วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ (บทความได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ เป็นวารสารวิชาการของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม – สิงหาคมฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม วารสารนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ทุกลักษณะ ตั้งแต่การสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล การสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารมวลชน ไปจนถึงการสื่อสารในระยะไกล ขอบข่ายของบทความครอบคลุมกิจกรรมการสื่อสารทุกรูปแบบ อาทิ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา วารสารศาสตร์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สื่อใหม่ รวมถึงงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม<span class="Apple-converted-space">&nbsp;</span></p> th-TH jca@rsu.ac.th (ผศ.ดร.ชัชญา สกุณา ) jca@rsu.ac.th (นิติ จิตวัฒนาธรรม) Thu, 19 Dec 2024 16:20:25 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมและการเล่าเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280075 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับ LGBTQ ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเล่าเรื่องของ LGBTQ ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) คือซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ 2 ซีซั่น จำนวน 25 ตอน วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยการนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์มีจำนวน 4 ประเด็นดังนี้ 1) การแบ่งชนชั้นทางสังคม 2) การถูกกดทับในสังคมไทย 3)การสร้างมิตรภาพทางสังคม 4)ปัญหาความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเล่าเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในซีรีส์ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ มีจำนวน 3 ประเด็นดังนี้ 1) แก่นเรื่องที่สะท้อนวิถีชีวิตความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) 2) บทสนทนาและดนตรีประกอบ และ 3) ความขัดแย้งในการเล่าเรื่อง</p> วิษณุ มหาสารินันทน์, สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280075 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280082 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี (2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน TikTok อยู่ในระดับสูงมาก (2) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีทัศนคติเชิงบวกมากต่อแอปพลิเคชัน TikTok (3) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok อยู่ในระดับสูง (4) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน (5) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (6) ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประชาชนในจังหวัดจันทบุรีที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (7) ความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อแอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (8) ความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับสูง (9) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ แอปพลิเคชัน TikTok ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง</p> ธนพิสิฐ จรัสแสงจิระโชติ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280082 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้า ผ่านภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280083 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้า ผ่านภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด&nbsp; 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ตราสินค้า ผ่านภาพยนตร์โฆษณา ของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์จากเอกสาร (Document Research) คือ ภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565 จำนวนทั้งสิ้น 7 เรื่อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) คือ บุคคลผู้มีความเกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 2 คน&nbsp; วิเคราะห์ผลและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การสื่อสารภาพลักษณ์ตราสินค้า ผ่านภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาพลักษณ์การออกแบบที่ทันสมัย&nbsp; 2) ความคุ้มค่าของตราสินค้า&nbsp; 3) การยกระดับที่มากกว่าทาวน์โฮม 4)&nbsp; ความอบอุ่นของครอบครัว</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด มี 3 ประเด็น ได้แก่&nbsp; 1) การนำเสนอเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด 2) วิธีการนำเสนอข้อมูลเนื้อหาที่ถูกต้องและตรงไปตรงมา 3) กำหนดบทบาทของพรีเซ็นเตอร์ในภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์</p> รุ้งเพชร จันทร์เพ็ญ, สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280083 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280084 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม โดยทำการศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่อง สัญญะวิทยา ภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์อินเดีย จำนวนทั้งหมด 5 เรื่อง ภาพยนตร์ Gunjan Saxena : The Kargil Girl : ติดปีกสู่ฝัน ,ภาพยนตร์ Skater Girl : สเก็ตติดฝันสู่วันใหม่ ,ภาพยนตร์ The White Tiger : พยัคฆ์ขาวรำพัน ,ภาพยนตร์ Gangubai Kathiawadi : หญิงแกร่งแห่งมุมไบ และภาพยนตร์ 12 Th Fail : คนสอบตก</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ระเบียบการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)&nbsp; ก่อนการวิเคราะห์ข้อมูลภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง ผู้วิจัยได้ทำการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสารและฐานข้อมูลทางออนไลน์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบในการศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สัญญะที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์และภาพยนตร์สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้นำเสนอ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยกำหนด&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่าภาพยนตร์อินเดียที่สะท้อนภาพความไม่เท่าเทียมกันในสังคมมีองค์ประกอบที่น่าสนใจดังนี้ 1)โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์การเชื่อมโยงลำดับเหตุการณ์ของตัวละคร ปัญหา การต่อสู้ สภาพแวดล้อมสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างตรงไปตรงมากและสื่อให้เห็นถึงมุมมองสังคมวัฒนธรรมอินเดียผ่านภาพยนตร์ 2)ตัวละคร แต่ละเรื่องสร้างบทบาทให้ผู้ชมเข้าถึงบทบาทตัวละคร อารมณ์ ความรู้สึก 3) ฉากที่ปรากฏในภาพยนตร์จะแบ่งออกเป็นฉากที่สร้างขึ้น และฉากที่ถ่ายทำจากสถานที่จริง 4) ลักษณะของบทสนทนาที่แตกต่างกันด้วยบุคคิกตัวละคร เพศ อาชีพ อายุ ต่างกัน 5) สัญญะมีความแตกต่างกันแต่การแสดงรหัสสารยังชัดเจน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;6) ภาพสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันในสังคม สภาพแวดล้อม ปัญหาที่ตัวละคร พบเจอมีความแตกต่างกัน</p> สุภัชชา สิทธิธรรม, อานิก ทวิชาชาติ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280084 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์โฆษณาแฝงและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรี ผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280085 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ ทรงอิทธิพลออนไลน์ และ 2) ศึกษากลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการนำเสนอแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่านผู้ทรง อิทธิพลออนไลน์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์การแฝงโฆษณาและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจในการ นำเสนอสินค้าสตรีผ่านรายการของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ โดยศึกษาจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ยูทูบ ย้อนหลัง 1 ปี (มกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561) ของผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ สู่ขวัญ บูลกุล, แอน ทองประสม, โมเม ณภัทรสร และ นุ่น นพลักษณ์ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการแฝงโฆษณาสินค้าสตรีผ่าน ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ ปรากฏการแฝงโฆษณาในรายการ 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) การแฝงสปอตสั้น หรือ VTR สั้นๆ ก่อนเริ่มรายการ โดยใช้วิธีการแฝงโลโก้หรือชื่อสินค้า และการประมวลภาพสั้นๆ ที่แสดงการหยิบจับ สวมใส่ หรือการกล่าวถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของสินค้า (2) การแฝงกราฟิกรูปแบบต่างๆ อาทิ โลโก้ตราสินค้า ชื่อตราสินค้าราคาสินค้าและโปรโมชั่นส่งเสริม การขาย ชื่อสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า คำบรรยายเกี่ยวกับสินค้า (3) การแฝงวัตถุ อาทิ การแฝงสินค้าจริง ณ สถานที่จัดจำหน่าย การแฝงบรรยากาศของสถานที่จัดจำหน่าย การแฝงป้ายโลโก้ตราสินค้า การแฝงป้ายราคาสินค้า ป้ายลดราคาสินค้าต่างๆ ตลอดรายการ (4) การแฝง บุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่พบได้ตลอดรายการ โดยบุคคลหลักในการแฝงโฆษณาคือ ผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ซึ่งเป็นผู้ ดำเนินรายการ และบุคคลรองคือ เจ้าของตราสินค้า แขกรับเชิญที่มีชื่อเสียง ทีมงานผู้ถ่ายทำรายการ และ พนักงานดูแลตราสินค้า (5) การแฝงเนื้อหา ได้แก่ การบอกเล่าประสบการณ์หรือความรู้สึกที่ดีต่อสินค้า อธิบายข้อมูลสินค้าต่างๆ อาทิ คุณสมบัติ คุณลักษณะ คุณประโยชน์ วิธีการใช้งาน ช่องทางการซื้อสินค้า สถานที่จัดจำหน่าย และการแนะนำโปรโมชั่นสินค้า จากรูปแบบการแฝงโฆษณาที่ปรากฏ และ 2) ด้านกลยุทธ์ การโน้มน้าวใจในการนำเสนอสินค้าสตรีผ่านผู้ทรงอิทธิพลออนไลน์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงเหตุผล (Rational Appeal) และกลยุทธ์การดึงดูดใจเชิงอารมณ์ (Emotional Appeal)</p> พิจิตรา เลาเหล็กพลี, ลักษณา คล้ายแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280085 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 Social Communication of Chinese Mainstream Media in Tiktok. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280086 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Purpose of this study is to study the social communication of Chinese mainstream media in Tiktok, and promote the positive interaction with the audience in news information dissemination. Consequently, the audience's satisfaction with mainstream media short video news at the cognitive level, attitude level and behavior level was examined. The research object is the users who have watched the short video news of mainstream media on Internet social networking platforms such as Tiktok. A questionnaire was distributed through the online survey platform "SoJump", and 423 valid responses were obtained for SPSS data analysis. Finally, the research findings emphasize that the audience has high expectations for social news forms and believes that interactive social short video news will become the mainstream form of news in the future. Better utilization of social media may enhance the innovation of mainstream news media, transform their discourse style, and expand their influence in future development.</p> Xiyi Zhang, Somdech Rungsrisawat Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280086 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผ่านกิจกรรมดนตรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280087 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผ่านกิจกรรมดนตรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร (Document Analysis) ได้แก่ สื่อโฆษณาเกี่ยวกับกิจกรรมดนตรี ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่มีการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2565&nbsp; และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาดผ่านกิจกรรมดนตรี ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกิจกรรมดนตรีมี 5 ประเด็น ดังนี้</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) การเลือกเพลงฮิตติดหูและมิวสิกวิดิโอ เพื่อการจดจำง่าย 2) การใช้รูปแบบกิจกรรมหลากหลายและต่อเนื่อง 3) การใช้สีแทนสัญลักษณ์ 4) การสร้างภาพลักษณ์เพื่อสื่อสารมิตรภาพ 5) ความเป็นวัฒนธรรมคนเมือง</p> ภัทรพล ธนาอารยะกุล, สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์, กฤษณ์ ทองเลิศ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280087 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 Emotional Responses in Podcast Sound Design: A Frequency-Based Analysis of the Host's Voice Spectrum https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280088 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Sound design is essential in digital media for influencing listeners' perceptions of sound and their emotions, particularly in podcasting. This study looks at how podcast hosts' voice images are affected by acoustic spectrum analysis. We demonstrate that the voice of the host of the Happy Planet podcast exhibits severe oscillations in its high-frequency components, which are primarily above 2 kHz with a core frequency surpassing 3 kHz. Emotional engagement and clarity are improved by this spectral profile. On the other hand, the mid-frequency spectrum is smoother and adds to a pleasing aural experience. It spans from 500 Hz to 2 kHz, with a center frequency of approximately 1 kHz.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; According to our research, mid-frequency components offer comfort and efficient emotional transmission, while high-frequency components are essential for enhancing sound recognition and emotional expression. Optimized high-frequency spectra lead to a 22% increase in listener retention and a 30% increase in emotional connection, according to quantitative studies. Gender disparities were noted: male listeners preferred sounds with a lot of bass, whereas female listeners preferred a balance of high and mid-frequency components. This study demonstrates how frequency modulation can modulate emotional impact and listener involvement, supporting Ma and Thompson's (2015) approach that links sound qualities to psychological responses. Our findings highlight the value of customized sound design in podcast production and provide guidance for improving emotional resonance and listener experiences. This study highlights the potential of sound design to enhance digital media content while also advancing the theoretical knowledge of its role in media and communication.</p> Jun Ji, Kotchaphan Youngmee, Khachakrit Liamthaisong Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280088 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนลาวเวียง ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280099 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและค้นหาสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวของชุมชนลาวเวียง ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาและสร้างการสื่อสารแบบมี&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนร่วมของชุมชนลาวเวียง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนลาวเวียง จำนวน 20 คน และผู้นำชุมชนในชุมชนลาวเวียง จำนวน 3 คน รวม 23 