https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/issue/feed วารสารศาสตร์ 2024-05-01T08:27:27+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.สมสุข หินวิมาน acfb2@hotmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารศาสตร์</strong> เป็นวารสารวิชาการรายสี่เดือน ด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการสื่อสาร</p> <p>อันได้แก่ สาขาสื่อสารมวลชน สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาสื่อสารองค์กร และสาขาสื่อสารศึกษาในมุมมองต่างๆ</p> <p>ทั้งนี้ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในเล่มได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างสถาบันจำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน</p> <p>วางจำหน่ายปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับเดือน มกราคม–เมษายน, ฉบับเดือน พฤษภาคม–สิงหาคม และฉบับเดือน กันยายน–ธันวาคม</p> <p><strong>การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p><strong> </strong><strong>คุณลักษณะของบทความ</strong></p> <ul> <li class="show">เป็นบทความที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่</li> </ul> <ol> <li class="show">1. บทความวิเคราะห์วิจัย (Research Article)</li> <li class="show">2. เอกสารกรณีศึกษา (Case Material)</li> <li class="show">3. บทความสำรวจวิชา (Survey Article)</li> <li class="show">4. บทความวิจารณ์ (Review Article)</li> <li class="show">5. บทความทางวิชาการ (Theoretical Article)</li> <li class="show">6. รายงานสำรวจ (Survey Report)</li> </ol> <p>ทั้งนี้ ไม่รวมงานวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความ บทความประเภทงานแปล และเอกสารประกอบคำบรรยาย</p> <ul> <li class="show">ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักพิมพ์อื่น</li> <li class="show">หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน</li> <li class="show">ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ</li> <li class="show">ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ</li> </ul> <p> ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>การส่งต้นฉบับเนื้อหา</strong></p> <p>o เนื้อหาจัดพิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 15 pt</p> <p>o ความยาวประมาณ 15-20 หน้า ขนาด A4 พร้อมจัดเรียงภาพประกอบสีขาวดำลงในไฟล์ Microsoft Word</p> <p>o จัดต้นฉบับเป็นเอกสารเวิร์ดส (นามสกุล .doc, .docx, .rtf, txt) ไม่รับเอกสาร .pdf</p> <p>o ส่งพร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน</p> <p>o ตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด</p> <p>o ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ภาพประกอบ (เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ)</p> <p> ให้ครบถ้วนลงแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีทางไปรษณีย์หรืออีเมล์มายังกองบรรณาธิการ หรือ ส่งผ่านระบบออนไลน์ ทาง https://tci-thaijo.org/index.php/jcmag</p> <p><strong>การส่งไฟล์ภาพประกอบ </strong></p> <p>o ส่งไฟล์คุณภาพดีแยกต่างหากจากเนื้อหา</p> <p>o ความละเอียดไฟล์ภาพอย่างต่ำ 300 dpi</p> <p>o ขนาดของไฟล์ภาพไม่ควรเกิน 1M</p> <p>o นามสกุลไฟล .tif หรือ .jpg</p> <p>o ปรับโหมดไฟล์ภาพเป็นขาวดำ </p> <p> </p> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p>คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121</p> <p>โทรศัพท์ 02-696-6267 อีเมล์ <a href="mailto:jaruneejc@gmail.com">jaruneejc@gmail.com</a></p> <p> </p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273403 “แนวรบเชิงสัญญะ เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง” 2024-04-30T07:51:29+07:00 สมสุข หินวิมาน jaruneejc@gmail.com 