วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag <p><strong>วารสารศาสตร์</strong> เป็นวารสารวิชาการรายสี่เดือน ด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการสื่อสาร</p> <p>อันได้แก่ สาขาสื่อสารมวลชน สาขาโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาสื่อสารองค์กร และสาขาสื่อสารศึกษาในมุมมองต่างๆ</p> <p>ทั้งนี้ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในเล่มได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างสถาบันจำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน</p> <p>วางจำหน่ายปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับเดือน มกราคม–เมษายน, ฉบับเดือน พฤษภาคม–สิงหาคม และฉบับเดือน กันยายน–ธันวาคม</p> <p><strong>การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p><strong> </strong><strong>คุณลักษณะของบทความ</strong></p> <ul> <li class="show">เป็นบทความที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่</li> </ul> <ol> <li class="show">1. บทความวิเคราะห์วิจัย (Research Article)</li> <li class="show">2. เอกสารกรณีศึกษา (Case Material)</li> <li class="show">3. บทความสำรวจวิชา (Survey Article)</li> <li class="show">4. บทความวิจารณ์ (Review Article)</li> <li class="show">5. บทความทางวิชาการ (Theoretical Article)</li> <li class="show">6. รายงานสำรวจ (Survey Report)</li> </ol> <p>ทั้งนี้ ไม่รวมงานวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนบทความ บทความประเภทงานแปล และเอกสารประกอบคำบรรยาย</p> <ul> <li class="show">ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักพิมพ์อื่น</li> <li class="show">หากเป็นงานวิจัยดีเด่นที่เคยตีพิมพ์มาก่อนแล้ว ต้องมีการนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองใหม่ นำเสนอข้อมูลใหม่โดยได้รับอนุญาตจากผู้เขียน</li> <li class="show">ผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการ</li> <li class="show">ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ/หรือ การอ่านเพื่อปรับแก้ไขจากบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการรับเชิญ</li> </ul> <p> ตามกำหนดเวลาของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>การส่งต้นฉบับเนื้อหา</strong></p> <p>o เนื้อหาจัดพิมพ์ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 15 pt</p> <p>o ความยาวประมาณ 15-20 หน้า ขนาด A4 พร้อมจัดเรียงภาพประกอบสีขาวดำลงในไฟล์ Microsoft Word</p> <p>o จัดต้นฉบับเป็นเอกสารเวิร์ดส (นามสกุล .doc, .docx, .rtf, txt) ไม่รับเอกสาร .pdf</p> <p>o ส่งพร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งประวัติสั้นๆ ของผู้เขียน</p> <p>o ตรวจทานความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งต้นฉบับภายในระยะเวลาที่กำหนด</p> <p>o ส่งต้นฉบับพร้อมไฟล์ภาพประกอบ (เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ)</p> <p> ให้ครบถ้วนลงแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีทางไปรษณีย์หรืออีเมล์มายังกองบรรณาธิการ หรือ ส่งผ่านระบบออนไลน์ ทาง https://tci-thaijo.org/index.php/jcmag</p> <p><strong>การส่งไฟล์ภาพประกอบ </strong></p> <p>o ส่งไฟล์คุณภาพดีแยกต่างหากจากเนื้อหา</p> <p>o ความละเอียดไฟล์ภาพอย่างต่ำ 300 dpi</p> <p>o ขนาดของไฟล์ภาพไม่ควรเกิน 1M</p> <p>o นามสกุลไฟล .tif หรือ .jpg</p> <p>o ปรับโหมดไฟล์ภาพเป็นขาวดำ </p> <p> </p> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ “วารสารศาสตร์”</strong></p> <p>คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121</p> <p>โทรศัพท์ 02-696-6267 อีเมล์ <a href="mailto:[email protected]">[email protected]</a></p> <p> </p> th-TH [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.สมสุข หินวิมาน) [email protected] (jarunee sooksom) Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 “สร้างการสื่อสารคืองานของเธอหรือเปล่า…?” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270067 สมสุข หินวิมาน Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270067 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 การใช้สื่อสังคมออนไลน์สะท้อนภาวะซึมเศร้าของผู้ใช้งานวัยรุ่น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270069 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง <em>การใช้สื่อสังคมออนไลน์สะท้อนภาวะซึมเศร้าของผู้ใช้งานวัยรุ่น</em> มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสะท้อนภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่น โดยมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ของชนชั้นทางสังคม (social class) กับภาวะซึมเศร้าที่สะท้อนบนสื่อสังคมออนไลน์ งานวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) จากผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 18 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มชนชั้นล่าง 5 คน กลุ่มชนชั้นกลาง 6 คน และกลุ่มชนชั้นสูง 7 คน จากนั้นงานวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ (social media data) จากกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยเดิมด้วยปัญญาประดิษฐ์ และวิเคราะห์ผลด้วยการประมวลผลภาษาธรรมชาติและคอมพิวเตอร์วิทัศน์จากจำนวนข้อความบน Twitter การใช้ภาษาหรือถ้อยคำ รวมถึงโทนสีของรูปภาพ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า สื่อสังคมออนไลน์ถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับการขอความช่วยเหลือ (calling for help) สำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าระยะชั่วคราวไปจนถึงระยะปานกลาง (ระยะที่ 1-3) แต่ไม่ถึงขั้นระยะรุนแรงมาก (ระยะที่ 4) อีกทั้งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยชนชั้นล่าง (LC) มีระดับภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงที่สุด (ระยะที่ 4) และมีการแสดงออกอาการดังกล่าวบนสื่อออนไลน์ชัดเจนและรุนแรงที่สุด ในขณะที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยชนชั้นกลาง (MC) มีภาวะซึมเศร้าในระยะปานกลาง (ระยะที่ 3) ไปจนถึงระยะรุนแรง (ระยะที่ 4) โดยกลุ่มนี้สะท้อนความหลากหลายและคลุมเครือในการแสดงออกภาวะซึมเศร้าบนสื่อสังคมออนไลน์ และสำหรับกลุ่มผู้ร่วมวิจัยชนชั้นสูง (UC) มีระดับภาวะซึมเศร้าน้อยที่สุด (ระยะที่ 1-2) และไม่ค่อยพบการแสดงออกอาการเศร้าบนสื่อออนไลน์ โดยกลุ่มนี้มองว่า พื้นที่ออนไลน์สามารถเป็นพื้นที่สะสมทุนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง กล่าวโดยสรุป ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่ปัญหาเชิงปัจเจกเท่านั้น แต่ยังคงเป็นปัญหาจากความกดดันทางสังคม การโดนกดขี่ หรือการครอบงำของทุนนิยมที่แฝงฝังมาจากปัญหาโครงสร้างทางสังคม</p> กมลมาศ ชาญวิเศษ, อรรคพล วงศ์กอบลาภ Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270069 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นนักสื่อสารสุขภาพด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270074 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง <em>การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นนักสื่อสารสุขภาพด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ</em> มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19 และ (2) ค้นหาองค์ความรู้ในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักสื่อสารสุขภาพจากกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) และการจัดเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมในบริบทปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 ในกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) จากนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย) ชั้นปีที่ 3 ที่เรียนวิชา DM2203 การผลิตสิ่งพิมพ์ยุคดิจิทัล ภาคการศึกษาที่ 2/2564 และวิชา DM3404 การผลิตอินโฟกราฟิก ภาคการศึกษาที่ 3/2564</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการดำเนินโครงการพัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19 เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ นักศึกษาสามารถพัฒนาสื่อรณรงค์จากรายวิชา DM2203 การผลิตสิ่งพิมพ์ยุคิจิทัล ได้แก่ สื่อโปสเตอร์ สื่ออินโฟกราฟิก และสื่อแผ่นพับ และสามารถพัฒนาสื่อรณรงค์จากรายวิชา DM3404 การผลิตอินโฟกราฟิก ได้แก่ สื่ออินโฟกราฟิก ในด้านองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19 เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถพัฒนาสื่อโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การทำความเข้าใจ (2) การสร้างสรรค์ความคิด (3) และการทดสอบ ด้านองค์ความรู้ในการพัฒนาเยาวชน พบว่า สมรรถนะที่สำคัญต่อการสร้างนักสื่อสารสุขภาพเพื่อชุมชน ประกอบด้วย (1) ความรู้ (2) ทักษะ และ (3) ทัศนคติ</p> สาวิตรี พรหมสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270074 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงในวิกฤติโควิด-19: บทสังเคราะห์จากการทำงานของกรมควบคุมโรค https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270075 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนการสื่อสารความเสี่ยงในวิกฤติโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค เพื่อสังเคราะห์ทัศนะต่อการสื่อสารความเสี่ยงของกรมควบคุมโรคของสื่อมวลชน ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนามที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการจัดการสื่อสารความเสี่ยงของกรมควบคุมโรคในฐานะหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 19 คน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เมื่อประมวลภาพผลการดำเนินงานกับกรอบแนวคิดและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พบว่า การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งโอกาสในการทำงานด้านการสื่อสารความเสี่ยงและการสื่อสารในภาวะวิกฤติของกรมควบคุมโรคได้ในหลายมิติ กรมควบคุมโรคประสบความสำเร็จในการดำเนินยุทธศาสตร์ ระบบบัญชาการ และแผนการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนโรคอุบัติใหม่แก่สาธารณชนตามกรอบมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก อย่างไรก็ดี เมื่อโรคอุบัติใหม่แพร่กระจายเข้าสู่สังคมและยกระดับกลายเป็นสภาวะวิกฤติ ยังพบช่องว่างที่ทำให้เห็นว่า กรมควบคุมโรคจะสามารถพัฒนาการทำงานเพื่อรับมือกับการสื่อสารในภาวะวิกฤติอย่างเป็นรูปธรรม ทันท่วงที และมุ่งเน้นเป้าหมายในการจัดการความตื่นตระหนก ความสับสน และความโกลาหลภายในสังคม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อเสนอแนะหลักสำหรับกรมควบคุมโรคคือ การปรับกระบวนทัศน์การทำงานสื่อสาร โดยการยกระดับการทำงานจากหลักการสื่อสารความเสี่ยงสู่การสื่อสารในภาวะวิกฤติที่เน้นการจัดการปัญหาเฉพาะหน้าที่เร่งด่วน โดยเฉพาะในกรณีของโรคอุบัติใหม่ ที่มีความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจนด้านการข่าวและข้อมูลสูง ผ่านการปรับตัวใน 5 ด้าน ได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อสื่อสารวิกฤติ การวิเคราะห์ผู้รับสาร การตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การจัดการทรัพยากรบุคคล และการสื่อสารเชิงรุก</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สำหรับโอกาสในการทำงานสื่อสารความเสี่ยงและในภาวะวิกฤติที่เป็นประเด็นท้าทายสำหรับกรมควบคุมโรค ได้แก่ (1) ปรับกลยุทธ์การสื่อสารโดยสร้างสมดุลระหว่างแรงกดดันภายนอกและจุดยืนความเป็นวิชาการที่กรมควบคุมโรคมีจุดแข็งในการรับรู้ของสาธารณชนอยู่ (2) ทบทวนและทำความเข้าใจพันธกิจการสื่อสารความเสี่ยงของหน่วยงานที่อาจต้องขยายขอบเขตสู่การสื่อสารในภาวะวิกฤติ เมื่อโรคอุบัติใหม่แพร่กระจายจนอาจเกิดความตื่นตระหนกและโกลาหล (3) บูรณาการการสื่อสารเชิงรุกที่กรมควบคุมโรคเน้นการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และสร้างเครือข่ายพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ทางการสื่อสารเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดบุคลากรด้านการสื่อสารของกรมควบคุมโรค</p> นิธิดา แสงสิงแก้ว, นันทิยา ดวงภุมเมศ, มธุรส ทิพยมงคลกุล, วิศวัส ปัญญาวงศ์สถาพร Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270075 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 การเมืองเยาวชนร่วมสมัยกับการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทางการเมือง รู้เท่าทันข่าวปลอม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270076 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยเรื่อง <em>การเมืองเยาวชนร่วมสมัยกับการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมทางการเมืองรู้เท่าทันข่าวปลอม</em> เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้วิธีวิทยาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมเยาวชนระดับอุดมศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการรู้เท่าทันข่าวปลอมทางด้านการเมือง