@article{นุชน้อมบุญ_2018, place={Bangkok, Thailand}, title={เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง : กรณีศึกษาเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ”: (Costume Design : A case study of costume in thai period film “The Legend of King Naresuan”)}, volume={6}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/169469}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>                </strong>งานวิจัยเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง : กรณีศึกษาเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาเคราะห์ (Descriptive Analysis) ประกอบกับภาพวาดลายเส้น โดยผสมผสานการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์ (Interview) และภาพจากภาพยนตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงในประเด็นรูปแบบของเครื่องแต่งกาย อันได้แก่ ทรงผม เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายกับวิธีการแต่งกาย รวมถึงลักษณะของการใช้ผ้าและการใช้สี ของตัวละครหลักเฉพาะฝ่ายไทย</p> <p>              ผลการศึกษาเครื่องแต่งกายในภาพยนตร์อิงอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ” ภาคที่ 1 : องค์ประกันหงสา และภาคที่ 2 : ประกาศอิสรภาพ ของตัวละครเฉพาะฝ่ายไทยจำนวนทั้งสิ้น 39 ชุด โดยรูปแบบของเครื่องแต่งกาย พบว่า ในส่วนของทรงผม มีการอ้างอิงข้อมูลในเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งข้อมูลจากภาพจิตรกรรม ประติมากรรม ข้อมูลจากพงศาวดารและจดหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง และการผสมผสานการสร้างสรรค์เพื่อให้สัมพันธ์กับบุคลิกลักษณะของตัวละคร จึงทำให้ในบางตัวละครขาดความลงตัวในเรื่องของสัดส่วน และที่มาของทรงผมกับความเป็นยุคสมัยในอดีต</p> <p>              เครื่องประดับ มีการใช้เครื่องประดับที่มีความเชื่อมโยงกับเรื่องราวของพุทธศาสนา การใช้องค์ประกอบของลวดลายไทยกับคติความเชื่อทั้งแบบพราหมณ์และพุทธ โดยโครงสร้างของเครื่องประดับและการสวมใส่เครื่องประดับยังคงอิงข้อมูลเชิงประวัติ ศาสตร์ ประกอบกับการออกแบบและจัดวางด้วยจินตนาการกับ การผสานเครื่องประดับที่มีกลิ่นอายของบริบทอินเดียแบบร่วมสมัยในบางตัวละคร</p> <p>              เครื่องแต่งกายกับวิธีการแต่งกาย เป็นการนำโครงสร้างของเครื่องแต่งกายในประวัติศาสตร์มาผสมผสานทั้งด้วยเครื่องแต่งกายกับวิธีการแต่งกายที่อิงจากข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ร่วมกับวิธีการออกแบบเครื่องแต่งกายและวิธีการแต่งกายแบบร่วมสมัย นอก จากนี้ภาพของเครื่องแต่งกายกับการแสดงออก ของบางตัวละคร ยังสะท้อนต่อการไม่เข้าถึงสุนทรียะของการนุ่งห่ม การสวมใส่เครื่องแต่งกายกับความเป็นธรรมชาติและความเข้าใจในบริบทอดีต จึงส่งผลต่อความเชื่อในการนำเสนอภาพลักษณ์ของเครื่องแต่งกายกับความเป็นประวัติศาสตร์</p> <p>              การใช้ผ้าและการใช้สี มีการประกอบสร้างที่เชื่อมโยงระหว่างการเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครกับบริบทชนชั้นทางสังคม โดยกลุ่มกษัตริย์ ขุนนางและชนชั้นสูงมักจะใช้ผ้ากลุ่มผ้าไหม ผ้าที่มีความมันวาว มีรายละเอียดในการประดับตกแต่งด้วยการใช้กลุ่มสีทอง มีการใช้ผ้าที่มีลวดลายซึ่งสัมพันธ์กับยุคสมัยในเชิงประวัติศาสตร์ กลุ่มชนชั้นล่างและชาวบ้าน มักจะใช้ผ้ากลุ่มผ้าฝ้าย ผ้าที่มีเนื้อด้าน โดยทั้ง 2 กลุ่มยังมีการใช้กระบวนการในการออกแบบและจัดวางทั้งในเรื่องของการใช้ผ้าและการใช้สีให้สัมพันธ์กับบุคลิกลักษณะของตัวละครเป็นสำคัญ โดยผสานการสร้างสัญลักษณ์ผนวกกับจินตนาการในการออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อการแสดงภายใต้บริบทกรุงศรีอยุธยา</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>เครื่องแต่งกายเพื่อการแสดง / การออกแบบงานสร้างในงานภาพยนตร์ / ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์  </p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p>            Costume Design :  A case study of costume in thai period film “The Legend of King Naresuan” This study uses Documentary Research method, Interviews, and the study of movie shots as the key method.  Then the results are presented by using Descriptive Analysis method along with the drawings illustration. The objectives of this research is to study costume design and styling which includes hairstyle, jewelry, dressing method, color and textile in the main Thai character only.</p> <p>             In this research shows the sample group of 39 costumes of the Thai character in the Legend of King Naresuan, Part 1: Hostage of Hongsawadi and Part 2: Reclaiming Sovereignty (2007). The study found the hairstyle had a reference on historical documents such as painting, sculpture, chronicles and related archives combined with design to suit each character. The over design of some character created a lack of balance of proportion and loss of the period.</p> <p>             In terms of jewery, the use of jewelry is linked to the story of Buddhism. The use of elements of Thai motifs with the beliefs of both Brahmanical and Buddhist beliefs. The structure of ornaments and jewelry are still based on historical data. The design and pattern used mainly imagination with the merging of the vibe of Indian Contemporary Context in some characters.</p> <p>             In terms of Costume with how to dress, it is a combination of historical costumes based on historical data with the costume design in contemporary way. In addition, the image of the costume with the expression in some characters reflect the lack of access to the aesthetics of wearing cloth in naturally and historical style. It influences the belief to presenting the look of costume in history.</p> <p>             In terms of the use of fabric and color, there is a link between enhancing the character of a character and the social class. By the King Group, Nobility and Elites often use silk cloth. Lustrous cloth Detail of the decoration with the use of gold. The use of patterned fabrics in relation to the historical period. Lower classes and Villagers, The cotton fabric group is usually used. The two groups also use the process of design and layout, both in terms of the use of cloth and the color of the characters are important to the character. By combining the symbolic design with the imagination in costume design under the context of Ayutthaya.</p> <p><strong>Keyword : </strong>Costume Design / Production Design in Film / Thai Period Film</p>}, number={2}, journal={วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม}, author={นุชน้อมบุญ รินบุญ}, year={2018}, month={ก.ค.}, pages={223–235} }