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273409 พื้นที่แห่งความปรารถนาของชายรักชายในนวนิยายเรื่อง ปรมาจารย์ลัทธิมาร 2024-04-30T10:12:28+07:00 เมธาวี สิมมา jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การผลิตสร้างพื้นที่แห่งความปรารถนาของตัวละครชายรักชายในนวนิยายเรื่อง <em>ปรมาจารย์ลัทธิมาร </em>จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ลูกผู้ชายผลิตสร้างความเป็นชายรักต่างเพศไปพร้อมกับความเป็นชายรักเพศเดียวกัน การรวมกลุ่มของสังคมชายล้วนและการช่วยเหลือเกื้อกูลที่มาพร้อมมิตรภาพลูกผู้ชาย เปิดโอกาสให้ตัวละครแสดงออกถึงความปรารถนาทางเพศระหว่างชายกับชาย และนำมาสู่การสร้างสายสัมพันธ์ลึกซึ้งแบบรักเพศเดียวกัน แม้ว่ากลุ่มสังคมชายล้วนจะปฏิบัติต่อกันด้วยกฎลูกผู้ชาย และมีแนวทางสอดคล้องกับค่านิยมปิตาธิปไตยที่ยึดถือขนบรักต่างเพศเป็นสำคัญ แต่ตัวละครชายรักชายเรียนรู้ที่จะประกอบสร้างพื้นที่แห่งความปรารถนามาต่อรองกับบรรทัดฐานทางเพศที่จำกัดคับแคบ โดยอาศัยแนวเรื่องความเป็นนวนิยายแฟนตาซีเทพเซียน-กำลังภายใน เพื่อเรียกร้องให้มองเห็นและยอมรับความเป็นปัจเจกชนที่แตกต่าง&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong><u>&nbsp;</u></strong></p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273411 ความพิการกับความปกติธรรมดา: การต่อสู้เชิงความหมายความพิการของ คนพิการในยูทูบ 2024-04-30T10:25:46+07:00 อารดา ครุจิต jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง <em>การเล่าเรื่องชีวิตประจำวันของคนพิการในสื่อออนไลน์กับการต่อสู้เชิงความหมายของความพิการ</em> เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องชีวิตประจำวันของคนพิการในสื่อออนไลน์กับการสร้างความหมายความธรรมดาเกี่ยวกับความพิการ โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทจากคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ ยูทูบ (YouTube) ของคนพิการต่างประเทศจำนวน 25 ตัวอย่าง และคนพิการไทยจำนวน 23 ตัวอย่าง</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยใช้แนวคิดปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน (practice of everyday life) ของ Michel de Certeau ที่เห็นว่า ชีวิตประจำวันเป็นสนามต่อสู้ของปัจเจกผู้กระทำการกับโครงสร้างวิธีคิดของสังคม และแนวคิดเกี่ยวกับความพิการ ในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมความพิการและวาทกรรมเกี่ยวกับความพิการในสังคม รวมถึงแนวคิดการเล่าเรื่องตามองค์ประกอบการเล่าเรื่องในสื่อ เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาวิธีการสื่อสารของคนพิการเพื่อต่อสู้ทางความหมายความพิการ และแนวคิดเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เพื่ออธิบายการต่อสู้เชิงขับเคลื่อนทางสังคมของคนพิการ แนวคิดสื่อสังคมออนไลน์เพื่ออธิบายบทบาทของสื่อยูทูบ รวมทั้งแนวคิดการสร้างความหมายทางสังคม เพื่อเป็นกรอบในการทำความเข้าใจ “ความเป็นจริง” ที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาในโลกแห่งความหมาย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การเล่าเรื่องชีวิตประจำวันของคนพิการในสื่อออนไลน์ มีการสร้างความหมาย “ความธรรมดา” โดยใช้วิธีการสื่อสารผ่านชีวิตประจำวัน ได้แก่ กิจกรรมยามว่าง กิจวัตร และกิจกรรมด้านความสัมพันธ์ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก พ่อ-ลูก และคู่รัก และใช้มุมมองในการเล่าเรื่องแบบบุรุษที่หนึ่งที่ขจัดเงื่อนไขความพิการ ได้แก่ ผู้หญิง คู่รัก คนที่นิยามความพิการด้วยตนเอง คนที่พึ่งพาตนเองได้ คนที่ทำสิ่งใดๆ ได้ และคนที่แบ่งปันความสุข นอกจากนั้น กลวิธีการสื่อสารคือการแสดงจุดเน้นกับสิ่งที่เป็นคุณค่าในชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ อิสรภาพทางร่างกาย ความแตกต่างหลากหลาย การได้รับประสบการณ์ การก้าวข้ามอุปสรรค และความสุข