https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/issue/feed วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ (บทความได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) 2023-12-20T10:26:17+07:00 ผศ.ดร.ชัชญา สกุณา [email protected] Open Journal Systems <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม วารสารนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ทุกลักษณะ ตั้งแต่การสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารมวลชน ไปจนถึงการสื่อสารในระยะไกล ขอบข่ายของบทความครอบคลุมกิจกรรมการสื่อสารทุกรูปแบบ อาทิ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา วารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สื่อใหม่ รวมถึงงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม<span class="Apple-converted-space">&nbsp;</span></p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269660 สัญลักษณ์ มายาคติ และการสื่อสารของประเพณีแห่นางดานในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2023-12-19T13:45:17+07:00 ยศยง เซ็นภักดี [email protected] กฤษณ์ ทองเลิศ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเรื่อง “สัญลักษณ์ มายาคติ และการสื่อสารชองประเพณีแห่นางดาน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมาย องค์ประกอบด้านสุนทรียภาพ บทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดานของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการศึกษาภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1)การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของประเพณีแห่นางดาน ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวิธีการประกอบสร้างความหมายผ่านสัญลักษณ์และมายาคติเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย การใช้สัญลักษณ์ทางประติมานวิทยา การใช้กฎของการเชื่อมโยง การสร้างสัมพันธบท และการใช้รหัสในเชิงพิธีกรรม 2)องค์ประกอบด้านสุนทรียภาพทางการสร้างสรรค์ในประเพณีแห่นางดานประกอบด้วย สุนทรียะจากการใช้รหัสเชิงซ้อน การยุบรวมความหมาย คุณค่าแสงเงาสลัว สุนทรียะแบบนาฏการ สุนทรียะความสนุกบนความไร้ระเบียบอย่างเป็นระบบ สุนทรียภาพบนสัมพันธภาพกลมกลืนระหว่างเนื้อหาและอารมณ์ &nbsp;3)บทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดาน&nbsp; พบว่า การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเล่าเรื่องประเพณีแห่นางดานให้มีการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมสืบต่อไปผ่านพิธีกรรมและการแสดง ได้แก่ บทบาทหน้าที่สืบทอดคติความเชื่อ การสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดาน การสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา การระดมพลังชุมชน การให้ความบันเทิง การจัดระบบทางสังคม การสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269661 แนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง 2023-12-19T13:54:47+07:00 สหรัฐต์ หิรัญญ์ธนภูวดล [email protected] ธนาสิทธิ์ เพิ่มเพียร [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพด้านการให้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการ จำนวน 246 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บุคลากรด้านการบริการที่ทำหน้าที่ให้บริการ 15 ราย และผู้บริหารขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง 5 ราย รวมทั้งสิ้น 20 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และค่าความผันแปร ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการการวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา โดยผลการศึกษามีดังนี้</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศ ขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง พบว่า ความต้องการพัฒนาคุณภาพการบริการ ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้ามีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศ ขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในการส่งผลจากปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลประกอบด้วยการเข้าใจและการรู้จักลูกค้า (β= -0.24) โดยสามารถพยากรณ์ได้ค่าร้อยละ 33.5 และค่าความแปรผัน (R<sup>2</sup>= 0.97) ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการสำหรับผู้ทำการในอากาศขององค์กรรัฐแห่งหนึ่ง มีดังนี้ 1 ความเป็นรูปธรรมของการบริการ (Tangibles) ควรพัฒนาในมิติด้านอาคารและสถานที่ ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ด้านผู้ให้บริการ และด้านความสะอาดและความปลอดภัย 2.2 ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ควรมุ่งเน้นเรื่องความรวดเร็วและตรงต่อเวลา ความถูกต้อง ความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลของลูกค้า และความสม่ำเสมอในการบริการ 2.3 การตอบสนองลูกค้า (Responsive) ควรแสดงออกถึงความตั้งใจที่จะช่วยเหลือลูกค้าหรือผู้มารับบริการ และมีการให้บริการที่เท่าเทียมให้กับทุกคนที่มาใช้บริการ 2.4 การให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า (Assurance) ควรเน้นย้ำในเรื่องความรู้ความสามารถให้บุคลากรมีความรู้และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง พัฒนาบุคลิกภาพที่ดี และสร้างมาตรฐานในการให้บริการ และ 2.5 การเข้าใจและรู้จักลูกค้า (Empathy) ควรให้บริการลูกค้าแต่ละรายด้วยความเอาใจใส่และให้ความเป็นกันเองและดูแลลูกค้าเปรียบเสมือนญาติ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องมีความเข้าใจในปัญหา ความต้องการของผู้มาใช้บริการ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269662 การเล่าเรื่องและการสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นอีสานของผู้กำกับอุเทน ศรีริวิในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้าน 2023-12-19T14:28:25+07:00 เบญจา ศรีทองสุข [email protected] กฤษณีกร เจริญกุศล [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้าน และ 2) การสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นอีสานของกำกับอุเทน ศรีริวิในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้าน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อทำการศึกษาประเด็นด้านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้าน และการสัมภาษณ์ (Interview) เพื่อทำการศึกษาการสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นอีสานของผู้กำกับอุเทน ศรีริวิในภาพยนตร์ ประกอบไปด้วย ผู้บ่าวไทบ้านอีสานอินดี้ (2557) อีสานนิวโอนซอง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผู้บ่าวไทบ้านอีสานอินดี้ตอนหมานแอนด์เดอะคำผาน (2561) และผู้บ่าวไทบ้านอีสานจ๊วด (2564)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้านทั้ง 4 ภาค มีองค์ประกอบของการเล่าเรื่องแบ่งตามโครงเรื่อง แก่นความคิด ความขัดแย้ง ตัวละคร ฉาก สัญลักษณ์พิเศษและมุมมองการเล่าเรื่องครบทุกองค์ประกอบ โดยภาพยนตร์มุ่งเน้นการนำเสนอแก่นความคิดและความขัดแย้งเป็นหลัก โดยแก่นแนวคิดที่พบในภาพยนตร์ทั้ง 4 ภาค ได้แก่ แก่นความคิดเกี่ยวกับอีสานภิวัฒน์หรือการสะท้อนค่านิยมอีสานไกลบ้าน แนวคิดการแยกออกเป็นสองขั้ว แนวคิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของชนชั้นแรงงานและนายทุน และแนวคิดท้องถิ่นนิยมกับการโหยหาอดีต สำหรับประเด็นการนำเสนอรูปแบบความขัดแย้งที่พบในภาพยนตร์ผู้บ่าวไทบ้าน ประกอบไปด้วย ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล เช่น ชนชั้นนายทุนและแรงงาน ความขัดแย้งภายในบุคคลที่สัมพันธ์กับบทบาทของตัวละคร เช่น ตัวละครบทเด่น ตัวเร่งและบทสนับสนุนและความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น พ่อกับลูกหรือแม่ผัวกับลูกเขย เป็นต้น องค์ประกอบการเล่าเรื่องผ่านสัญลักษณ์พิเศษ ประกอบไปด้วย (1) สัญลักษณ์ที่สะท้อนค่านิยมอีสานไกลบ้าน (2) การแยกเป็นสองขั้วและความมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน (3) กลุ่มชนชั้นนายทุนและแรงงาน และ (4) การท้องถิ่นนิยมและการโหยหาอดีต สำหรับการสัมภาษณ์คุณอุเทน ศรีริวิ พบว่าผู้กำกับต้องการสะท้อนอัตลักษณ์อีสาน ได้แก่ (1) การเป็นพื้นที่ต่อรองทางสังคมของผู้หญิงในชนบท (2) การปรับตัวของชาวอีสานไทบ้าน (3) ปัญหาช่องว่างและความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน และ (4) ภาวะการโหยหาอดีตหรือการคิดถึงบ้านเกิดของกลุ่มอีสานผลัดถิ่น</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269663 การปรับตัวทางการสื่อสารและวัฒนธรรม ของนักศึกษาจีนระดับชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ นานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต 2023-12-19T14:34:39+07:00 ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การปรับตัวทางการสื่อสารและวัฒนธรรม ของนักศึกษาจีนระดับชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ นานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยจะดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) กับนักศึกษาจีน รวมถึงการสังเกตการณ์ (Observation) พร้อมทั้งตีความวิเคราะห์ข้อมูลให้ตรงตามประเด็นวัตถุประสงค์ในการศึกษา ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลและสรุปผลการวิจัยเป็นเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา ด้านการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาจีนที่เข้ามาศึกษาต่อหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า แรงจูงใจในการเข้ามาศึกษาที่ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรังสิตมาจากความประทับใจจนนำมาสู่ความสนใจเข้ามาศึกษาต่อในประเทศไทย สำหรับแนวโน้มและทิศทางในการปรับตัวของนักศึกษาจีน พบว่า อยู่ในเชิงบวก พร้อมเรียนรู้และยอมรับวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกับวัฒนธรรมเดิมที่เคยเป็นอยู่ โดยความคาดหวังต่อการเข้ามาศึกษาต่อข้ามวัฒนธรรม พบว่า คาดหวังประกอบอาชีพในประเทศไทยได้ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และคาดหวังการมีครอบครัวอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาจีนกลุ่มตัวอย่างใช้รูปแบบการสื่อสารในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างเพื่อน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในคณะ การดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านสื่อมวลชนด้วยการดูละครไทย ฟังเพลงไทย โดยลักษณะการสื่อสาร และปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาจีน คือ ลักษณะการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ทั้งด้านกายภาพ และด้านสังคม ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม คือ ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ต่างกัน ด้วยความต่างวัฒนธรรมด้านภาษา ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า นักศึกษาจีนมีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมได้ดี โดยมีความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269664 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-12-19T14:41:05+07:00 กานต์ระพี อารีประชาภิรมย์ [email protected] พรพรหม ชมงาม [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลี เรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลี เรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มวัยทำงาน เพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ 18-59 ปี ที่มีพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 136 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของกลุ่มตัวอย่างคือ การเลือกรับรู้หรือตีความ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ทำให้รับรู้ถึงวิธีการทำธุรกิจ ภายใต้การแข่งขันทางธุรกิจ 2) กลุ่มตัวอย่างเกิดการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ด้านความต้องการหลีกหนีจากโลกความเป็นจริงชั่วขณะ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการรับชมซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน 3) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269665 ปัจจัยเชิงสาเหตุ ทัศนคติและความตั้งใจรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 2023-12-19T14:49:28+07:00 ชโรฌา กนกประจักษ์ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุของผู้ที่รู้จักและเคยรับชมเวอร์ชวล สปอร์ตและทัศนคติในการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ตและความตั้งใจรับชมเวอร์ชวลสปอร์ตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้ที่รู้จักและเคยรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรทำนายการยอมรับเทคโนโลยีเวอร์ชวล สปอร์ต บรรทัดฐานของสังคมและกลุ่มอ้างอิง และประสบการณ์ที่ได้รับจากการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติที่มีต่อการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบพหุคูณเพื่อการทำนาย (<em>R<sup>2</sup></em>) อยู่ที่ 0.34 ส่วนการยอมรับเทคโนโลยีเวอร์ชวล สปอร์ต ประสบการณ์ที่ได้รับจากการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต และทัศนคติที่มีต่อการรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจรับชมเวอร์ชวล สปอร์ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพื่อการทำนาย (<em>R<sup>2</sup></em>) เท่ากับ 0.50</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269666 การเปิดรับ ความพึงพอใจ ความผูกพัน ความต้องการ และความคาดหวัง ของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสื่อกรมประชาสัมพันธ์ 2023-12-19T14:56:27+07:00 สันทัด ทองรินทร์ [email protected] มนวิภา วงรุจิระ [email protected] ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อ 2) ความพึงพอใจ 3) ความผูกพัน 4) ความต้องการ และ5) ความคาดหวังของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสื่อต่างๆ ของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำปี 2565 โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อบริการสื่อกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี 1) การเปิดรับสื่อโทรทัศน์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กและทางเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรง เปิดรับสื่อวิทยุผ่านเครื่องรับวิทยุและช่องทางโซเชียลมีเดีย การใช้บริการสื่อบุคคลของกรมประชาสัมพันธ์ผ่านเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์และเปิดรับสื่อดิจิทัล/สื่อโซเชียล ทางเฟซบุ๊ก เว็บไซต์และกลุ่มไลน์ 2) ความพึงพอใจต่อสื่อในระดับมากทุกสื่อ โดยเรียงตามลำดับคือ สื่อบุคคล วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสื่อดิจิทัล/ สื่อโซเชียล 3) ความผูกพันต่อสื่อในระดับมากทุกสื่อ โดยเรียงตาม ลำดับคือ สื่อวิทยุ สื่อบุคคล สื่อโทรทัศน์ และสื่อสื่อดิจิทัล/ สื่อโซเชียล 4) ความต้องการให้สื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุมีรายการข่าว วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าวมากที่สุด มีความรวดเร็วทันสถานการณ์ ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน เข้าใจง่ายรูปแบบรายการทันสมัย น่าสนใจ การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ส่วนสื่อบุคคลต้องการให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กระตือรือร้น เต็มใจให้ บริการ สำหรับสื่อดิจิทัล/ โซเชียลต้องการให้มีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ น่าสนใจ ถูกต้องแม่นยำ เจาะลึกชัดเจนรอบด้าน 5) ความคาดหวังจากสื่อวิทยุในระดับมากที่สุดและมีความคาดหวังในระดับมากต่อสื่อโทรทัศน์ สื่อดิจิทัล/ &nbsp;โซเชียลและสื่อบุคคลตามลำดับ โดยคาดหวังให้สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และสื่อสื่อดิจิทัล/สื่อโซเชียลเป็นหน่วย งานให้บริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นมืออาชีพ มีจริยธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ บริหารจัดการข้อมูลและข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชาติและสังคมได้ ส่วนสื่อบุคคล คาดหวังให้มีความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนสู่รัฐ สร้างและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์เพื่อการสื่อสารประเด็นความคิดสำคัญอย่างต่อเนื่อง</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269667 ประสิทธิผลโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2023-12-19T15:06:01+07:00 ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษากับผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชนของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ จำนวน 131 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่&nbsp; ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการมีสถานะเป็นนักศึกษาและบุคลากร ส่วนใหญ่รู้จักโครงการจากการสั่งงานของอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาที่เรียน และรู้จักจากเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สำหรับเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการ คือ เพื่อเรียนรู้การทำงานด้านการสื่อสาร ด้านนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การอยู่ร่วมกันบนวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมและวัตนธรรมชุมชนที่แตกต่าง และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับเพื่อนผู้เรียนด้วยกัน และกลุ่มตัวอย่างใช้ความรู้และทักษะด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมในการทำกิจกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารระหว่างบุคคล ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ประสิทธิผลโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.45 รองลงมา คือ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ย 4.39 ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ย 4.36 และด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ย 4.34 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า 2.1) ด้านกระบวนการ พบว่า ช่วงเวลาในการจัดโครงการมีความเหมาะสมและชัดเจน วิทยากรเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ และสถานที่ในการฟังบรรยายและการผลิตสมุดทำมือมีความเหมาะสม 2.2) ด้านผลผลิต พบว่า โครงการทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจปัญหาสังคมจากประสบการณ์โดยอาศัยความรู้และทักษะที่มี เกิดการเรียนรู้และเข้าใจสังคมการอยู่ร่วมกันบนวิถีที่แตกต่าง และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่สร้างคุณค่าและประโยชน์ให้แก่สังคม 2.3) ด้านบริบท พบว่า โครงการสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน สอดรับกับเรื่องจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และมุ่งสร้างให้มีสำนักรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม และ 2.4) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า กระบวนการดำเนินโครงการที่มีชัดเจนและประสิทธิภาพ โดยผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งทีมนักศึกษาเรียน บุคลากร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการแนะนำ มีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสมุดทำมือ และจุดบริการรับกระดาษรีไซเคิลชัดเจนเพียงพอ และมีทีมงานและวิทยากรที่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269668 ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับกระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) 2023-12-19T15:12:41+07:00 นภัสสร ท้าวประยูร [email protected] พรพรหม ชมงาม [email protected] เดียว วรตั้งตระกูล [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับกระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 2) กระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับกระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน สำนักงาน กสทช. เพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ ระหว่าง 22-42 ปี จำนวน 180 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานของกลุ่มตัวอย่างคือ ด้านความสำเร็จของงาน เนื่องจากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับงานที่ได้รับมอบหมายมักประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย 2) กระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของกลุ่มตัวอย่างคือ ด้านการพิจารณาค้นหาทางเลือกเพื่อการตัดสินใจ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความคาดหวังที่จะได้เปลี่ยนตำแหน่งและเงินเดือนที่สูงขึ้น 3) แรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจในการคงอยู่ของพนักงานเจเนอเรชั่น วาย ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269669 วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน 2023-12-19T15:29:13+07:00 Jinlu Song [email protected] ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน ภาพยนตร์ที่นำมาศึกษาได้แก่&nbsp; ภาพยนตร์เรื่อง สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก 20 ใหม่ ฉลาดเกมส์โกง You Are the Apple of My Eye Miss Granny และ The Ark of Mr. Chow แนวคิดที่นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีภาพยนตร์วัยรุ่น และ ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลจากการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ทั้งหมดมีกลวิธีการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1) โครงเรื่อง&nbsp; มีโครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ ใช้การลำดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่อง 5 ขั้นตอน คือ การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลายและการยุติเรื่องราว 2) แก่นเรื่อง พบว่า ทั้ง 6 เรื่องนี้มีแก่นความคิดเกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของวัยรุ่น&nbsp; 3) ตัวละคร พบว่า ในภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ มีตัวละคร 2 ประเภท คือ ตัวกลม และตัวแบน 4) ความขัดแย้งพบว่าภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ความขัดแย้งมี 3 ประเภท คือความขัดแย้งระหว่างคนและคน ความขัดแย้งภายในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม 5)ฉาก พบว่า ฉากส่วนใหญ่ที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร ส่วนมากเป็นฉากพื้นที่เมือง โดยอิงยุคสมัยตามเนื้อเรื่อง 6) มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่าภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ เน้นมุมมองบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 3&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยเมื่อเปรียบเทียบการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน พบว่ามีลักษณะดังนี้ <strong><em>ด้านความเหมือน</em></strong>&nbsp; 1.โครงเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน มักจีนโครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ &nbsp;2.แก่นเรื่องในภาพยนตร์จีนและไทยมักแสดงออกถึงความฝันและคุณค่าของชีวิตวัยรุ่น 3.ตัวละครหญิงในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นนักเรียนมัธยม&nbsp; 4.ฉากในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นโรงเรียนหรือบ้านเป็นสำคัญ 5.