ส่วนสองเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ รูปแบบกิจกรรมสร้างแนวร่วมเยาวชนร่วมสมัยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองรู้เท่าทันข่าวปลอม ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ (1) เพื่อเสริมความรู้ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองสําหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษา (2) เพื่อเสริมความรู้การรู้เท่าทันข่าวปลอมทางการเมืองสําหรับเยาวชนระดับอุดมศึกษา และ (3) เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนร่วมสมัยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองรู้เท่าทันข่าวปลอม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผู้ที่มีภูมิหลังทางประชากรแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวการเมือง ความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวปลอมทางด้านการเมืองต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันข่าวปลอมทางด้านการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ในส่วนผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่า การสร้างกลไกแนวร่วมเยาวชนร่วมสมัยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองต้องใช้องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนแรก เยาวชน (นักศึกษาหรือนักเรียน) ส่วนสอง สถาบันการศึกษา และส่วนสาม องค์กรวิชาชีพสื่อ ที่เกิดจากความร่วมมือ 3 ฝ่ายด้วยความสมัครใจ เห็นความสำคัญของเยาวชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ผ่านกิจกรรมที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และทักษะ นอกจากนี้ ยังต้องการสนับสนุนด้านงบประมาณในการทำกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์เยาวชนที่ตื่นรู้ กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เขาสนใจและมีความถนัด ภายใต้การสนับสนุนกิจกรรมจาก 3 องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องกับสื่อโดยตรง คือ&nbsp; คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)</p> วิไลวรรณ จงวิไลเกษม, นันท์วิสิทธิ์ ตั้งแสงประทีป, พลสัน นกน่วม Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270076 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 สัมพันธบทและการผสมข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรมตัวละครทศกัณฐ์ ในสื่อวัฒนธรรมประชานิยมของไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270077 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเรื่อง <em>สัมพันธบทและการผสมข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรมตัวละครทศกัณฐ์</em><em> ใน สื่อวัฒนธรรมประชานิยมของไทย</em> เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มุ่งศึกษาวิเคราะห์ตัวละครทศกัณฐ์ในบริบทวัฒนธรรมประชานิยมในช่วง พ.ศ. 2557-2561 โดยมีตัวบทต้นทาง ได้แก่ ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และนาฏศิลป์โขนของกรมศิลปากรที่มีสัมพันธบททศกัณฐ์ร่วมกับวรรณคดี และตัวบทปลายทาง ได้แก่ นิยายภาพชุดรามเกียรติ์ โฆษณาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุด “เที่ยวไทยมีเฮ” และภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง <em>๙ ศาสตรา</em> โดยใช้แนวคิดสัมพันธบท (intertextuality) วิเคราะห์บริบททางสังคมและประเภทสื่อ รูปแบบภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา สีกาย เครื่องแต่งกาย อาวุธ และฉากที่มีการปรากฏตัวของตัวละครทศกัณฐ์ รูปแบบภายใน ได้แก่ ลักษณะนิสัย ความสามารถ ภูมิหลัง บทบาท และเนื้อหาในการสื่อความหมายของตัวละครทศกัณฐ์ว่า มีการคงเดิม (convention) การตัดทอน (reduction) และการดัดแปลง (modification) และมีการใช้แนวคิดการผสมข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรม เพื่อจำแนกรูปแบบทศกัณฐ์ที่เกิดขึ้นในสื่อวัฒนธรรมประชานิยมของไทย</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ทศกัณฐ์ในวัฒนธรรมประชานิยมของไทยมีสัมพันธบทกับวัฒนธรรมชั้นสูง ทั้งรูปแบบและเนื้อหาในลักษณะคงเดิม (convention) ตัดทอน (reduction) และดัดแปลง (modification) และได้มีการผสมผสานข้ามสายพันธุ์ทางวัฒนธรรมรูปแบบอะมีบา (amoeba pattern) ในหนังสือนิยายภาพชุดรามเกียรติ์ รูปแบบปะการัง (coral pattern) ในภาพยนตร์โฆษณา ชุด “เที่ยวไทยมีเฮ” และรูปแบบผีเสื้อ (butterfly