วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag <p><strong>วารสารศาสตร์</strong> เป็นวารสารวิชาการรายสี่เดือน ด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการสื่อสาร</p> <p>อันได้แก่ สาขาสื่อสารมวลชน สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาสื่อสารองค์กร และสาขาสื่อสารศึกษาในมุมมองต่างๆ</p> <p>ทั้งนี้ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในเล่มได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างสถาบันจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน</p> <p>วางจำหน่ายปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับเดือน มกราคม–เมษายน, ฉบับเดือน พฤษภาคม–สิงหาคม และฉบับเดือน กันยายน–ธันวาคม</p> <p><strong>การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p><strong> </strong><strong>คุณลักษณะของบทความ</strong></p> <ul> <li class="show">เป็นบทความที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่</li> </ul> <ol> <li class="show">1. บทความวิเคราะห์วิจัย (Research Article)</li> <li class="show">2. เอกสารกรณีศึกษา (Case Material)</li> <li class="show">3. บทความสำรวจวิชา (Survey Article)</li> <li class="show">4. บทความวิจารณ์ (Review Article)</li> <li class="show">5. บทความทางวิชาการ (Theoretical Article)</li> <li class="show">6. รายงานสำรวจ (Survey Report)</li> </ol> <p>ทั้งนี้ ไม่รวมงานวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความ บทความประเภทงานแปล และเอกสารประกอบคำบรรยาย</p> <ul> <li class="show">ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักพิมพ์อื่น</li> <li class="show">หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน</li> <li class="show">ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ</li> <li class="show">ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ</li> </ul> <p> ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>การส่งต้นฉบับเนื้อหา</strong></p> <p>o เนื้อหาจัดพิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 15 pt</p> <p>o ความยาวประมาณ 15-20 หน้า ขนาด A4 พร้อมจัดเรียงภาพประกอบสีขาวดำลงในไฟล์ Microsoft Word</p> <p>o จัดต้นฉบับเป็นเอกสารเวิร์ดส (นามสกุล .doc, .docx, .rtf, txt) ไม่รับเอกสาร .pdf</p> <p>o ส่งพร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน</p> <p>o ตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด</p> <p>o ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ภาพประกอบ (เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ)</p> <p> ให้ครบถ้วนลงแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีทางไปรษณีย์หรืออีเมล์มายังกองบรรณาธิการ หรือ ส่งผ่านระบบออนไลน์ ทาง https://tci-thaijo.org/index.php/jcmag</p> <p><strong>การส่งไฟล์ภาพประกอบ </strong></p> <p>o ส่งไฟล์คุณภาพดีแยกต่างหากจากเนื้อหา</p> <p>o ความละเอียดไฟล์ภาพอย่างต่ำ 300 dpi</p> <p>o ขนาดของไฟล์ภาพไม่ควรเกิน 1M</p> <p>o นามสกุลไฟล .tif หรือ .jpg</p> <p>o ปรับโหมดไฟล์ภาพเป็นขาวดำ </p> <p> </p> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p>คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121</p> <p>โทรศัพท์ 02-696-6267 อีเมล์ <a href="mailto:jaruneejc@gmail.com">jaruneejc@gmail.com</a></p> <p> </p> Faculty of Journalism and Mass Communication Thammasat University th-TH วารสารศาสตร์ 0125-8192 อย่าเห็นฉันเป็นสนามอารมณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280216 สมสุข