วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ (บทความได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม วารสารนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ทุกลักษณะ ตั้งแต่การสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารมวลชน ไปจนถึงการสื่อสารในระยะไกล ขอบข่ายของบทความครอบคลุมกิจกรรมการสื่อสารทุกรูปแบบ อาทิ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา วารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สื่อใหม่ รวมถึงงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม<span class="Apple-converted-space">&nbsp;</span></p> วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต th-TH วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ (บทความได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) 0858-6160 ความคิดเห็นและความพึงพอใจขององค์กรสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277188 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัย “ความคิดเห็นและความพึงพอใจขององค์กรสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็น ประเมินความพึงพอใจ และรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้แทนขององค์กรสมาชิก ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ในปีงบประมาณ 2565 โดยใช้รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อถอดบทเรียนเชิงประสบการณ์ และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้แทนองค์กรสมาชิกในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค &nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้แทนองค์กรสมาชิกในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมประชุมส่วนมากเป็นกลุ่ม “ผู้สูงอายุ” ปลอดจากภาระหน้าที่ด้านการทำงานประจำ ประกอบกับมีประสบการณ์ในการทำงานในลักษณะเครือข่ายขับเคลื่อนงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเวลาและความชำนาญในการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) ด้านการรู้จักและความเชื่อมั่นในหน่วยงาน/องค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนองค์กรสมาชิกในเขตกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมประชุมมีระดับการรู้จักเกี่ยวกับหน่วยงาน รู้จักคน/เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับเรื่องร้องเรียน รู้วิธีและขั้นตอนในการร้องเรียน และรู้ช่องทางในการร้องเรียน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของสมาชิกฯ ที่ผ่านการทำงานร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค สามารถดำเนินงานพื้นฐานด้านการปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกละเมิดหรือถูกเอาเปรียบจากการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการได้ &nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) ด้านความคิดเห็น/พึงพอใจและความคาดหวังต่อบทบาทตามภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภค เห็นว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคควรเพิ่มบทบาทในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การสนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดและเขตพื้นที่ การดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค การสนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกเกี่ยวกับข้อพิพาทในการละเมิดสิทธิในชั้นศาล และการดำเนินคดีหรือช่วยเหลือในการฟ้องคดีแก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิให้มากขึ้น</p> สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 8 17 ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277189 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์ม<br>ติ๊กต็อก (TikTok) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) การรีวิวจากผู้ใช้งานจริง การรับรองโดยบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดบนโซเชียลมีเดีย และการส่งเสริมการขายด้วยคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) ที่มีผลการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) ดำเนินการศึกษาโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นโดยกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ และมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 441 คน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า คูปองส่วนลดจาก TikTok มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.442 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงที่สุด ด้านผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.331 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลรองจากคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) ด้านการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) อยู่ที่ 0.149 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลรองลงมาจากคูปองส่วนลดจากติ๊กต็อก (TikTok) และผู้มีอิทธิพลทางความคิด และการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง (Review) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน ( β ) อยู่ที่ 0.104 เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลน้อยที่สุด กล่าวโดยสรุป คือ ปัจจัยการสื่อสาร คูปองส่วนลดจาก