การถ่ายโยงเนื้อหาของละครโทรทัศน์ไทยที่รีเมกจาก ซีรีส์เกาหลี กรณีศึกษา เรื่อง ลิขิตรักข้ามดวงดาว

ผู้แต่ง

  • ปราณปริยา กำจัดภัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สมสุข หินวิมาน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การถ่ายโยงเนื้อหา, สัมพันธบท, ละครโทรทัศน์ไทยรีเมก, ซีรีส์เกาหลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการถ่ายโยงเนื้อหาละครโทรทัศน์ไทยที่รีเมกจากซีรีส์เกาหลี กรณีศึกษา เรื่อง ลิขิตรักข้ามดวงดาว โดยศึกษาผ่านการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) ซึ่งใช้แนวคิดสัมพันธบท และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ รวมถึงศึกษาการถอดรหัสรับรู้ความหมายของผู้รับสารด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) เพื่อพิจารณาถึงความลงตัวของการดัดแปลงตัวบทจากต่างวัฒนธรรม

ผลการวิจัยพบว่าการถ่ายโยงเนื้อหาละครโทรทัศน์ไทย เรื่อง ลิขิตรักข้ามดวงดาว มีรูปแบบการถ่ายโยง        ทั้งคงเดิม เปลี่ยนแปลง ตัดทอน และขยายความ แต่มีการคงเดิมมากที่สุดโดยส่วนใหญ่เป็นการคงรูปแบบ (format) รวมถึงคงความหมาย (meaning) ที่มาจากต้นฉบับหากมีการดัดแปลงจะเป็นส่วนของรายละเอียด หรือ สิ่งที่ไม่สามารถหาทดแทนได้ในประเทศไทย เช่น สถานที่ อาหาร หรือ สำนวนการพูด ซึ่งไม่ใช่ส่วนที่เป็นหัวใจหลักของเรื่อง            และมักเป็นการดัดแปลงในระดับรูปสัญญะ ไม่ได้ดัดแปลงไปถึงความหมายเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่มากับตัวบท

ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับผู้รับสาร ระหว่างผู้รับสาร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคยรับชมต้นฉบับ และ กลุ่มที่ไม่เคยรับชมต้นฉบับ พบว่าประสบการณ์ต่อตัวบทต้นฉบับไม่มีผลต่อการถอดรหัสรับรู้ความหมายมากเท่ากับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้รับสาร ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรม โดยผู้รับสารที่เป็นชาวไทยจะตีความตรง ต่อรอง หรือขัดแย้งกับผู้ส่งสาร ก็ขึ้นอยู่กับว่าเนื้อหาของละครโทรทัศน์ที่รีเมกจากซีรีส์เกาหลีนั้นเชื่อมโยงกับความเป็นไทยในการรับรู้ของผู้รับสารมากเพียงใด หากมีส่วนที่ติดขัด ผู้รับสารก็อาจรู้สึกถึงความไม่ลงตัวของการถ่ายโยงเนื้อหาได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29