หินวิมาน Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 4 4 Social Class, Social Capital, and Social Comparison on Social Media among Young Adults in Thailand https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280218 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการเปรียบเทียบทางสังคมของกลุ่มผู้ใช้งานวัยรุ่นไทย โดยมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นทางสังคม (social class) ทุนทางสังคม (social capital) และการเปรียบเทียบทางสังคม (social comparison) บนสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มวัยรุ่นไทย งานวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 15 คน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่ม ชนชั้นล่าง (LC) ชนชั้นกลาง (MC) และชนชั้นสูง (UC) กลุ่มละ 5 คน&nbsp; &nbsp; &nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สื่อสังคมออนไลน์สามารถเพิ่มการเปรียบเทียบแนวนอน (horizontal comparison) ในกลุ่มเพื่อนสนิทและสมาชิกชุมชน ซึ่งส่งผลเสียต่อความนับถือตนเองหรือการเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) ระดับความเครียด (stress) และทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (mild to moderate depression) ในทุกชนชั้นทางสังคม ผู้เข้าร่วมวิจัยมักจะเปรียบเทียบเรื่องมาตรฐานความงาม การเงิน ความสามารถ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และวิถีชีวิต ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ความรุนแรงของผลกระทบเหล่านี้แตกต่างกันไปตามระดับของการเปรียบเทียบและภูมิหลังทางสังคมและทุนของครอบครัวของผู้เข้าร่วมวิจัย งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า <strong>ทุนภายในครัวเรือน </strong><strong>(bonding capital)</strong> ในกลุ่มผู้เข้าร่วม LC ไม่สามารถสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอจากสมาชิกที่มีลักษณะหรือพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับ ความนับถือตนเองลดลง และเกิดภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ในขณะเดียวกัน <strong>ทุนภายในชุมชน (</strong><strong>bridging capital)</strong> มีอิทธิพลต่อการเปรียบเทียบแนวนอนในกลุ่มผู้เข้าร่วม MC บนสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งโปรไฟล์สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับความทันสมัย ชื่อเสียง และความนิยม เนื่องจากตำแหน่งกึ่งกลางของชั้นโครงสร้างทางสังคม กลุ่มผู้เข้าร่วม MC จึงมีลักษณะท้าทายลำดับชั้นแบบดั้งเดิม และเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เกิดใหม่และมีฐานะร่ำรวยขึ้น ในทางกลับกัน <strong>ทุนภายนอกชุมชน (</strong><strong>linking capital)</strong> ให้ประโยชน์ทางทรัพยากรอย่างมากกับผู้เข้าร่วมวิจัย UC ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสดงวิถีชีวิต (lifestyle) ที่สวยงาม หรูหรา และสง่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กล่าวโดยสรุป งานวิจัยนี้โต้แย้งว่า มโนทัศน์ของชนชั้นทางสังคม ทุนทางสังคม และอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลมีความเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน ในแง่ของวิธีที่ผู้เข้าร่วมจากชนชั้นทางสังคมต่างๆ เปรียบเทียบทางสังคมบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเสนอความจำเป็นในการทำความเข้าใจอัตลักษณ์ของผู้เข้าร่วม ความเป็นตัวตน และวาทกรรมของพวกเขาด้วยมุมมองที่ละเอียดอ่อน งานวิจัยนี้จึงเน้นการเป็นตัวแทนหลายมิติของอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติอัตลักษณ์ที่มีพลวัตและยืดหยุ่น</p> กมลมาศ ชาญวิเศษ Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 10 10 เสรีภาพสื่อกับกฎหมายดิจิทัล: ความท้าทายของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อกับการปรับตัวในอนาคต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280220 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์เสรีภาพสื่อกับกฎหมายดิจิทัลในประเทศไทย เทียบกับหลักกฎหมายสากล รับฟังความคิดเห็นจากสื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องความท้าทายในการปฏิบัติงานกับเสรีภาพกับกฎหมายดิจิทัล และสร้างแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายดิจิทัลให้เอื้ออำนวยในการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน รวมทั้งส่งเสริมเสรีภาพของสื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการเทคโนโลยีการสื่อสารและกฎหมายดิจิทัลในอนาคต โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) และการวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า ความหมาย นิยาม และประเภทของกฎหมายดิจิทัลตามกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น ยังสร้างความสับสนกับนักวิชาการ นักกฎหมาย นักวิชาชีพสื่อ และยังมีความท้าทายสำหรับผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพสื่อในด้านเสรีภาพกับกฎหมายดิจิทัล เนื่องจากมีการคุกคามเสรีภาพในวิชาชีพสื่อ ข้อจำกัดทางกฎหมายในการผลิตเนื้อหา และการนำเสนอเนื้อหาที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรรัฐ และกฎหมายดิจิทัลมีสภาพบังคับทั่วไป ไม่เฉพาะสื่อมวลชน ทั้งนี้ควรจะปรับปรุงกฎหมายดิจิทัลไทยให้ครอบคลุมทุกด้าน ควรควบรวมกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และควรปรับโทษให้ใกล้เคียงกับประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งในปัจจุบันพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มีโทษรุนแรงกว่ากฎหมายอาญาในลักษณะการทำความผิดที่คล้ายกัน รวมทั้งพบว่า กฎหมายดิจิทัลถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐ นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางส่งเสริมเสรีภาพของสื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการเทคโนโลยีของสื่อมวลชน ส่งเสริมความรู้เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ รวมทั้งส่งเสริมและพิทักษ์ประโยชน์ของผู้ผลิตสื่อ</p> คันธิรา ฉายาวงศ์ Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 99 99 Soft power ในความหมายของ Joseph Nye กับนโยบายของรัฐและข่าวในเว็บไซต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280222 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาความหมายของคำว่า soft power ของ Joseph Nye ผู้ประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาและเปรียบเทียบกับความหมายของ soft power นโยบายของรัฐ และข่าวในเว็บไซต์ เนื่องจากเกิดคำถามต่อความหมายของ soft power ที่ปรากฏในนโยบายของรัฐ โดยสำรวจเนื้อหาจากวรรณกรรมของ Nye จำนวน 4 ชิ้น และรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของรัฐและสื่อมวลชน โดยการเลือกแบบเจาะจงคำหลัก คือ “soft power ซอฟต์พาวเวอร์ ความหมาย นิยาม คืออะไร” ระหว่าง 17 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึง 24 มกราคม พ.