TikTok, ผู้มีอิทธิพลทางความคิด, การถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) และการรีวิวจากผู้ใช้งานจริง (Review) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) โดยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก (TikTok) ร้อยละ 89.8 โดยมีค่า R Square (R²) = 0.898 (Sig. = 0.000 และ F = 12.96)</p> สวรส นารานาคสังข์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 18 28 ความไร้เดียงสาและความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารความเป็นจริงเสมือนของคนไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277191 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความไร้เดียงสาและความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารความเป็นจริงเสมือน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการทดสอบและประเมิน (Test and Evaluation) โดยสร้างเนื้อหาความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality Content) เกี่ยวกับความหวาดกลัว ตื่นเต้น จากการผจญภัยล่องแพในแม่น้ำเพื่อหนีปลายักษ์และเดินบนสะพานเพื่อข้ามเหวสูง และให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยซึ่งเป็นผู้เคยหรือไม่เคยใช้วีอาร์ อายุ 18-59 ปี จำนวน 13 คน ได้เข้าถึงเนื้อหาความเป็นจริงเสมือนที่สร้างขึ้นดังกล่าวผ่านแว่นวีอาร์ในห้องที่มีพื้นที่โล่ง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เข้าร่วมวิจัยหลังจากจบเนื้อหา</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความไร้เดียงสาจากการใช้วีอาร์โดยมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวีอาร์ค่อนข้างน้อย ใช้งานเป็นครั้งแรก ๆ ใช้ในระยะเวลาไม่นาน ยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบของวีอาร์ด้านจิตใจมากนัก การรับรู้ความเสี่ยงของเนื้อหาความเป็นจริงเสมือนแตกต่างกันไปตามภูมิหลัง เช่น เป็นคนที่กลัวเรื่องรุนแรง ว่ายน้ำไม่เป็น กลัวความสูง งานวิจัยชี้แนะว่า ผู้ใช้งานที่ยังมีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีวีอาร์ไม่มากนัก ควรพิจารณาถึงแนวเนื้อหา รวมทั้งควรประเมินความเสี่ยงต่อผลกระทบทางจิตใจและร่างกายก่อนการตัดสินใจใช้เทคโนโลยีการสื่อสารความเป็นจริงเสมือนเพื่อเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ</p> กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล พนม คลี่ฉายา Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 29 43 อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดและพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดตาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277192 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดตาก โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาดังนี้</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) พฤติกรรมการซื้อ พบว่า ผู้บริโภคจะสั่งซื้อสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผ่านแอพพลิเคชันของ Lazada และ Shopee เพราะมีความสะดวก โดยซื้อสินค้าเดือนละ 1 - 2 ครั้ง ๆ ละ 1 - 2 ชิ้น มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 100 - 300 บาท และชำระด้วยการเก็บเงินปลายทาง หรือ โอนผ่านธนาคาร</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) ส่วนประสมการตลาดออนไลน์ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความหลากหลายและคุณภาพของสินค้า ราคาไม่แพง สะดวกในการสั่งซื้อ การจัดส่งที่ถูกต้องรวดเร็ว มีการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และ มีการให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค รวมถึง การรักษาข้อมูลของลูกค้า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) การตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่า สถานการณ์โควิด-19 และข่าวสารผ่านสื่อที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจหันมาซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชันออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีความเชื่อว่าการซื้อสินค้าออนไลน์จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคระบาด และจะยังคงซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชันออนไลน์ต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ พบว่า เฉพาะการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ และ การรักษาความเป็นส่วนตัวเท่านั้น ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชันออนไลน์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การให้บริการส่วนบุคคล ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ</p> เผด็จ ทุกข์สูญ สมใจ วงค์เทียนชัย Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 44 57 คุณค่า ความหมายผ้าทอไทลื้อจากทุนทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการของกลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277197 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง คุณค่า ความหมายผ้าทอไทลื้อจากทุนทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการของกลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคติภูมิปัญญาและความเชื่อเรื่องผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2) เพื่อสืบสานรูปแบบผ้าทอที่ใช้ในพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 