คน</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะว่าชุมชนลาวเวียงมีนักท่องเที่ยวมากพอสมควร ส่วนใหญ่มาจากบริเวณรอบจังหวัดชัยนาท มาเที่ยวดูวิถีชีวิตของคนในชุมชน 2) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะว่าการพัฒนาและสร้างการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนลาวเวียง ควรพัฒนาโดยเน้นการสื่อสารที่สะท้อน“วิถีชีวิต”ของชาวบ้านในชุมชนให้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยชุมชนแห่งนี้มีวิถีชีวิต เป็นแบบ“วิถีลาวเวียงเนินขาม”ที่มีเอกลักษณ์คือ ความเป็นคนเชื้อสายลาวจากเวียงจันทน์ที่มีน้ำใจงามกับผู้อื่น ทั้งนี้ควรมีส่วนร่วมกันสื่อสารโดยเน้นไปที่“ภูมิปัญญาหลัก”ของชาวบ้านในชุมชนคือการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมลาวเวียงด้วยการที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันสื่อสารในทุกรูปแบบเพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตแบบชาวลาวเวียงเนินขามที่มีน้ำใจ ใช้ภาษาลาวเวียง ขายความเป็นครอบครัว ความเป็นวิถีชุมชน อากาศบริสุทธิ์ นักท่องเที่ยวชอบสูดอากาศธรรมชาติ รวมทั้งร่วมกันสื่อสารภูมิปัญญาด้านผ้าทอลาวเวียงเนินขามที่มีความงดงามไม่เหมือนใคร</p> วิโรจน์ ศรีหิรัญ, ประพจน์ ณ บางช้าง, สุวิมล อาภาผล, สิริพร มีนะนันทน์ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280099 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Study of Millennial Parents' Perspectives and Knowledge on the Importance of Child Car Seats and Purchasing Decisions https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280113 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This qualitative study examined the perspectives of millennial parents in Thailand on the importance of child car seats and their impact on child safety and injury prevention. The research addressed a gap in the existing literature by exploring the factors influencing these parents' decision-making processes when purchasing child car seats. Utilizing the Knowledge, Attitude, and Practice (KAP) model, the Marketing Mix (7Ps), and the Consumer Decision-making Process frameworks, the study provides a comprehensive analysis of parental behaviors and attitudes toward car seat usage.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 18 millennial parents, aged 28 to 43, each with at least one child under 6 years old, were interviewed in-depth. The findings revealed that these parents had moderate knowledge and strong positive attitudes toward the necessity of child car seats, especially for newborns. However, practical challenges such as children's resistance and the perceived convenience of short trips often lead to inconsistent adherence to safety protocols. Among the brands, Chicco emerged as the most preferred.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The study also highlighted distinct purchasing behaviors among millennial parents. Safety and quality are prioritized, with significant investments typically made in the first car seat, while subsequent purchases were approached with greater budget-consciousness. Mothers were particularly influenced by promotional offers like discounts and free gifts, whereas fathers focused on product features and functionality, relying heavily on prior knowledge and research. This indicated a collaborative yet distinct approach in the decision-making process, where both parents played crucial roles.</p> Chonnikarn Thienthaworn Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280113 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารเพื่อคัดค้านและสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280115 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบ ช่องทาง และกลยุทธ์ของการสื่อสารเพื่อคัดค้านและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ที่ใช้การวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) จากข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายจำนวน 4 คน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation)&nbsp; และรวบรวมจากเอกสาร ที่ครอบคลุมการสื่อสารออนไลน์และกิจกรรมการสื่อสารทุกประเภท</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารเพื่อคัดค้านโครงการมีขั้นตอนและรูปแบบการสื่อสารที่ยกระดับความรับรู้ของสาธารณชนและยกระดับความแข็งกร้าวของการแสดงออก ดังนี้ 1) การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Friends of the Rivers” 2) การจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน 3) การสื่อสารตามแนวทางวิชาการ 4) การสื่อสารชุมชน 5) การสื่อสารวัฒนธรรม 6) การรณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนผ่าน change.org และ 7) การเผยแพร่ข่าวสารการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ส่วนการสื่อสารเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใช้กลยุทธ์การสื่อสารในลักษณะตั้งรับและตอบโต้การโจมตีของฝ่ายคัดค้าน ดังนี้ 1) การแถลงข่าว ความคืบหน้าของโครงการ 2) การให้สัมภาษณ์ ของโฆษกโครงการเพื่อชี้แจง 3) การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Chao Phraya For All” และ 4) การนำเสนอคลิปวิดีโอในรูปแบบสารคดี</p> ศรัชญ์ศรณ์ ศรประสิทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280115 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลิ่น : อำนาจแห่งความหมายและจินตนาการ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280116 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้ เกิดจากการตั้งคำถามว่า “กลิ่น สร้างอำนาจแห่งความหมาย และสร้างจินตนาการได้อย่างไร” จากนั้นจึงได้เกิดการค้นหาคำตอบ บทความแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยส่วนแรก เป็นการกล่าวถึงกลิ่นและความรู้สึกทางประสาทสัมผัส สมองมนุษย์ที่ทำหน้าที่รับกลิ่นและวิเคราะห์กลิ่น สามารถดมกลิ่น และการจำแนกกลิ่นที่ละเอียดละอ่อนและซับซ้อน สามารถรับรู้และแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ สามารถจดจำหรือระลึกถึงกลิ่นต่าง ๆ และความทรงจำที่ต่อกลิ่นนั้นได้ ส่วนที่ 2 กลิ่นและการสื่อความหมาย กลิ่นจะมีความหมายเมื่อถูกสร้างสรรค์ กลิ่นจะเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบประสาทและสมอง เกิดการรับรู้เป็นภาพจินตนาการ อาจเป็นเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือความทรงจำ หรือการเกิดจินตนาการไปกับความรู้สึกนึกคิดที่ การสร้างสรรค์กลิ่นจึงถือเป็นการมุ่งสื่อสารความหมาย หรือความรู้สึกไปสู่ผู้รับ และส่วนที่ 3 กลิ่นกับการสร้างประสบการณ์การรับรู้ของแบรนด์ เป็นการสร้างแบรนด์หรือการตลาดของแบรนด์ ผ่านทางสัมผัสทั้ง 5 ทั้งการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส เมื่อผู้บริโภคได้สัมผัสนั้นจะมีการสร้างการนึกถึงหรือมีความผูกผันกับสิ่งที่เคยได้สัมผัสมาทันที มีการนำเรื่องกลิ่นหอมเข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและบริการ โดยส่วนใหญ่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นมิตร หรือมีความรู้สึกประทับใจในการใช้บริการ อาจทำให้เกิดการรับรู้จดจำ หรือเชื่อมโยงไปสู่เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ไปพร้อมกับการรับรู้ข้อมูลสินค้า หรือการรับบริการ จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคเกิดการรับรู้จดจำแบรนด์ บทความนี้เสนอว่า กลิ่นมีอำนาจทางความหมาย และจินตนาการ โลกแห่งกลิ่นจึงสมควรได้รับความสนใจและการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ เพื่อให้เข้าใจคุณค่าของกลิ่นมากขึ้น</p> วรวุฒิ อ่อนน่วม Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280116 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาตัวชี้วัดองค์ประกอบตราสินค้าบุคคลเสมือนบนสื่อสังคมออนไลน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280118 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดองค์ประกอบที่นำไปสู่คุณลักษณะของความมีประสิทธิภาพในภาพรวมของตราสินค้าบุคคลเสมือนบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกคือการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์เป็นกรอบการพิจารณาตัวแปรชี้วัด จัดกลุ่ม และนำไปสร้างเป็นแบบสอบถามสำหรับการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายในระยะที่สอง เพื่อพัฒนาตัวแปรชี้วัดและนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในขั้นตอนสุดท้าย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเจเนอเรชั่น Z จำนวน 352 คน ที่มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เกี่ยวข้องและใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ ผลการวิจัยพบว่า จาก 3 กลุ่มโดเมน 23 ตัวแปรชี้วัด กลุ่มโดเมนตัวชี้วัดที่มีความสามารถในการทำนายประสิทธิภาพตราสินค้าบุคคลเสมือนบนสื่อสังคมออนไลน์ได้ดีที่สุด คือกลุ่มโดเมนตัวชี้วัดที่แสดงคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพขององค์ประกอบตราสินค้า ที่ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด รองลงมาคือกลุ่มโดเมนตัวชี้วัดที่แสดงคุณลักษณะที่มีประสิทธิภาพของตราสินค้าและตราสินค้าบุคคล ที่ประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด และกลุ่มโดเมนตัวชี้วัดที่มีความสามารถในการทำนายประสิทธิภาพได้ดีน้อยที่สุด คือกลุ่มตัวชี้วัดที่แสดงคุณลักษณะความมีประสิทธิภาพของตัวละครเสมือน ที่มี 6 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมผลจากค่าน้ำหนักปัจจัยมาตรฐานของตัวแปรชี้วัดในแต่ละโดเมนแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบภายนอกที่สามารถมองเห็นได้นั้นมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น หน้าตา รูปลักษณ์ภายนอก และการแต่งกาย โดยใช้งานองค์ประกอบด้านการออกแบบต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ง่ายและแสดงออกถึงตัวตนได้อย่างชัดเจนมาช่วยในการสื่อสาร ในด้านลักษณะการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสาร ถึงแม้ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตัวตนที่ถูกกำหนดไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ลักษณะ หรือกระทั่งอารมณ์ความรู้สึกเหมือนมนุษย์ และยังไม่จำเป็นต้องมีความสมจริงอีกด้วย</p> ชุตินันท์ แก้วกาธร, พัชนี เชยจรรยา Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280118 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280120 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง 2) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 3 ) เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เพศหญิง Gen Z ที่มีอายุ 18-26 ปี และอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดในรูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปาก โดยเฉพาะจากข้อมูลคำวิจารณ์ของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิงจากพฤติกรรมภายหลังการซื้อ โดยเฉพาะจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซ้ำหลังพบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าใช้แล้วไม่เห็นผล 3) กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> ชัยสิทธิ์ การะเกตุ, พรพรหม ชมงาม Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280120 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการการสื่อสารในการรณรงค์การจัดการขยะของเทศบาลตำบลในจังหวัดพัทลุง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280121 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทศบาลตำบลที่ได้รับรางวัลด้านการจัดการขยะในจังหวัดพัทลุง ในประเด็นการรณรงค์การจัดการการสื่อสารเกี่ยวกับ 1) แผน นโยบายในการรณรงค์ทางสื่อสาร 2) วิธีการรณรงค์การสื่อสาร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก&nbsp; กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นกลุ่มที่มีบทบาทรับผิดชอบในการจัดการขยะของเทศบาลตำบล ได้แก่ นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล&nbsp; นักวิชาการที่รับผิดชอบสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม&nbsp; เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน หัวหน้าฝ่ายอำนวยการและพนักงาน จำนวนรวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุกเทศบาลตำบลมีแผน นโยบาย ในการรณรงค์การจัดการขยะ และแตกต่างกันตามแนวคิดของนายกเทศมนตรี แต่ขาดแผนการจัดการการสื่อสารในรณรงค์การจัดการขยะที่ชัดเจน 2) การรณรงค์การสื่อสารในปัจจุบันเป็นการจัดโครงสร้างและการเผยแพร่กิจกรรมการสื่อสารในสำนักปลัดเทศบาล ด้วยวิธีโน้มน้าวใจด้วยการมีสวัสดิการให้กับสมาชิกที่ฝากขยะกับธนาคารขยะ ครัวเรือนที่แยกขยะจะได้ราคาแพงและไม่เสียค่าเก็บขยะ มีของแจกเวลาทำกิจกรรม ขยะอันตรายแลกไข่ และสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำความเข้าใจ รับฟังปัญหา และจัดอบรมให้ความรู้ประเภท วิธีการจัดการ ทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะ เปิดเพลงประจำของเทศบาลเวลาเข้าไปเก็บขยะ วิธีการเคาะประตูบ้าน และให้เด็กเยาวชนชักหุ่นเล่าเรื่องการจัดการขยะ 3) ปัจจัยความสำเร็จเกิดจากความต่อเนื่องในการทำงานในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ มีภาคีเครือข่าย และการเลือกกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน 4) ปัญหาของทุกเทศบาล คือ การคัดแยกขยะ อุปสรรคคือ กลุ่มต่อต้านซึ่งมีการโต้แย้งว่าการจัดการขยะเป็นของเทศบาล ไม่ใช่หน้าที่ของชาวบ้าน ทั้งนี้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการรณรงค์การจัดการขยะของเทศบาล ได้แก่ (1) ต้องทำแผนและงบประมาณในการจัดทำแผนและดำเนินการรณรงค์การสื่อสาร (2) เจ้าหน้าที่ต้องสื่อสารด้วยการลงพื้นที่กระตุ้นชุมชนบ่อย ๆ&nbsp; (3) ต้องสื่อสารโดยหากลุ่มแกนนำในชุมชนให้ได้ (4) สร้างธรรมนูญชุมชนและดำเนินการจัดการการสื่อสารด้วยการณรงค์การสื่อสารเอง (5) ต้องสื่อสารเพื่อการปรับทัศนคติประชาชน ให้คนเห็นความสำคัญของการจัดการขยะ</p> พนม อินทร์ศรี, ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280121 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การดัดแปลงนวนิยายวัยรุ่น เป็นภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280123 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง “การดัดแปลงนวนิยายวัยรุ่น เป็นภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยสิ่งที่นำมาศึกษาได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Sugar Café เปิดตำรับรักนายหน้าหวาน ซึ่งออกอากาศทาง MONOMAX ในปี พ.ศ. 2561 และภาพยนตร์เรื่อง Touchdown Kiss วัยร้ายคว้าใจพิชิตฝัน ซึ่งออกอากาศทาง MONOMAX เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2562 สำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1 เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องในสื่อนวนิยาย และสื่อภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปลงนวนิยายไปสู่ภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ ผลของการศึกษาวิจัยพบว่า การดัดแปลง<br>นวนิยายทั้งสองเรื่องมีกลวิธีที่สำคัญดังนี้ คือ มีการปรับเปลี่ยนตัวเรื่อง มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ<br>นวนิยาย และมีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเรื่อง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปลงนวนิยายทั้งสองเรื่องสู่ภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านยุคสมัย ปัจจัยด้านเนื้อเรื่อง ปัจจัยด้านความยาวสื่อ และปัจจัยด้านผู้ผลิตที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต</p> พรทิพย์ ธิกำพร, ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค Copyright (c) 2025 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ http://creativecommuns.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/280123 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700