ศ. 2567 จำนวน 132 ชิ้น ร่วมกับวรรณกรรมวิชาการ พบว่า soft power ในความหมายของ Nye คือ ความสามารถในการได้ผลลัพธ์ที่ประสงค์โดยอีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจสนองตอบความประสงค์ เป็นอำนาจทางอ้อมผ่านการดึงดูดใจไม่ใช่การบังคับ ที่มีจุดยืนอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีวัฒนธรรม อุดมการณ์การเมือง และนโยบายของรัฐเป็นทรัพยากร ส่วนวัฒนธรรมรวมถึงปรากฏการณ์คลื่นเกาหลีไม่ใช่ soft power เสมอไป หากไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อผลลัพธ์ของประเทศในการเมืองโลก แต่การศึกษาพบว่า ความหมาย soft power ส่วนใหญ่ที่มาจากรัฐบาล/หน่วยงานรัฐ สื่อมวลชน และนักวิชาการจำนวนหนึ่ง เห็นว่า soft power คือ การยกระดับวัฒนธรรมไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ตรงกับความหมายของ Nye ในขณะที่สื่อมวลชนและนักวิชาการบางส่วนเห็นตรงกับความหมายของ Nye ว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเพียงทรัพยากรส่วนหนึ่งของ soft power เท่านั้น ไม่ใช่เป็น soft power ในตัวเอง การที่รัฐใช้คำว่า soft power ของ Nye โดยที่ความหมายไม่ตรงกับผู้ประดิษฐ์คำ นำไปสู่ความเข้าใจและอาจทำให้การนำไปปฏิบัติผิดเป้าหมาย ดังนั้นรัฐควรพิจารณาจัดทำแผนแม่บทให้ยุทธศาสตร์ soft power เพื่อให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กลายเป็นแหล่ง soft power ตามความคิดของ Nye &nbsp;หรือพิจารณาตั้งชื่อใหม่ ขณะที่สื่อมวลชนควรติดตามยุทธศาสตร์ soft power ของรัฐเพื่อเผยแพร่ข่าวอย่างถูกต้อง รวมถึงทักท้วงเมื่อพบข้อผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในพื้นที่สื่อ ขณะที่วงการวิชาการต้องระมัดระวังในการนำ soft power ตามความหมายของ Nye มาใช้ในการศึกษาและเสนอผลงานทางวิชาการ หรือร่วมกันหาทางออกให้เกิดความเข้าใจความหมายของ soft power ของ Nye ในวงกว้าง รวมถึงเสนอคำจำกัดความใหม่แก่ soft power ด้วยหลักการทางวิธีวิทยาหากต้องการปรับความหมายของ Nye</p> บัณฑูร พานแก้ว นันทพร วงษ์เชษฐา Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 151 151 เรื่องเล่า ภาคสนาม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักมานุษยวิทยาและ “คนอื่น” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280224 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การทำงานภาคสนามสำหรับนักมานุษยวิทยามีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เข้าใจโลกของคนอื่น “สนาม” สำหรับนักมานุษยวิทยาจึงไม่ใช่พื้นที่ของของข้อมูลเท่านั้น และในขณะเดียวกัน ยังเป็นพื้นที่แห่งการใคร่ครวญและสะท้อนย้อนคิดให้เห็น “ตัวตน” ของนักมานุษยวิทยา การลงพื้นที่ภาคสนามทำให้นักมานุษยวิทยาต้องเผชิญกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง และจะเปลี่ยนผ่านอย่างไรเพื่อให้เข้าไปสู่ชุมชนและวัฒนธรรมที่ตนเองศึกษา สนามไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ทางกายภาพ แต่บรรจุเอาความสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่มาก่อน (เจ้าของวัฒนธรรม) ที่มีความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อสนามในระดับที่แตกต่างกัน กับผู้มาใหม่ (นักมานุษยวิทยา) ที่ไม่ได้ถูกต้อนรับในฐานะแขกผู้มาเยือนอย่างเดียว แต่อาจถูกตรวจสอบข้อมูล ถูกตีความ ถูกเอาเปรียบ ถูกทดสอบความอดทนในรูปแบบต่างๆ จากผู้คนในสนามด้วย อีกทั้งการศึกษาภาคสนามยังเป็นการปะทะของเรื่องเล่าที่หลากหลายจากมุมมองของผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ไม่มีผู้ใดผูกขาดเรื่องเล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ แม้นักมานุษยวิทยารู้ข้อจำกัดดังกล่าวโดยอ้างว่านำเรื่องเล่าของสังคมชุมชนอื่นมาถ่ายทอดก็ตาม</p> ชัยพงษ์ สำเนียง Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 199 199 ทวิวิธีวิทยาการวิเคราะห์เรื่องเล่าในพื้นที่ทางสังคมและอำนาจจากเบื้องล่าง: การปะทะประสานเรื่องเล่าระดับต่างๆ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280225 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้วยวิธีวิทยาการวิเคราะห์เรื่องเล่าที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาแบบดั้งเดิมในประเทศเวียดนามกับชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัลในประเทศไทย ชาติพันธุ์วรรณนาการติดตามเรื่องเล่าจากภาคสนามในเมืองชายแดนเวียดนามกับ สปป.