3) เพื่อการผลิตซ้ำกระบวนการสืบสานและการอนุรักษ์ของผ้าทอไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และ 4) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จำนวน 2 โครงการในด้านการสืบสานเพื่อการอนุรักษ์ผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมการตลาดแบบบูรณาการของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ กลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา บ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ครูภูมิปัญญา 2 คน, ปราชญ์ชุมชน 3 คน, ผู้อาวุโส 5 คนและสมาชิกกลุ่มผ้าทอ 10 คน เครื่องมือวิจัยใช้กระบวนการเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อย <em>การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม</em></p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คติภูมิปัญญาและความเชื่อเรื่องผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตน ซึ่งมีหลักพุทธธรรมทางศาสนาสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน และโภควิภาค 4 คือ การจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่ายออกเป็น 4 ส่วน 2) มีการสืบสานรูปแบบผ้าทอที่ใช้ใพระพุทธศาสนา โดยการถ่ายทอดผ่านการเล่าเรื่องทางศาสนาและชุดความรู้ทางภูมิปัญญาด้านวิถีชีวิตการทอผ้า 3) มีกระบวนการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมผ่านประเพณี 12 เดือนและจัดทำเป็นแผนการตลาดแบบบูรณาการแบบออฟไลน์และออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กและแอปพลิเคชั่นไลน์ 4) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการสืบทอดและการดำรงอยู่ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และผลักดันหลักสูตรท้องถิ่นผ่านการสอนหลักสูตรระยะสั้นแบบมีส่วนร่วมกับบ้าน วัด โรงเรียน ร่วมสืบสานภูมิปัญญาวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืนสืบไป</p> ชุตินิษฐ์ ปานคำ ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก กิติวัฒน์ กิติบุตร อนันต์ อุปสอด เอกสิทธิ์ ไชยปิน Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 58 70 การรับรู้ความสมจริงของเทคโนโลยีดีพเฟคสื่อภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277198 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study delves into Hollywood film audiences' perceptions of deepfakes, specifically how they influence the perceived authenticity of content featuring these manipulated visuals. Building on industry-specific authenticity components defined by Nunes et al. (2021 : 1-20), this study explores audience perceptions of deepfaked content in Hollywood films advertisements and identifies key sentiments influencing the audience’s perception of authenticity in deepfaked content. Two approaches were employed. First, comment data was scraped from YouTube advertisements of six chosen films featuring deepfaked characters. Second, interviews were conducted with fifty participants. Findings from both datasets were then compared.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research reveals that deepfakes can create a sense of authenticity, particularly when eliciting emotional responses and honoring the original actors' legacy. However, the effectiveness hinges on execution quality and individual viewer perception. Both data sources yielded consistent results regarding perceptions of Accuracy, Connectedness, Integrity, and Originality. In simpler terms, audiences exhibited tolerance for deepfakes in these areas. Interestingly, the interview data diverged from scraped comments regarding Legitimacy (authorized use of character likeness) and Proficiency (technical mastery). Legitimacy was validated by scraped data but not interviews, while neither source validated Proficiency.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study offers valuable insights for filmmakers, visual effects studios, and audiences alike. For filmmakers, the research sheds light on audience perceptions of deepfakes, allowing them to make informed decisions about incorporating this technology. It highlights the importance of high-quality execution and respecting the legacy of the characters being portrayed. For visual effects studios, the study provides valuable feedback on audience expectations regarding deepfakes. This can guide them in their efforts to refine and perfect the technology to achieve a more convincing level of authenticity. For audiences, the research fosters a deeper understanding of how deepfakes can influence their perceptions. It encourages a more critical viewing experience, prompting them to question the authenticity of what they see on screen. Overall, this research paves the way for a more nuanced understanding of deepfakes in the film industry. By recognizing their potential to create emotional connection while acknowledging the limitations in achieving true authenticity, all stakeholders can work towards a future where deepfakes are used responsibly and effectively in storytelling.