมพันธ์ต่อกัน รวมถึงยังสะท้อนการเมืองในความสัมพันธ์ทางสังคม: บทบาททางเพศ การจัดระเบียบมื้ออาหาร และการขัดเกลาทางสังคม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดคววามเข้าใจแหล่งที่มาของอาหาร การปรุงแต่งและวิถีทำกิน&nbsp;&nbsp;</p> เอกรินทร์ พึ่งประชา Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 ท้าทายการตีตรา สู่ความเข้าใจวัฒนธรรมการดื่มสุราของคนจนเมือง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/276716 <p>บทความวิจัยชิ้นนี้ จะนำเสนอวัฒนธรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ของคนจนเมืองโดยใช้แนวทางมานุษยวิทยาการแพทย์เชิงวิพากษ์เป็นแนวทางวิเคราะห์การดื่มสุราภายใต้บริบทเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง ผู้เขียนเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ และการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ดื่มสุรา &nbsp;ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อยู่อาศัยในย่านชุมชนแออัด และคนทำงานภาคอุตสาหกรรม ผลการศึกษานำเสนอ 3 ประเด็นคือ หนึ่ง คนจนเมืองมีวิถีการดื่มหลากหลาย ตั้งแต่คนที่ดื่มทุกวันแต่ดื่มน้อย ดื่มในวันสุดสัปดาห์ จนถึงคนที่ดื่มหนักแทบทุกวัน สอง ผู้ดื่มให้เหตุผลต่อการดื่มของตัวเองว่า ดื่มเพราะความสุขจากการได้สังสรรค์ ดื่มเพื่อผ่อนคลายหลังเลิกงาน และใช้การดื่มเพื่อสร้างเครือข่ายและกระชับความสัมพันธ์ เหตุผลเหล่านี้ท้าทายภาพจำที่ว่า คนจนดื่มเหล้าเพราะความเครียดและทำให้จนลงกว่าเดิม ผู้ดื่มยังมีเทคนิคในการลดทอนผลเสียของการดื่มทำให้การดื่มยอมรับได้ ได้แก่ การระบุว่าค่าใช้จ่ายในการดื่มไม่ได้มากเมื่อเทียบกับรายได้ หรือบอกกับตัวเองว่าการดื่มสุราดีกว่าการใช้ยาเสพติดประเภทอื่น สาม การดื่มของคนจนที่สัมพันธ์กับเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง คนที่ดื่มหนักเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการทำงานที่ต้องใช้ร่างกายหนักจึงใช้การดื่มเป็นเครื่องมือบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกาย จนกลายเป็นผู้มีความเสี่ยงที่ต้องพึ่งพาสุราในระยะยาว สถานะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ดื่ม และการมองถึงโอกาสของตัวเองที่จะยกระดับสถานะทางสังคมของตัวเองได้หรือไม่อย่างไร เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะกำกับผู้ดื่มว่า จะดื่มสุรามากน้อยเพียงใด</p> ฺฺบุญเลิศ วิเศษปรีชา Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 การเมืองของการส่งเสริมภาษาชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ไทในภาคกลางตอนเหนือของเวียดนาม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/274949 <p>รัฐมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายทางภาษา ทว่าในทางปฏิบัติรัฐสามารถใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมหรือกดทับภาษาของชนกลุ่มน้อยได้ ในด้านหนึ่ง นโยบายทางภาษาของรัฐมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถานะและการอยู่รอดของภาษาชนกลุ่มน้อย แต่อีกด้านหนึ่งคือการเมืองของการควบคุมและกดทับภาษาชนกลุ่มน้อย บทความชิ้นนี้คือความพยายามในการเปิดเผยให้เห็นการเมืองของการส่งเสริมภาษาไทของชนกลุ่มน้อย ในจังหวัดแท็ญหวา ภาคกลางตอนเหนือของเวียดนาม ด้วยกรอบแนวคิดการเมืองของภาษาของชนกลุ่มน้อยและวิธีวิทยาเชิงชาติพันธุ์นิพนธ์ที่ผู้เขียนได้เข้าไปทำงานภาคสนามในจังหวัดแท็ญหวา ในปี ค.