ลาว การปริวรรตเอกสารไทโบราณ การวิจัยเอกสารปัจจุบัน ที่กระทำในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 - มิถุนายน 2565 บทความนี้คือความพยายามในการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและนำเสนอวิธีวิทยาการวิเคราะห์เรื่องเล่าในพื้นที่ทางสังคมและอำนาจจากเบื้องล่าง จากกรณีศึกษาวิจัยสองกรณีศึกษาที่ดำเนินการกับกลุ่มชาติพันธุ์ไท และหญิงผู้มีบุตรยากที่ชื่อว่าเป็นชายขอบของขนบความเป็นหญิงในสังคมทื่ให้ความสำคัญกับการมีบุตรสืบสกุล บทความชิ้นนี้มีข้อค้นพบด้วยกัน 5 ประการ <strong>ประการแรก</strong> กระบวนการสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าในพื้นที่ทางสังคมและอำนาจจากเบื้องล่างมีด้วยกัน 9 ขั้นตอน ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกกระบวนทัศน์ที่เหมาะสม การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของเรื่องเล่าประเภทต่างๆ การศึกษาบริบท การประกอบสร้างเรื่องเล่า การทำนิยามปฏิบัติการของพื้นที่ทางสังคม และการประยุกต์ใช้แนวคิดการปะทะประสาน <strong>ประการที่สอง</strong> วิธีวิทยาดังกล่าวทำให้เราเห็นเรื่องเล่าหลักที่ทำหน้าที่ครอบงำความรู้ต่างๆ ที่มาจากเบื้องล่าง เพราะมันถูกสร้างผ่านกลไกเชิงสถาบันต่างๆ และภาคปฏิบัติการต่างๆ ของผู้มีอำนาจให้อยู่ในฐานะของความจริง <strong>ประการที่สาม</strong> พื้นที่ทางสังคมคือพื้นที่ที่เป็นจุดปะทะและปะทะประสานของเรื่องเล่าอันหลากหลายทั้งจากเบื้องบนและเบื้องล่าง อันเป็นการปะทะของความไม่ลงรอย ความขัดแย้ง และอำนาจของคนกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาต่อรองด้วยการใช้เรื่องเล่ามาจัดปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ด้วยการช่วงชิงความหมายและสร้างความหมายใหม่ของการพัฒนา <strong>ประการที่สี่</strong> เพราะการปะทะประสานเรื่องเล่าต่างๆ ได้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา (emergence) ในท้องถิ่นและ/หรือในชีวิตทางสังคมของกลุ่มคนนั้นๆ ซึ่งคืออำนาจจากเบื้องล่าง <strong>ประการสุดท้าย</strong> การศึกษานี้ขยายขอบเขตการวิเคราะห์เรื่องเล่าขนาดเล็ก โดยบูรณาการแนวคิดของเลียวทารด์ วิตเกนสไตน์ และฮอลล์ เพื่อศึกษาการปะทะประสานของเรื่องเล่าในบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองร่วมสมัยของเวียดนาม สะท้อนพลวัตการต่อรองอำนาจในสังคมผ่านการใช้เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตคือ การขยายขอบเขตการวิจัยในประเด็นเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของเรื่องเล่าจากเบื้องล่างในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม</p> อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ กุลธิดา ศรีวิเชียร Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 221 221 เรื่องเล่าสู่เรื่องเล่าที่หลากหลายในทางสังคมศาสตร์: แนวคิด วิธีวิทยา และกรณีศึกษาเพื่อทำความเข้าใจโลกและสรรค์สร้างสรรพเสียงให้ถูกได้ยิน https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280226 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้ทบทวนมโนทัศน์เรื่องเล่าในฐานะที่เป็นทั้งแนวคิดและวิธีวิทยา และเชื่อมโยงไปสู่กรอบแนวคิดเรื่องเล่าที่หลากหลายในทางสังคมศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมถึงการศึกษาเรื่องเล่าในรูปแบบที่แตกต่างของภาษาและการสื่อสาร เพื่อชี้ให้เห็นว่า เรื่องเล่าสะท้อนโลกแห่งความเป็นจริง เรื่องเล่าจึงมีความหมายที่แตกต่างภายใต้ปฏิบัติการของเรื่องเล่า ที่มาจากองค์ประกอบและขอบเขตที่แตกต่าง