</p> เดวิด เอสเตบา นุดี หนูไพโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 71 80 การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของร้านคาเฟ่ในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277199 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเนื้อหาสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธีแบบเกิดพร้อมกัน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเนื้อหาสารบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 มีทั้งหมด 5 ด้าน ตามลำดับความสำคัญ คือ เนื้อหาสารด้านลักษณะทางกายภาพ (β=0.25) เนื้อหาสารด้านช่องทางจัดจำหน่าย (β=0.21) เนื้อหาสารด้านพนักงาน (β=0.19) เนื้อหาสารด้านการส่งเสริมการตลาด (β=0.15) และเนื้อหาสารด้านกระบวนการให้บริการ (β=0.11) และปัจจัยทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการได้ร้อยละ 36 (R<sup>2</sup>=0.36) ส่วนปัจจัยเนื้อหาสารด้านผลิตภัณฑ์ และเนื้อหาสารด้านราคา ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ นอกจากนี้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย 8 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การเน้นข้อมูลข่าวสาร กลยุทธ์การสอดแทรกความบันเทิง กลยุทธ์การให้ผลประโยชน์และสิ่งตอบแทน กลยุทธ์การสร้างปฏิสัมพันธ์ กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์และตัวตน กลยุทธ์การสร้างอิทธิพลต่อความคิดเห็น กลยุทธ์การสร้างความไว้วางใจ และกลยุทธ์การสร้างความนิยมและชื่อเสียง และผู้ประกอบธุรกิจร้านคาเฟ่ในชุมชนบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการควรเน้นการสื่อสารเนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นบรรยากาศและการตกแต่งร้านแนวธรรมชาติร่มรื่น สวยงาม มีเอกลักษณ์ รวมทั้งสร้างการรับรู้ว่าร้านคาเฟ่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภค</p> ลลิตา พ่วงมหา พีรพล รอดเสถียร Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 81 93 กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277201 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจีนในหลักสูตรจีน-อังกฤษ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา ภาคการศึกษา 1-2566 จำนวน 100 คน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ อายุ 19 ปี ผลการเรียนภาษาต่างประเทศเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ&nbsp; เกรด B และอยู่ระดับชั้นปีที่ 2 มากที่สุด สรุปได้ว่า กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยตรง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48&nbsp;&nbsp; เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกลยุทธ์การแก้ไขข้อบกพร่อง (Compensation Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 ด้านกลยุทธ์ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Strategies) อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 และด้านกลยุทธ์การจำ (Memory Strategies) อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาโดยอ้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลยุทธ์ทางสังคม (Social Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ด้านกลยุทธ์การนำไปสู่ความสำเร็จ (Metacognitive Strategies) อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และด้านกลยุทธ์ทางอารมณ์และความรู้สึก (Affective Strategies) อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 เมื่อพิจารณาทั้ง 2 กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา พบว่า กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยอ้อมมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 และใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยตรง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ทั้งนี้ การทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ผลการวิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ และชั้นปีการศึกษา มีกลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ไม่แตกต่างกัน มีเพียงผลการเรียนที่มีผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 94 102 การศึกษาภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้โดย ริชาร์ด เคอร์ติส https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277202 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้โดย ริชาร์ด เคอร์ติส ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) รวมไปถึงแนวคิดอันได้แก่ แนวคิดโครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ และแนวคิดลักษณะนิสัยของตัวละครและการออกแบบตัวละคร โดยศึกษาจากภาพยนตร์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่เขียนบทและกำกับการแสดงโดยริชาร์ด เคอร์ติส และคัดเลือกผลงานทั้งหมด 2 เรื่อง ออกมาทำการศึกษาอย่างละเอียด ได้แก่ 1) Love Actually (2003) 2) About Time (2013)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง มีโครงสร้างการเล่าเรื่อง ลักษณะนิสัยของตัวละคร และการออกแบบตัวละครดังนี้ 1)โครงเรื่อง มีลักษณะแบบเส้นตรง (Linear Plot) หรือโครงเรื่องที่ดำเนินเรื่องไปตามลำดับเวลาและเหตุการณ์ โดยมีรูปแบบของโครงเรื่องตามลำดับขั้นพีระมิดเฟรย์แท็ก (Freytag’s Pyramid) ซึ่งประกอบไปด้วย 1.1) การเปิดเรื่อง 1.2) การพัฒนาเหตุการณ์ 1.3) ภาวะวิกฤต 1.4) ภาวะคลี่คลาย 1.5) การปิดเรื่อง 2) ความขัดแย้ง พบว่าเป็นความขัดแย้งตามลักษณะของเนื้อหา โดยพบทั้งความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับตัวเอง 3) แก่นเรื่อง มีวิธีการนำเสนอโดยการแฝงแนวคิดหรือแก่นเรื่องไว้ในส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหา 4) จุดยืนในการเล่าเรื่อง มีความแตกต่างกัน โดยที่ Love Actually นั้นใช้การเล่าเรื่องจากจุดยืนที่เป็นกลาง ส่วน About Time ใช้การเล่าเรื่องจากจุดยืนของบุคคลที่หนึ่ง&nbsp; 5) สัญลักษณ์ มีการสื่อสารที่แฝงสัญลักษณ์ผ่าน บทสนทนา ภาพ เสียง และองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ 6) ประเภทของตัวละคร มีการแบ่งความสำคัญ บทบาท หน้าที่ มิติ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของตัวละคร ตามแนวคิดลักษณะนิสัยของตัวละคร โดยที่ในแต่ละตัวละครจะสะท้อนมุมมอง ลักษณะนิสัย และการดำเนินชีวิตเฉกเช่นมนุษย์จริงๆ 7) องค์ประกอบในการออกแบบตัวละคร ได้มีการวางองค์ประกอบของตัวละครต่างๆ ให้มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของ อาชีพ สถานภาพ และ ชีวิตส่วนตัว รวมไปถึง องค์ประกอบทาง ด้านสรีรวิทยา ด้านสังคมวิทยา และด้านจิตวิทยา โดยสามารถพบเห็นได้ในตัวละครหลักของเรื่อง และลดทอนลงไปตามความสำคัญของตัวละครที่มีต่อเรื่องและ 8) แนวคิดที่เกี่ยวกับภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ โดยมีรูปแบบของโครงเรื่องและลักษณะของตัวละครภายในเรื่องที่ สอดคล้องกับ แนวคิดประเภทของภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ของ J Gideon Sarantinos (2012) และ ลาน่า ชวาร์ทซ (2020)</p> วรเมธ สวัสดิ์เวช อานิก ทวิชาชาติ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 103 113 การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนในการสมรสไทย-จีน ภายใต้บริบทสังคมไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277203 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง “การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนในการสมรสไทย-จีนภายใต้บริบทสังคมไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย จำนวน 10 คน รวมถึงศึกษางานวิจัย บทความ และเอกสารต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และ 2) วิธีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ของสตรีจีน ในการสมรสไทย-จีนภายใต้บริบทสังคมไทย โดยใช้แนวคิดการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม แนวคิดการปรับตัว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการสื่อสาร ได้แก่ ปัจจัยด้านภาษาไทย วัฒนธรรม ชีวิตประจำวัน คู่สมรส หรือครอบครัวคู่สมรส การไม่ยอมรับ การมีอคติกับสังคมไทย ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ อารมณ์ และเวลา สตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทยจะมีความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้ดีกว่าสตรีจีนที่ไม่ได้สมรสกับคู่สมรสไทย สามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้ลึกซึ้ง ครอบคลุม และเปิดใจมากกว่า ด้านวิธีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ใช้วิธีการเรียนรู้เพื่อเพิ่มความเข้าใจ ได้แก่ การเรียนรู้จากคู่สมรสของตนเอง จากคนอื่นในสังคม จากสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อจีน และสื่อหลักในประเทศไทย มีการสื่อสารและขอความช่วยเหลือจากคู่สมรส การให้คำแนะนำ การรวมกลุ่มกับคนไทย การรวมกลุ่มสตรีจีนที่สมรสกับคู่สมรสไทย อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจต่อวัฒนธรรมไทย มีการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาสำหรับสตรีจีนที่ไม่ได้สมรสกับคู่สมรสไทย ให้ลองสัมผัส เข้าใจ และยอมรับ ความสามารถในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ของสตรีจีนในการสมรสกับคู่สมรสไทย มีประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจและการร่วมมือระหว่างสตรีจีนและสังคมไทย มีผลต่อความสุขและความพึงพอใจในความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา มีผลทำให้สตรีจีนรับรู้คุณค่าและเข้าใจวัฒนธรรมไทยได้ดีขึ้น</p> Heni Qin ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 114 125 การนำเสนอเนื้อหาและการมีส่วนร่วมต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม“Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้”: กรณีศึกษา การประกวดนางงามจักรวาล ประจำปี 2566 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277205 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” 2) เพื่อศึกษาประเภทสื่อและรูปแบบเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้รับสารต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Pooddaimaipjee - พูดได้มั้ยพี่จี้” โดยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมต่อสารของผู้รับสารและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา พบว่า ประเด็นเนื้อหาสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) อิริยาบถแอนโทเนีย โพซิ้ว ช่วงกิจกรรมกองประกวดนางงามจักรวาล 2566 2) คุณจารุชา&nbsp; ปานมุณี (ป้าจี๊) ถ่ายทอดสดสถานการณ์การประกวดนางงามจักรวาล 