@article{อิงไธสง_2020, title={หนังโป๊: สื่อไร้สาระที่มีสาระ}, volume={14}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/246609}, abstractNote={<p>                บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นว่า ในพื้นที่หนังโป๊ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยม (popular culture) สามารถศึกษาและ วิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับผลผลิตทางวัฒนธรรมประชานิยมในรูปแบบอื่น บทความ นี้จะนำเสนอสถานภาพและทบทวนข้อถกเถียงในแง่มุมของการศึกษาหนังโป๊ ซึ่งมิใช่เป็นการศึกษาในลักษณะบทความวิจัย กล่าวคือ บทความนี้จะมุ่งเน้น ไปที่การวิเคราะห์หนังโป๊โดยอาศัยมุมมองเชิงวิพากษ์ (critical approaches) เป็นหลัก อันได้แก่ มุมมองด้านสตรีนิยม วัฒนธรรมศึกษา เพศสถานะศึกษา เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ และมุมมองที่แตกต่าง ไปจากยุคการศึกษาหนังโป๊ในมิติด้านโครงสร้างหน้าที่ของสื่อ (functionalism) เช่น การศึกษาประเด็นเรื่องการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากหนังโป๊ การ ศึกษาทางจิตวิทยาแบบผลกระทบจากการใช้หนังโป๊ (impact theory) เช่น การ ตั้งคำถามว่า สื่อโป๊ทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ หรือเป็นผลบวกด้านจิตบำบัด และแบบแนวคิดบรรทัดฐาน (normative theory) เช่น การพิจารณาสื่อโป๊ว่า ทำให้เกิดความเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมที่กำหนดเรื่องเพศวิถีของ มนุษย์เอาไว้ การวิเคราะห์องค์ประกอบหนังโป๊ (elements of porn) เป็นการ วิเคราะห์ในแนวทางเดียวกันกับการวิเคราะห์ภาพยนตร์ โดยใช้กรอบทฤษฎีเชิง วิพากษ์เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า รหัสความหมาย ในแต่ละองค์ประกอบที่อยู่ในหนังโป๊แสดงให้เห็นถึงการเป็นพื้นที่ต่อสู้ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมประชานิยมในรูปแบบอื่น</p>}, number={1}, journal={วารสารศาสตร์}, author={อิงไธสง ปิยะพงษ์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={44} }