โดยกลวิธีการสื่อสารเน้นการปรากฏตัวของคนพิการเป็นผู้ดำเนินเรื่องหลัก และการแสดงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องไปกับลักษณะของเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ยูทูบ รวมถึงโครงเรื่องมีการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อน และขอบเขตเป็นเรื่องระดับชีวิตประจำวันของบุคคล อีกทั้งกลวิธีการสื่อสารประเด็นความขัดแย้งกับวิธีคิดของสังคมที่มีต่อคนพิการทั้งโดยตรงและแบบแฝง อันได้แก่ ความพิการไม่ใช่เงื่อนไขต้องถูกกำหนดนิยามไว้แบบตายตัว ไม่ใช่เงื่อนไขแห่งความผิดปกติและความบกพร่อง ไม่ใช่เงื่อนไขต่อความสามารถหรือความประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ใช่เงื่อนไขต่อการขาดอิสรภาพทางร่างกาย ไม่ใช่เงื่อนไขต่อความงาม สิทธิในการตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรของสตรี และไม่ใช่เงื่อนไขต่อการขาดความสุขในชีวิต และวิธีการสื่อสารด้านภาพและเสียง เช่น ใช้การถ่ายทำและการตัดต่อภาพเสียงที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และไม่ค่อยปรุงแต่งเติมเสริมด้วยเทคนิคประดิษฐ์ด้านภาพและเสียงมากนัก ช่วยสื่อถึงความธรรมดาในชีวิตประจำวันได้ค่อนข้างชัดเจนและตรงไปตรงมา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ การเล่าเรื่องชีวิตประจำวันของคนพิการในสื่อออนไลน์คือการต่อสู้เชิงความหมายของความพิการผ่านการสื่อสารบนยูทูบ เป็นพื้นที่ที่พวกเขาเป็นผู้กระทำการสื่อสารได้ด้วยตนเอง โดยเน้นความสำคัญในการต่อสู้ทางความหมายความธรรมดาเกี่ยวกับความพิการคือการสร้างการรับรู้ถึงความเท่ากัน (perceived equality) ในโลกทางความหมายในพื้นที่สื่อ ผ่านความปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันของคนพิการ การสื่อสารเรื่อง “ค่าของความพิการ” ซึ่งกำหนดค่าของความพิการที่แตกต่างจาก “สิ่งที่ไม่ดี ความบกพร่อง อุปสรรค ความผิดปกติ” ให้กลายเป็น “สิ่งที่เป็นปกติธรรมดาของมนุษย์” เป็นการชู “คุณค่าความเป็นมนุษย์” ที่ต่างมีและปรารถนาในเรื่องนี้เช่นเดียวกันทุกคน</p> <p>&nbsp;</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273413 ช่างภาพสารคดีกับการชุมนุมทางการเมือง: การสร้างความหมายผ่านการถ่ายภาพ และการออกแบบหนังสือ กรณีหนังสือภาพ End in This Generation 2024-04-30T10:32:23+07:00 กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หนังสือภาพถ่าย <em>End in This Generation</em> เป็นหนังสือภาพถ่ายสารคดีที่บันทึกเรื่องราวการชุมนุมทางการเมืองบนท้องถนนของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม ท้าทายความเชื่อ ทัศนคติ วัฒนธรรม หรือแม้แต่สัญลักษณ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของคนรุ่นเก่าระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2564 หนังสือภาพถ่ายเล่มนี้มีกระบวนการทำงานที่ส่งผลต่อการสร้างความหมายของการชุมนุมทางการเมืองสองขั้น ขั้นแรกคือ กระบวนการถ่ายภาพในฐานะช่างภาพสารคดีที่เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์การชุมนุมย่อยครั้งต่างๆ และขั้นตอนที่สองคือ การคัดเลือกภาพถ่ายเพื่อร้อยเรียงเนื้อหาและออกแบบหนังสือภาพ ที่เป็นการหาเส้นเรื่องการนำเสนอหรือ “ความหมายร่วม” ของเหตุการณ์ย่อยทั้งหมด เพื่อกำหนดแก่นของหนังสือภาพ โดยทั้งสองขั้นตอนจะต้องอาศัยแนวคิดจริยธรรมการถ่ายภาพเข้ามาเป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำงาน เนื่องจากการถ่ายภาพในเหตุการณ์การชุมนุมเช่นนี้อาจเกิดผลกระทบต่อบุคคลในภาพและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และผลกระทบทางกฎหมายที่อาจตามมาด้วย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการทำงานพบว่า ในการบันทึกภาพ ช่างภาพจะมองหาความหมายผ่านภาพสองรูปแบบ คือ ความหมายตามเหตุการณ์ที่ปรากฏ ซึ่งเป็นความหมายลำดับแรก บอกเล่าความเป็นไปของเหตุการณ์ จากนั้นจึงมองหาความหมายเชิงสัญลักษณ์ ที่จะมีความลึกมากขึ้น สะท้อนความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ร่วมชุมนุม ตลอดจนการตีความเหตุการณ์ของช่างภาพ ซึ่งความหมายในลำดับที่สองนี้จะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจและรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์ได้ชัดเจนขึ้น จากนั้นการคัดเลือกภาพและการร้อยเรียงภาพจะสร้างการกำหนดความหมายขั้นที่สาม คือ ความหมายร่วมของทุกเหตุการณ์ ซึ่งความหมายร่วมที่เกิดขึ้นนี้จะย้อนกลับไปส่งผลการทำงานถ่ายภาพ ทำให้ช่างภาพเริ่มมองหาเหตุการณ์หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สะท้อนความหมายร่วมในหนังสือภาพ หากพบความหมายร่วมแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น การนำเสนอภาพต้องให้ความเป็นธรรมกับข้อเท็จจริงและบุคคลในภาพให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางข้อจำกัดการทำงานในพื้นที่ขัดแย้ง ดังนั้น การถ่ายภาพและการเลือกใช้ภาพจึงต้องพิจารณาทบทวนอย่างรอบคอบโดยใช้กรอบจริยธรรม เพราะบางสถานการณ์มีความรุนแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ หรืออาจมีผลกระทบทางกฎหมาย กรอบจริยธรรมที่ใช้นั้นอาจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เพราะเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อนอย่างมากจนไม่สามารถใช้กรอบจริยธรรมกรอบใดกรอบหนึ่งอย่างตายตัวได้</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273414 การพัฒนาการรายงานข่าวเชิงสืบสวนเพื่อสาธารณะของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส 2024-04-30T10:37:59+07:00 วิไลวรรณ จงวิไลเกษม jaruneejc@gmail.com ชาติณรงค์ วิสุตกุล jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความชิ้นนี้นำเสนอโมเดลการทำงานทีมข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และโมเดลข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่เป็นผลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยเครื่องมือวิจัยการวิเคราะห์เนื้อหารายการ <em>เปิดปม</em> 12 ตอน และข่าว <em>THE EXIT</em> 50 ตอน การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจำนวน 18 คน&nbsp; และการถอดบทเรียนการทดลองใช้โมเดลข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะเป็นเวลา 3 เดือน ภายใต้แนวคิดการรายงานข่าวเชิงสืบสวน แนวความคิดว่าด้วยบทบาทสื่อและทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT analysis จนนำมาสู่โมเดลการทำงานทีมข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โมเดลข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ Data Investigative Journalist: ทิศทางการทำงานทีมข่าวสืบสวน สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โมเดลการทำงานทีมข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีกระบวนการ 4 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอน (1) ผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมาย: ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ข่าวสืบสวนไทยพีบีเอสใครดู และเขานำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ขั้นตอน (2) นิยามและขอบเขตข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะ ขั้นตอน (3) กำหนดวาระการขับเคลื่อนข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะ ขั้นตอน (4) กระบวนการข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยกระบวนการทั้ง 4 ขั้นอยู่ภายใต้การบริหารจัดการทีมข่าวสืบสวนที่ทำเป็นกระบวนการ ครบวงจรในการผลิตเนื้อหาร่วมกับพันธมิตรทั้งในและนอกองค์กร</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โมเดลข่าวสืบสวนเพื่อสาธารณะสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นการนำเสนอแบบข้ามสื่อ โดยนำเสนอประเด็นข่าวเดียวกันบนสื่อออนไลน์ภายใต้แบรนด์ THE EXIT ONLINE รูปแบบสารคดีเชิงข่าวยาว สารคดีสั้น TikTok และสัมภาษณ์ EXCLUSIVE และนำเสนอบนสื่อโทรทัศน์ภายใต้แบรนด์ THE EXIT ONLINE</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273418 การพัฒนาตราสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันเทศแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2024-04-30T10:53:00+07:00 อภิเษก บานแย้ม jaruneejc@gmail.com ณัฐวิภา สินสุวรรณ jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตราสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันเทศแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันเทศแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การพัฒนาตราสินค้าเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันเทศจำนวน 5 คน ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและด้านการตลาด จำนวน 2 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในขณะที่การศึกษาความพึงพอใจใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภค 100 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบอิงความสะดวก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่หนึ่ง การศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนและการออกแบบตราสินค้า ขั้นตอนที่สอง การวิเคราะห์ความต้องการพัฒนาตราสินค้าของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ขั้นตอนที่สาม การออกแบบตราสินค้าตามแนวทางองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ ขั้นตอนที่สี่ การประเมินตราสินค้าโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ด้านการตลาด และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชุมชน และขั้นตอนที่ห้า การประเมินตราสินค้าจากกลุ่มผู้บริโภค (2) ความพึงพอใจต่อตราสินค้า พบว่า กลุ่มผู้บริโภคพึงพอใจตราสินค้าแบบใหม่มากกว่าแบบดั้งเดิมในทุกด้าน โดยในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (= 4.37, S.D. = 0.71) เมื่อเปรียบเทียบกับตราสินค้าแบบดั้งเดิมยังพบว่า กลุ่มผู้บริโภคระบุว่า ตราสินค้าแบบใหม่เห็นแล้วชื่นชอบ และทำให้จดจำได้มากกว่าแบบดั้งเดิม นอกจากนั้น ตราสินค้าแบบใหม่ยังทำให้อยากซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปมากกว่าแบบดั้งเดิมด้วย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น การพัฒนาตราสินค้าแบบมีส่วนร่วมจึงควรให้ความสำคัญกับ (1) การผสานการมีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการตลาด (2) การนำองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ ได้แก่ รูปแบบภาพ รูปแบบตัวอักษร และรูปแบบสี มาใช้ในการพัฒนาตราสินค้า และ (3) การประเมินตราสินค้าจากมุมมองผู้บริโภคก่อนนำตราสินค้าไปใช้งานจริง</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273422 “แม่ญิงล้านนา” ในสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า): ความสัมพันธ์ของอำนาจที่ลื่นไหลไปมา ระหว่างพื้นที่การสื่อสารพิเศษในโลกศักดิ์สิทธิ์และโลกสามัญ 2024-04-30T11:30:55+07:00 ทิพย์พธู กฤษสุนทร jaruneejc@gmail.com ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอำนาจผู้หญิงล้านนาที่ลื่นไหลไปมาระหว่างพื้นที่การสื่อสารพิเศษในโลกพิธีกรรมกับโลกสามัญจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตามกรอบแนวคิดการวิเคราะห์สื่อพิธีกรรมพื้นบ้านและอำนาจที่เกิดจากตัวสื่อ ทฤษฎีสตรีนิยมเชิงวิพากษ์ แนวคิดโครงสร้างสังคม vs. ผู้กระทำและการปฏิบัติการ แนวคิด habitus แนวคิด field และแนวคิดทุน ของ Pierre Bourdieu โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารบันทึก การสังเกตการณ์ภาคสนาม การสัมภาษณ์เจาะลึก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ของอำนาจผู้หญิงล้านนาลื่นไหลไปมาระหว่างพื้นที่การสื่อสารพิเศษในโลกพิธีกรรมกับโลกสามัญ ทั้งในครัวเรือน ภายในชุมชน และภายนอกชุมชน โดยในยุคผู้หญิงเป็นใหญ่ (ก่อนปี พ.