2566 3) อิริยาบถเพื่อนนางงามต่างชาติในรอบการประกวดนางงามจักรวาล 2566 ด้านการเลือกใช้สื่อเพื่อการนำเสนอสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) ภาพนิ่ง 2) คลิปวิดีโอ 3) ข้อความ ด้านรูปแบบเนื้อหาที่ใช้นำเสนอสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) เนื้อหาเรื่องราวสั้น ๆ 2) คุณจารุชา&nbsp; ปานมุณี (ป้าจี๊) อยู่ร่วมในเนื้อหาสาร 3) เนื้อหาข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของผู้รับสารต่อสาร เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) คลิปวิดีโอแอนโทเนีย โพซิ้ว ร้องเพลงในรายการทัวร์มาลง 2) คลิปวิดีโอคุณจารุชา&nbsp; ปานมุณี (ป้าจี๊) นำเสนอสถานการณ์หลังการประกวดนางงามจักรวาล 2566 3) คลิปวิดีโอแอนโทเนีย โพซิ้ว ร่วมขบวนแห่เฉลิมฉลองตำแหน่งรองอันดับ 1 นางงามจักรวาล 2566 ในประเทศไทย</p> ธวัชชัย ดวงไทย Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 126 138 องค์ประกอบภาพ คุณค่าทางวารสารศาสตร์ และการสื่อความหมาย ที่สะท้อนผ่านภาพข่าว รางวัลอิศรา อมันตกุล ของ “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277207 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล (2) คุณค่าทางวารสารศาสตร์ของภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล (3) การสื่อความหมายขององค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ของ “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” โดยแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหานำวิจัยประกอบด้วย แนวคิดภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ แนวคิดคุณค่าทางวารสารศาสตร์ ศิลปะการถ่ายภาพ แนวคิดการสื่อความหมายด้วยภาพ แนวทางการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2565 เพื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบภาพข่าว คุณค่าทางวารสารศาสตร์ และการสื่อความหมาย&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดองค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ กฎสามส่วน พื้นที่ว่าง พื้นผิว เส้น ความซ้ำ การใช้กรอบภาพ ความสมดุล และ ภาพโครงทึบ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ภาพมีความสวยงามและมีการสื่อความหมายมากยิ่งขึ้น (2) คุณค่าทางวารสารศาสตร์ของภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ ความใกล้ชิด ความเด่น ความผิดปกติ ความสนใจตามปุถุชนวิสัย ความขัดแย้ง ผลกระทบ เพื่อทำให้เกิดความสนใจของผู้อ่าน (3) การสื่อความหมายขององค์ประกอบภาพข่าวรางวัลอิศรา อมันตกุล ได้แก่ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงวัตถุในภาพ ความหมายแฝงของภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพ ความหมายแฝงทางหลักจิตวิทยาของสี อวัจนภาษาผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง การสร้างความเป็นคู่ตรงข้าม</p> ณัฐนนท์ ณ นคร กฤษณ์ ทองเลิศ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 139 150 ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277209 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการศึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ S/2566 กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายซึ่งมีจำนวน 312 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิตมากที่สุด เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเลือกศึกษาต่อวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพราะมีสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการ</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การเปิดรับสื่อของกลุ่มต้วอย่างเกี่ยวกับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์เพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาผ่านเว็บไซต์ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ในระดับมากที่สุด เคยเข้าร่วมกิจกรรม OPEN HOUSE และกิจกรรมแนะแนวการศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มีการใช้ข้อมูลหลักสูตรสำหรับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสำหรับการสื่อสาร คือ เฟซบุ๊กของวิทยาลัย และรูปแบบสื่อที่สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คือ ภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์โฆษณา</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.04 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 3.1) ด้านการสื่อสารโดยการส่งเสริมการขายมีอิทธิพลมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.24 โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า นักศึกษาสามารถผ่อนชำระค่าเทอมได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจการที่สุด 3.2) ด้านการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ที่ค่าเฉลี่ย 4.04 พบว่า วิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตมีการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก อินสตาแกรม หรือ ยูทูบ ที่เข้าใจได้ง่าย สามารถติดตาม และหาข้อมูลได้ 3.3) ด้านการสื่อสารโดยกิจกรรมที่ค่าเฉลี่ย 4.02 พบว่า กิจกรรม Open House ทำให้รู้จักวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ เห็นอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ และสถานที่จริง และ 3.4) ด้านการสื่อสารโดยบุคคลที่ค่าเฉลี่ย 