ความขัดแย้งในภาพยนตร์จีนและไทยส่วนใหญ่เป็นเป็นความขัดแย้งระหว่างคนกับคน&nbsp; 6.มุมมองในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นมุมมองบุรุษที่ 1 และ บุรุษที่ 3&nbsp; <strong><em>ด้านความแตกต่าง</em></strong> 1. ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักมีโครงเรื่องที่เรียบง่ายมีความกระชับและชัดเจน ในขณะที่ภาพยนตร์วัยรุ่นไทยมีโครงเรื่องที่หลากหลายและ มีความซับซ้อนซับซ้อน 2. แก่นเรื่องในภาพยนตร์มักได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประจำชาติของตนเอง&nbsp; 3. ตัวละคร ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนให้ความสำคัญกับการแสดงภาพโลกภายในของตัวละครและให้ความสำคัญกับการแสดงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร ในขณะที่ ภาพยนตร์วัยรุ่นไทย เน้นให้ความสำคัญกับบุคลิกของตัวละคร&nbsp; 4. ความขัดแย้ง ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักนำเสนอความขัดแย้งในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่กับลูก ขณะที่ภาพยนตร์ไทย ไม่เน้นภาพความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก 5.ฉาก ในภาพยนตร์ไทยมักอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ขณะที่ฉากภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมีความหลากหลายของกว่า 6.มุมมองการเล่าเรื่อง ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศชาย แต่ภาพยนตร์จีนส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศหญิง</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269670 การรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของคุณแม่มิลเลเนียลที่มีต่อของเล่นอีโค่สำหรับเด็ก 2023-12-19T15:35:11+07:00 ชนนิกานต์ เธียรถาวร [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Millennials, who are increasingly adopting eco-friendly lifestyles, are entering parenthood and have become important consumers in the baby and children's product market. Notably, toys are consistently among their top three spending categories. In response to these changing consumer behaviors, this study aims to explore millennial mothers' views on eco-friendly toys for their children. The research seeks to uncover the benefits and drawbacks they associate with these toys and the factors influencing their purchase decisions. To accomplish these objectives, the research applied several key concepts, including the marketing mix (7Ps), the consumer decision-making process, and the theory of planned behavior, as guiding frameworks.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The author conducted in-depth interviews to gather information from a sample of 16 Thai millennial mothers, ranging in age from 29 to 45 (born between 1987 and 1945). Each participant had at least one child between the ages of 0 and 3 years old. Additionally, these mothers had experience with eco-friendly toys, either through knowledge or past purchases, particularly for their children's skill and brain development.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The findings revealed that millennial mothers have a basic understanding of eco-friendly toys, often learning about them through friends or social media. PlanToys is a recognized eco-friendly brand, while others remain uncertain. They encounter these brands at stores, pop-up booths, kids' cafes, and through gifts. These mothers value eco-friendly toys due to their environmentally conscious production, safety, durability, and developmental advantages. Nonetheless, they express concerns about the limited variety of toys, their weight, vulnerability to moisture, and higher costs. To be specific, millennial mothers prioritize toy safety and quality. Their buying process involves occasional consideration, quick research, and convenience-driven decisions, balancing factors like quality, social input, and independence.