รวมถึงแนวทางการศึกษาเรื่องเล่า โดยเฉพาะการตีความที่ผู้ตีความหรือผู้ศึกษาเรื่องเล่านั้นมีเบื้องหลังหรือโลกทัศน์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในทุกเรื่องเล่าจึงสามารถนำไปสู่การปะทะประสานและต่อรองกันของเรื่องเล่า นอกจากนั้น บทความนี้สำรวจกรณีศึกษาของการใช้เรื่องเล่าที่หลากหลายในกระแสการวิพากษ์เรื่องเล่าขนาดใหญ่ เพื่อเสนอว่า แนวทางเรื่องเล่าที่หลากหลายนั้นมีเป้าหมายทำให้สรรพเสียงถูกได้ยิน โดยแบ่งการทบทวนออกเป็น 4 มิติได้แก่ (1) เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง (2) เรื่องเล่าจากผ่านวัตถุที่ถูกตีความใหม่ (3) เรื่องเล่าที่หลากหลายเพื่อสลายความเป็นอื่น (4) เรื่องเล่าที่แตกต่างของประสบการณ์และช่วงเวลา การใช้แนวทางเรื่องเล่าจึงช่วยสร้างอำนาจของผู้คนเพื่อต่อรองทางความสัมพันธ์ในสังคม สร้างพื้นที่ให้คนชายขอบกลุ่มต่างๆ ได้มีสิทธิและเสียง ซึ่งเป็นการสร้างเรื่องเล่าในหลายคำนิยาม เช่น เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง เรื่องเล่าจุลภาค หรือเรื่องเล่าทางเลือก เพื่อคัดง้างกับเรื่องเล่ากระแสหลักหรือเรื่องเล่าจากเบื้องบน เช่น เรื่องเล่าที่แสดงถึงชาตินิยม อาณานิคมนิยม และอุดมการณ์ที่ผลักให้เกิดสภาวะชายขอบ</p> บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 267 267 “ความทรงจำร่วม” ในฐานะวิธีวิทยาการศึกษา “เรื่องเล่าจากเบื้องล่าง” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280228 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; บทความนี้ทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำร่วม เพื่อแสดงให้เห็นวิธีวิทยาในการศึกษาเรื่องเล่าจากเบื้องล่าง โดยแบ่งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ <em>หนึ่ง</em> พัฒนาการการศึกษาความทรงจำร่วม <em>สอง</em> ความแตกต่างและแนวทางการศึกษาความทรงจำกับประวัติศาสตร์กระแสหลัก <em>สาม</em> การศึกษาความทรงจำแห่งชาติ และ <em>สี่</em> การศึกษาเรื่องเล่าจากเบื้องล่างผ่านแนวคิดความทรงจำร่วม จากการทบทวนงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง พบว่า ท่ามกลางวิธีวิทยาในการศึกษาความทรงจำร่วมที่มีหลากหลายแนวทาง การสร้างความทรงจำแห่งชาติถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่นิยมใช้ในการศึกษา แนวทางความทรงจำแห่งชาติได้แสดงให้เห็นถึงเป้าประสงค์และความพยายามของรัฐบาลในการจัดการความทรงจำของผู้คน เพื่อให้การดำเนินชีวิตของผู้คนเป็นไปตามเป้าประสงค์ของรัฐบาล เนื่องจากความทรงจำได้ยึดโยงผู้คนให้สัมพันธ์กับเวลา ทั้งเวลาของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น การศึกษาความทรงจำร่วมนั้นจึงมีความสำคัญในฐานะแนวทางที่ยึดโยงกับการแสวงหากรอบทางสังคมที่ส่งผลต่อความทรงจำร่วมให้แตกต่างกันออกไปของแต่ละสังคม หากกรอบทางสังคมมีลักษณะเหลื่อมหรือทาบทับแบบไม่แนบสนิทกับกรอบหรือทิศทางของรัฐบาล อาจส่งผลให้เรื่องเล่าของผู้คนที่ถือเป็นเรื่องเล่าจากเบื้องล่างสามารถสร้างความทรงจำร่วมที่แตกต่างจากความทรงจำแห่งชาติ นอกจากนี้ เรื่องเล่าที่เกิดจากเบื้องล่างอาจเป็นความทรงจำที่ปะทะ ประสาน หรือคัดง้างกับความทรงจำแห่งชาติ วิธีวิทยาการศึกษาความทรงจำร่วมจึงแสดงให้เห็นถึงความทรงจำที่หลากหลายภายในสังคม อันเป็นผลมาจากกรอบทางสังคมที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น</p> กฤษณะ โชติสุทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 321 321 Constructive Journalism: Precedents, Principles, and Practices https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/280251 นิธิดา แสงสิงแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารศาสตร์ 2025-01-02 2025-01-02 18 1 349 349