3.85 พบว่า ทีมต้อนรับและทีมรับสมัครนักศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตดูแลและแนะนำนักศึกษาใหม่ ทั้งการสมัครออนไลน์และสมัครด้วยตนเอง</p> ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 151 164 กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้ การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277211 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมของการตลาดเชิงกิจกรรม 2) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมที่ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจ เลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรมของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร <br>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าประเภทสินค้าบริโภค ทั้งเพศชายและเพศหญิง Gen Y ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 28-44 ปี เพศชายและเพศหญิง และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 201 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ด้านการแสดงความก้าวหน้าทางเครือข่ายองค์กร และการให้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุด โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการดำเนินกิจการขององค์กรทำให้กลุ่มลูกค้ามั่นใจในองค์การ รวมถึงองค์การมีการนำเสนอการจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อกลุ่มลูกค้าผ่านสื่อสังคม 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกให้ความสำคัญกับพฤติกรรมภายหลังการใช้บริการมากที่สุด &nbsp;โดยเฉพาะ การตลาดเชิงกิจกรรมทำให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปรู้จักสินค้ามากขึ้น 3) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ที่มีผลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้การตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) ของกลุ่มลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ชุติภา ทรัพย์ทวีสิริกุล พรพรหม ชมงาม Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 165 176 พัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตลาดค้าขายช่องจอม ชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ.2557-2558 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/277213 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) ระหว่างวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการประยุกต์ทดสอบทฤษฎีการสื่อสาร2 จังหวะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทในตลาดช่องจอม สภาพปัญหา และการสื่อสารที่ใช้ผู้นำทางความคิด เพื่อการพัฒนารูปแบบการใช้สื่อแบบมีส่วนร่วมของผู้นำทางความคิดเป็นช่องทางการสื่อสารด้านโรคและภัยสุขภาพ โดยการดำเนินงานมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 ขั้นสำรวจ ระยะที่2 ขั้นพัฒนารูปแบบ ระยะที่3 นำรูปแบบไปใช้ &nbsp;ระยะที่4 ประเมินผลและขยายรูปแบบ ถ้าหากไม่มีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารดังกล่าวจะเกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคจากตลาดตามแนวชายแดนสู่กลุ่มประชาชนคนไทยได้อย่างรวดเร็ว</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบที่สำคัญคือ รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงผ่านผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดค้าขายตามแนวชายแดน มีการสื่อสารจังหวะแรกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่งสารไปยังผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้รับสารด้านโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก วัณโรค โรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วง&nbsp; ไข้หวัดนก โรคเรื้อน และสื่อสารจังหวะที่2 โดย ผู้นำทางความคิดส่งสารต่อไปยังผู้รับสารประชาชนในพื้นที่ตลาดค้าขายช่องจอม ชายแดน ไทย-กัมพูชา ตามการสื่อสาร2 จังหวะ จากการมีส่วนร่วมออกแบบการสื่อสาร โดยการจัดทำสื่อ 2ภาษา ที่เป็นเนื้อหาสั้นๆ เจ้าใจง่ายๆ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ และ แผ่น ซีดีสปอต เป็นสื่ออุปกรณ์เดินให้ความรู้ประชาชน ของผู้นำทางความคิด พบว่าก่อนดำเนินการประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื้องโรค เฉลี่ยร้อยละ48.2 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ54.6 และมีทัศนคติการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่อยู่ในระดับดีมากและดีร้อยละ71.7 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ97.4 และในรอบ1ปีที่ผ่านมาการปฏิบัติตัวในเรื่องโรคและภัยสุขภาพก่อนดำเนินการเฉลี่ยร้อยละ23.0 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ32.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรผลักดันให้ตลาดค้าขายตามแนวชายแดนต่างๆ ได้นำรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยง โดยผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดค้าขายตามแนวชายแดน ที่เป็น 2 ภาษาคือภาษาไทยและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาค้าขาย ป้องกันการแพร่เชื้อโรคในตลาดตามแนวชายแดน สู่ประชาชนคนไทยที่เข้าไปจับจ่ายชื้อของ ลดการเกิดโรคติดต่อที่เป็นปัญหาตามแนวชายแดนต่อไป</p> นิยม ไกรปุย Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ 2024-09-06 2024-09-06 28 3 177 190