ศ. 1984) ผู้หญิงใช้การสวมรอยอำนาจจากความคุ้มครองของผีปู่ย่า เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับบทบาทการเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจแบบเครือญาติ และบทบาทผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของสายตระกูลที่ตนเองได้รับ ต่อมายุคผู้หญิงเปลี่ยนแปลงสถานะและตัวตนแบบใหม่ (พ.ศ. 1984-2539) การเข้ามาของพุทธศาสนา นโยบายภาครัฐส่วนกลาง และระบบทุนนิยมเงินตรา ส่งผลให้อำนาจจากตัวสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ไม่สอดคล้องกับความรับผิดชอบที่ต้องเผชิญจากภายนอกชุมชน ทำให้ผู้หญิงใช้การถอดรูปอำนาจของผีปู่ย่า และทำการแปลงร่างใหม่ด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจ จนเมื่อถึงยุคผู้หญิงเข้าไปในพื้นที่สนามประลองและแข่งขัน (พ.ศ. 2540-2564) ผู้หญิงใช้การแตกตัวตนจากสถานะทางสังคมในพื้นที่การสื่อสารอันหลากหลาย ผ่านความรู้ในแบบฉบับของผู้หญิง ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยตัวสื่อพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) ที่หดตัวลง การเข้ามาของเพศที่สามในพื้นที่พิธีกรรม กระแสโลกาภิวัตน์ และสังคมแห่งความเสี่ยง ซึ่งความสัมพันธ์ของอำนาจผู้หญิงในแต่ละยุคเป็นการแสดงบทบาทสำคัญของปฏิบัติการทางสังคมที่เชื่อมโยงกับโครงสร้างสังคมภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรียกว่า habitus ดั้งเดิมและสร้างใหม่ พร้อมไปกับการสร้างและการสั่งสมทุนเก่าและใหม่ ตั้งแต่ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ทุนทางเศรษฐกิจ ให้กลับกลายเป็นทุนทางสัญลักษณ์เพื่อก่อให้เกิดอำนาจเชิงวัฒนธรรมในที่สุด หากผู้หญิงไม่มีอำนาจแล้วนั้น ย่อมไม่สามารถกระทำการตามพันธกิจที่พึงได้รับมาอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273423 ปอบในศตวรรษที่ 21 ในภาพยนตร์สั้นเรื่อง He Is a Real Ghost, Please Trust Us 2024-04-30T11:38:34+07:00 ชนินทร เพ็ญสูตร jaruneejc@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ภาพยนตร์สั้นเรื่อง <em>He Is a Real Ghost, Please Trust Us</em> (2565) เขียนบทและกำกับโดย เมธัส อุตสาหะ ถูกเผยแพร่ในเทศกาลภาพยนตร์ Wildtype ประจำปี พ.ศ. 2565 <em>He Is a Real Ghost, Please Trust Us</em> เป็นภาพยนตร์ประเภทสารคดีล้อเลียน (mockumentary) ที่ฉายภาพให้เห็นถึงเรื่องราว ความนึกคิด และชีวิตของผีปอบ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนในพื้นที่ภาคอีสาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิจัยนี้ศึกษานิยามของปอบจากภาพยนตร์สั้นเรื่อง <em>He Is a Real Ghost, Please Trust Us</em> ผ่านการวิจัยเอกสาร (documentary research) และการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปอบในภาพยนตร์สั้นเรื่อง <em>He Is a Real Ghost, Please Trust Us</em> มีลักษณะแตกต่างไปจากภาพของปอบที่ปรากฏผ่านสื่อและเอกสารวิชาการที่ศึกษา โดยภาพยนตร์ฉายให้เห็นถึงความพยายามในการเอาตัวรอดของปอบให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้ ปอบสามารถมีความนึกคิดทางอารมณ์ในด้านความรัก และปฏิเสธการเข้าสิงร่างของผู้อื่นเพราะความเสน่หา นอกจากนี้ ยังมีการใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อความอยู่รอดร่วมกับครอบครัวหมอผี ในภาพยนตร์ยังฉายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวัย คนรุ่นใหม่ไม่มีความเชื่อในเรื่องผี และเชื่อว่าอาชีพหมอผีคืออาชีพที่หลอกลวงผู้อื่น ในขณะที่คนอีสานที่อยู่ในวัยกลางคน ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีและพิธีกรรมไล่ผี &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/273425 อ่านอนาคตสุขภาพจิตในสังคมไทย พ.ศ. 2576 - การสื่อสารอยู่ตรงไหนในฉากทัศน์ของการพัฒนา 2024-04-30T11:47:57+07:00 นิธิดา แสงสิงแก้ว jaruneejc@gmail.com 2024-05-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์