</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269671 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z 2023-12-19T15:43:37+07:00 ณัฐสิมา นครกัณฑ์ [email protected] พัชนี เชยจรรยา [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการดำเนินชีวิต และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อกับการพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้เป็นการใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีการเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กที่เกิดในช่วง Generation Z ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 400 คน และใช้การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ได้แก่นักเรียนสายวิทย์-คณิต นักเรียนสายศิลป์-คำนวณ และนักเรียนสายศิลป์-ภาษา รวมทั้งหมดจำนวน 8 คน &nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการดำเนินชีวิต และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z โดยเมื่อพิจารณาแล้ว แรงจูงใจสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 67.2 ซึ่งมีค่า R<sup>2</sup> = 0.672 เมื่อนำไปรวมกับการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจะสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 73.9 ซึ่งมีค่า R<sup>2</sup> = 0.739 ซึ่งจะสามารถพยากรณ์ได้ดีกว่า นอกจากนี้หากเพิ่มตัวแปรการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจะสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 75.9 ซึ่งมีค่า R<sup>2</sup> = 0.759 และเมื่อเพิ่มตัวแปรตัวสุดท้าย คือรูปแบบการดำเนินชีวิตจะทำให้ได้ค่าพยากรณ์สูงสุดที่ร้อยละ 76.5 ซึ่งมีค่า R<sup>2</sup> = 0.765</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่ามีความชอบและสนใจส่งผลตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ค้นหาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์หลายๆแหล่งที่มา และต้องการให้มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยของข้อมูลเพื่อประกอบในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269672 การกำหนดแบรนด์สถานที่และการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในดอยแม่สลอง: การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนหลายฝ่าย 2023-12-19T15:50:39+07:00 ชู มา [email protected] พันธุมดี เกตะวันดี [email protected] <p class="Body"><span lang="EN-US">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้สำรวจมิติหลายรูปแบบของการกำหนดแบรนด์สถานที่สำหรับดอยแม่สลอง ที่เป็นสถานที่มีความเป็นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรมในประเทศไทย โดยใช้วิธีผสมผสานในการทางราชการ การวิจัยนำเสนอมุมมองของนักท่องเที่ยว มุมมองของผู้ส่งเสริมทางภาคท้องถิ่น และลักษณะเฉพาะของพื้นที่เพื่อสร้างกลยุทธ์การกำหนดแบรนด์อย่างเป็นรายละเอียด การศึกษาพบว่า จุดไปรษณีย์ในการแข่งขันของดอยแม่สลองอยู่ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และความงดงามของธรรมชาติ แต่ก็ระบุถึงความท้าทายเช่นผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และความต้องการในการจัดการอย่างมีระบบในอุตสาหกรรมบริการด้านโรงแรมและอุตสาหกรรมชาในพื้นที่ ข้อความสำคัญระบุว่า นักท่องเที่ยวรักดอยแม่สลองอย่างแท้จริงเนื่องจากสิ่งท่องเที่ยวหลากหลาย ความต้องการร่วมกันของผู้ส่งเสริมทางภาคท้องถิ่นในการเพิ่มความแข่งขันของสถานที่นี้พร้อมรักษามรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และข้อขาดสิ่งของการจัดการในด้านการบริการที่ควรมีองค์การที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เรื่องสรุปของการศึกษานี้มอบแนะนำกลยุทธ์สำหรับการกำหนดแบรนด์ การตำแหน่ง และการมีส่วนร่วมของผู้ส่งเสริมทางภาค เสนอแผนกาตรวจสอบสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน</span></p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269673 การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารแบรนด์บุคคลผ่านแอพพลิเคชัน TikTok กรณีศึกษา คุณวาเลนไทน์ เจ้าของแบรนด์วาลิเชน 2023-12-19T15:58:05+07:00 ชัชญา สกุณา [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารแบรนด์บุคคลผ่านแอพพลิเคชัน TikTok ของคุณวาเลนไทน์ เจ้าของแบรนด์วาลิเชนด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีแหล่งข้อมูลคือ คลิปวีดีโอทางแอพพลิเคชัน TikTok ของคุณวาเลนไลน์ โดยกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกด้วยระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 – เดือนตุลาคม 2566 รวม 10 เดือน โดยศึกษาทุกคลิปที่เผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 110 คลิปเพื่อให้เห็นการสื่อสารแบรนด์บุคคลในหลากมิติ ผลการศึกษา พบว่า คุณวาเลนไทน์มีการใช้องค์ประกอบของการสื่อสารแบรนด์บุคคลครบทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์ มุ่งให้ข้อมูล และมุ่งสร้างการรับรู้ ชื่อเสียง ความคุ้นเคย หรือจุดเด่น 2) บุคลิกภาพของแบรนด์บุคคล ผลการวิเคราะห์พบบุคลิกภาพจริงใจ (Sincerity) บุคลิกภาพเลิศหรูดูดี (Sophistication) &nbsp;และบุคลิกภาพฉลาดประสบความสำเร็จ (Competence) 4) การสื่อสารจุดแข็งของแบรนด์บุคคลเพื่อก่อให้เกิดชื่อเสียง จากการวิเคราะห์การสื่อสารแบรนด์บุคคลของคุณวาเลนไทน์ พบว่า การสื่อสารจุดแข็งของคุณวาเลนไทน์ ประกอบด้วย ความรู้ ประสบการณ์ ตำแหน่ง และปฏิกิริยาตอบกลับ โดยการสื่อสารจุดแข็งเรื่องของตำแหน่งอินฟูลเอนเซอร์ (Influencer) ถูกพบมากที่สุด 4) ความเชื่อมโยงกับแบรนด์สินค้า โดยคุณวาเลนไทน์เป็นเจ้าของแบรนด์วาลิเชน พบว่า คุณวาเลนไทน์มีการสวมใส่แบรนด์วาลิเชนเกือบทุกคลิปของการนำเสนอเนื้อหาผ่าน TikTok เนื่องจากเนื้อหาหลักของการสื่อสารเป็นเรื่องแฟชั่นความสวยความงามทำให้การสอดแทรกแบรนด์วาลิเชนเข้าไปกลมกลืนและดูเชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269674 การเปิดรับเนื้อหาและพฤติกรรมการใช้บริการยูทูบของผู้ใช้เจเนอเรชั่น X Y Z 2023-12-19T16:03:14+07:00 วรทัย ราวินิจ [email protected] พีระ ศรีประพันธ์ [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมและเปรียบเทียบการเปิดรับเนื้อหาที่ปรากฏบนยูทูบของผู้ใช้เจเนอเรชั่น X, Y และ Z โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนอาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้บริการยูทูบจำนวน 405 คน ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับมากที่สุดคือ เนื้อหาประเภทการท่องเที่ยว (TRAVEL) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.02 รองลงมาคือเนื้อหาประเภทตลกขบขัน/ล้อเลียน (COMEDY/SKIT) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.90 และเนื้อหาประเภทการทำอาหาร (COOKING) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.89 ตามลำดับ โดยจากการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบการเปิดรับเนื้อหาที่ปรากฏบนยูทูบของผู้ใช้เจเนอเรชั่น X, Y และ Z พบว่า ผู้ใช้บริการยูทูบที่อยู่ในกลุ่มเจเนอเรชั่นต่างกันมีการเปิดรับเนื้อหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่น X มีการเปิดรับเนื้อหาประเภทสุขภาพและการออกกำลังกาย (HEALTH &amp; FITNESS) มากกว่าเจเนอเรชั่นอื่นๆ ขณะที่เจเนอเรชั่น Y มีการเปิดรับเนื้อหาประเภทการประดิษฐ์สิ่งของด้วยตัวเอง (DIY) และเนื้อหาประเภทการท่องเที่ยว (TRAVEL) มากกว่าเจเนอเรชั่นอื่นๆ ส่วนเจเนอเรชั่น Z มีการเปิดรับเนื้อหาประประเภทดนตรีและการเต้น (MUSIC &amp; DANCE) และเนื้อหาประประเภทวล๊อก หรือ วี-ล๊อก (VLOG) มากกว่าเจเนอเรชั่นอื่นๆ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/269676 ความพึงพอใจและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ด้านนิเทศศาสตร์ ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 2023-12-19T16:09:53+07:00 มัติกร บุญคง [email protected] <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านนิเทศศาสตร์ ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีการกำหนดตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กำลังศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ โดยรู้จักกิจกรรมนี้จากการแนะนำของรุ่นพี่หรือเพื่อน สำหรับเหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ เพื่อเปิดมุมมองและสร้างประสบการณ์การทำงานด้านนิเทศศาสตร์/สื่อสารมวลชน และส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะพื้นฐาน คือ การเล่าเรื่องและการสร้างสรรค์คอนเทนต์ สำหัรบการสร้างสรรค์ผลงานในกิจกรรมครั้งนี้</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจด้านผลผลิตมากที่สุด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดทักษะในงานด้านนิเทศศาสตร์ เช่น การเล่าเรื่อง การสร้างสรรค์สื่อ การถ่ายทำและตัดต่อ การใช้งานแอพพลเคชั่น การนำเสนอผลงาน ฯลฯ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ พบว่า วิทยากรมีความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ และด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจงานด้านนิเทศศาสตร์</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ความต้องการที่มีต่อกิจกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้กิจกรรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านนิเทศศาสตร์/สื่อสารมวลชน ต้องการประเด็นในการอบรม คือ การสร้างสรรค์สื่อหรือผลงานด้านนิเทศศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน โดยต้องการให้เน้นการฝึกปฏิบัติในทุกขั้นตอน (ลงมือปฏิบัติจริง) และให้มีระยะเวลาในการอบรม 1 วัน และเป็นวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ในช่วงภาคการศึกษาที่ 2 (มีนาคม-พฤษภาคม) และต้องการให้มีประกาศนียบัตรเพื่อรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์