pattern) ในภาพยนตร์แอนิเมชัน เรื่อง <em>๙ ศาสตรา</em> เพื่อการสืบทอดวัฒนธรรมและผลิตซ้ำเพื่อเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่นำเสนอความเป็นไทย ตามลำดับ</p> ภัทริยา ศรีสุข Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270077 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 เส้นทางการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน และกลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ดารานักวิ่งมาราธอนไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270079 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยนี้ได้ศึกษากระบวนการสั่งสมทุน แปลงทุน ขยายทุน ไปสู่การเป็นดารานักวิ่งมาราธอนไทย และกลยุทธ์การสื่อสารที่มาช่วยสร้างภาพลักษณ์การเป็นดารานักวิ่งมาราธอนไทย แบ่งการศึกษาดารานักวิ่งมาราธอนไทยออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ภูมิหลังของดารานักวิ่งมาราธอน ช่วงเวลาในแวดวงบันเทิง และช่วงเวลาในการเป็นดารานักวิ่งมาราธอนไทย เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการกลายมาเป็นดารานักวิ่งมาราธอนในแต่ละช่วงเวลา ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยคัดเลือกจาก (1) เป็นคนดังในแวดวงบันเทิง (2) ผ่านการวิ่งมาราธอน 42.195 กิโลเมตร (3) ถูกนำเสนอผ่านสื่อ (4) การเป็นตัวแทนสินค้าหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างที่เลือกศึกษา ได้แก่ ณัฐ ศักดาทร อาทิวราห์ คงมาลัย และยศวดี หัสดีวิจิตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ทั้งการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์ตัวบทจากสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การเข้าสู่แวดวงบันเทิงของดารา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีทุน (capital) โดยเฉพาะทุนวัฒนธรรม ได้แก่ ทักษะความสามารถทางด้านการร้องเพลง การเล่นดนตรี การแสดง ซึ่งเป็นทุนที่มาจากทุนเศรษฐกิจหรือการสนับสนุนจากครอบครัว การมีทุนวัฒนธรรมจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการก้าวเข้าสู่แวดวงบันเทิง เพราะแวดวงบันเทิงมีการแข่งขันที่สูงและต้องการคนที่พร้อมเข้ามาทำงาน โดยวิธีการเข้าสู่แวดวงบันเทิงมีหลายรูปแบบ แต่จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า เวทีการประกวดเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งของการเข้าสู่แวดวงบันเทิงได้ หลังจากนั้นก็จะทำงานในแวดวงบันเทิงตามทักษะทางความสามารถที่แต่ละคนถนัด ประกอบกับการผลักดันของบริษัทต้นสังกัด ซึ่งการเป็นดาราต้องใช้การสั่งสมทุนวัฒนธรรมในสายงานที่เกี่ยวข้อง และใช้ความสามารถในการเข้าสู่แวดวงบันเทิง แต่การที่จะกลายเป็นคนที่มีชื่อเสียง (celebrity) ต้องมีสื่อมวลชนนำเสนอออกมาให้สาธารณชนได้รู้จักด้วย ในวัฏจักรของอุตสาหกรรมบันเทิง ก็จะมีดาราใหม่ๆ ถูกผลิตสู่แวดวงบันเทิง ดาราจึงต้องมีการขยายทุนในลักษณะอื่นๆ หรือการขยายแวดวง เพื่อสร้างความมีชื่อเสียงของตนเองและเพิ่มอาชีพให้กับตนเอง ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า การวิ่งมาราธอนเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขยายทุนของดารา และเป็นการเพิ่มแวดวงให้กับดาราในการต่อรองพื้นที่ในแวดวงบันเทิงต่อไป<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเข้าสู่แวดวงการวิ่งมาราธอนของดารา เป็นอีกหนึ่งกระบวนการในการเพิ่มศักยภาพของร่างกายดาราทำให้ร่างกายแข็งแรง มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่ดีขึ้น และนำไปสู่การเพิ่มอาชีพให้กับดาราได้อีกหนึ่งช่องทางอีกด้วย โดยดาราที่ต้องการเข้าสู่แวดวงการวิ่งมาราธอน ไม่จำเป็นต้องมีการสั่งสมทุนทางด้านกีฬามาก่อนก็ได้ เพราะการวิ่งมาราธอนคือการใช้ร่างกายในการออกกำลัง มีกระบวนการฝึกซ้อมที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นทำได้ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ฝึกซ้อมจนเกิดความชำนาญ จนสามารถกลายเป็นดารานักวิ่งมาราธอน และสามารถสร้างทุนเศรษฐกิจต่อได้จากงานในแวดวงกีฬา ซึ่งเป็นการเพิ่มแวดวงให้กับดาราที่ต้องการพัฒนาตนเองมาเป็นดารานักวิ่งมาราธอน และทำงานเกี่ยวกับแวดวงกีฬาควบคู่กันไปได้ <br>ส่วนกลยุทธ์การสื่อสาร ถือเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ดารานักวิ่งมาราธอนมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนขึ้น และช่วยขยายทุนสัญลักษณ์ทางด้านชื่อเสียงให้เพิ่มขึ้น