ศ. 2016 2019 และ 2023 พบว่ารัฐบาลเวียดนามแม้มีนโยบายในการส่งเสริมภาษาของชนกลุ่มน้อย ทว่ามาตรการและข้อกำหนดในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีลักษณะของควบคุมและกดทับความหลากหลายของภาษา ทั้งยังแฝงฝังอุดมการณ์ชาตินิยม อุดมการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และวัฒนธรรมชาวกิญ (เวียด) ไว้ในนั้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้น รัฐยังใช้การฝึกอบรมภาษาของชนกลุ่มน้อยให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นซึ่งได้ดำเนินการเป็นเวลานานนับทศวรรษในฐานะเครื่องมือทางการเมือง เพื่อเชื่อมโยงองคาพยพของท้องถิ่นไว้ในมือของรัฐส่วนกลาง กระนั้นก็ตาม พร้อมกับการได้ประโยชน์ของรัฐบาลกลาง นักวิชาการท้องถิ่นได้ประโยชน์จากสร้างอำนาจและเครือข่ายวิชาการกับปัญญาชนและเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นสามารถทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทได้ง่ายขึ้นแม้ไม่สามารถพูดภาษาไทได้เช่นกัน นอกจากนี้ การศึกษานี้เผยให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างนโยบายภาษาของรัฐและการตอบสนองของชุมชนท้องถิ่น โดยพบว่าปัญญาชนท้องถิ่นได้ใช้กระบวนการนี้เพื่อต่อรองและลดผลกระทบจากการครอบงำของอักขระวิธีไทมาตรฐานต่อระบบการเขียนท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการรักษาอัตลักษณ์ทางภาษา อีกทั้งการมีส่วนร่วมดังกล่าวยังได้ส่งเสริมให้เกิดความภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมของชุมชนไท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตที่ซับซ้อนของการนำนโยบายภาษาไปปฏิบัติ และนัยสำคัญทางสังคมและวัฒนธรรมของนโยบายดังกล่าวในบริบทที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา</p> อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ ยุกติ มุกดาวิจิตร Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 เพศวิถีกับผู้หลุดพ้นในพุทธศาสนาเถรวาท https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/274967 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาเพศวิถีแบบที่เข้าได้กับวิถีการดำเนินชีวิตของอริยบุคคลสี่ประเภทในพุทธศาสนา ได้แก่ เพศวิถีแบบเอเซ็กชวล, โรแมนติก-เอเซ็กชวล และอโรแมนติก-เอเซ็กชวล ผลการศึกษาพบว่า อริยบุคคลสองระดับแรกคือโสดาบันและสกทาคามียังมีเพศวิถีเหมือนกับปุถุชน โดยเพศวิถีของพวกท่านที่พบในคัมภีร์พุทธคือรักร่วมหนึ่งเพศและรักต่างเพศ อนาคามีที่ยึดติดรูปละเอียด (หรือรูปฌานขั้นต่ำ) สามารถตีความได้ว่ามีเพศวิถีแบบเอเซ็กชวลพร้อมกับโรแมนติก อนาคามีที่ยึดถืออรูปละเอียดสามารถตีความได้ว่ามีเพศวิถีแบบเอเซ็กชวลพร้อมกับอโรแมนติก พระอรหันต์เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถกำหนดได้ว่ามีเพศวิถีแบบใดแบบหนึ่งเพราะรูปแบบทางจิตของพวกท่านมีลักษณะพิเศษและสนับสนุนการไม่มีเพศวิถี พระอรหันต์ไม่มีเพศวิถี แต่การไม่มีเพศวิถีก็ไม่ได้แปลว่าพระอรหันต์ไม่มีแรงดึงดูดต่อผู้อื่น พระอรหันต์สามารถมีแรงดึงดูดบางอย่างที่ไม่ได้มาจากแรงขับของเพศวิถี</p> สุมาลี มหณรงค์ชัย ธนสิทธิ์ ฉัตรสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2 บทบรรณาธิการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jasac/article/view/278797 นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-31 2024-10-31 7 2