@article{ผลศิริ_พันธบุตร_2020, place={Bangkok, Thailand}, title={การพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับธุรกิจแก้บน}, volume={8}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/246546}, abstractNote={<p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับธุรกิจแก้บนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา สภาพปัญหาและโอกาสในธุรกิจแก้บน 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับธุรกิจแก้บน โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของผู้บนบานในด้านประสบการณ์การแก้บนให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้กระแสความนิยมแนวคิดธุรกิจขี้เกียจ (Lazy Economy) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการบนบาน 2) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจแก้บน 3) สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 4) ปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบแอปพลิเคชันต้นแบบ</p> <p>ผลการวิจัยได้มาซึ่ง 1) รูปแบบความเชื่อเรื่องการบนบานและการแก้บนในประเทศไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีเทวดาตาพลีของศาสนาพุทธ เป็นความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมายาวนานเพื่อขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เมื่อได้สำเร็จดังปราถนาก็จะถวายเครื่องแก้บนตามที่กล่าวไว้ และเมื่อได้ศึกษาถึงลักษณะพฤติกรรมของผู้มีความเชื่อเรื่องการบนบาน 100 คน พบว่าผู้บนบานต้องเผชิญปัญหาตั้งแต่ก่อนการบนบานจนกระทั่งแก้บนสำเร็จ รูปแบบความเชื่อส่วนบุคคลที่นับถือเทพเจ้ามากที่สุด รูปแบบและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบนบาน รวมถึงพบทัศนคติเชิงบวกของผู้ตอบแบบสอบถามที่ให้ความสนใจการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจแก้บน ซึ่งเป็นโอกาสดีทางธุรกิจที่ควรนำไปพัฒนาต่อ 2) ผลงานการออกแบบแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับธุรกิจแก้บน ที่พัฒนาจากปัญหาของผู้บนบานและความต้องการของธุรกิจแก้บน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจพฤติกรรมผู้บนบานในเขตพื้นที่ราชประสงค์ จ.กรุงเทพมหานคร และรูปแบบออนไลน์ จำนวน 100 ชุด รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบ ที่มีเมนูสำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1) สินค้าแก้บน (Product) 2) บริการผู้ช่วยแก้บน (Bon Buddy) 3) สำรวจ (Explore) 4) บันทึกแก้บน (Memo) จากผลการศึกษาดังกล่าวไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่และพัฒนาประสบการณ์ของผู้บนบานให้สะดวกสบายเท่านั้น แต่ยังสร้างโอกาสในธุรกิจแก้บนให้มีความทันสมัยและเข้าถึงผู้ใช้งานในช่องทางที่ต่างออกไปเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>}, number={2}, journal={วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม}, author={ผลศิริ ณัฐญา and พันธบุตร เสาวลักษณ์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={22–33} }