ทั้งในแวดวงบันเทิงและแวดวงใหม่ของดารานักวิ่งมาราธอน นั่นก็คือ แวดวงกีฬา และนี่คือสิ่งที่ส่งเสริมให้ดารานักวิ่งมาราธอนมีความแตกต่างจากนักวิ่งมาราธอนทั่วไป กล่าวคือ การมีกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นดารานักวิ่งมาราธอน โดยสื่อที่ดารานักวิ่งมาราธอนใช้สร้างภาพลักษณ์มี 2 ยุค คือ ยุค First Media Age (ยุคกระจายเสียง) ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ และยุค Second Media Age (ยุคปฏิสัมพันธ์) ได้แก่ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube ข้อค้นพบคือ ถ้าเป็นการนำเสนอจากสื่อมวลชน ดารานักวิ่งมาราธอนจะไม่สามารถควบคุมเนื้อหา การนำเสนอได้ แต่สำหรับสื่อโซเชียลส่วนบุคคลของดารานักวิ่งมาราธอน จะเอื้อให้ปัจเจกบุคคลสามารถควบคุมเนื้อหาและการนำเสนอได้ และเป็นช่องทางที่ส่งเสริมภาพลักษณ์และการดำรงอยู่ของการเป็นดารานักวิ่งมาราธอน ส่วนกลยุทธ์ของสาร พบว่า มีทั้งการสื่อสารในรูปแบบสภาวะปกติและสภาวะพิเศษ ซึ่งดารานักวิ่งมาราธอนที่มีค่ายจะมีทางทีมประชาสัมพันธ์ช่วยดูแลเรื่องการส่งข่าว ทั้งนี้ ดารานักวิ่งมาราธอนต้องมีภาพลักษณ์ปรากฏอยู่ในแวดวงบันเทิงและแวดวงกีฬา และมีการนำเสนอผลงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง</p> อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์, วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270079 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 Exploring Journalistic Practices amongst Disaster Journalists in Thailand's Digital Age https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270082 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวปฏิบัติของผู้สื่อข่าวด้านภัยพิบัติในยุคดิจิทัลของไทย โดยศึกษาว่าเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงานของนักข่าวด้านภัยพิบัติในประเทศไทยอย่างไร โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์การอบรมด้านการรายงานข่าวภัยพิบัติ ที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นักข่าวไทยจำนวน 12 คน ที่มีประสบการณ์ในการรายงานข่าวด้านภัยพิบัติทางโทรทัศน์ห้าปีขึ้นไป จะได้รับการสัมภษณ์และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคคราะห์เชิงแก่นสาระ (TA: thematic analysis) ผลการวิจัยมี 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของรูปแบ และส่วนของเนื้อหา ในส่วนของรูปแบบมี 4 ประเด็นหลักที่น่าสนใจ ในส่วนเนื้อหามี 5 ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานำเสนอในบทความนี้ และในส่วนของข้อค้นพบทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการทำข่าวภัยพิบัติในยุคดิจิทัลนี้สะท้อนว่า ยุคดิจิทัลมีอิทธิพลต่อกระบวนการทำงานข่าวด้านภัยพิบัติอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกันกับสาระหลักของแนวคิดของสำนักเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด นอกจากนี้ &nbsp;การศึกษายังพบว่า สภาพการณ์ของตลาดสื่อที่มีการแข่งขันกับสูงในยุคดิจิทัลตลอดจนนโยบายขององค์กรสื่อแต่ละแห่งก็มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกันต่อปฏิบัติการของนักข่าวภัยพิบัติ ซึ่งมองในมุมนี้อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์นี้สะท้อนแนวคิดเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดแบบอ่อน (soft technology determinism) ที่มีมุมมองว่า แม้เทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อโอกาสและความสามารถของการทำงานในแวดวงสื่อ แต่ปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นร่วมด้วยก็คือ ปฏิสัมพันธ์จากกลุ่มสังคมหรือชุมชนที่มีต่อเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน กล่าวคือ แม้เทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ได้เป็นปัจจัยที่เข้าควบคุมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของผู้สื่อข่าวภัยพิบัติไทย</p> Orawan Sirisawat Apichayakul Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270082 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700 5 ภาษารัก ไขความลับสู่การมีรักที่สุขสมบูรณ์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270083 พิมพ์พจี เย็นอุรา Copyright (c) 2024 วารสารศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/270083 Tue, 02 Jan 2024 00:00:00 +0700