@article{อิทธิจารุกุล_แพทยานนท์_2021, place={Bangkok, Thailand}, title={ความสัมพันธ์ระหว่างบทภาพยนตร์ การแสดง และการตัดต่อ}, volume={9}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/249784}, abstractNote={<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบทภาพยนตร์ การแสดง  และการตัดต่อ  รวมถึงการมีเหตุผล  และการร่วมมือกัน  ระหว่างศาสตร์การเขียนบทภาพยนตร์ การแสดง และการตัดต่อ  โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลบทภาพยนตร์ซึ่งเป็นหัวใจของสร้างภาพยนตร์  หากบทภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จก็ไม่สามารถสร้างภาพยตร์ได้อย่างลุล่วงด้วยดี การสร้างบทภาพยนตร์ที่ดีควรมีการยืดหยุ่นให้แก่การแสดงและการตัดต่อด้วย โดยที่ นักแสดงบางคนอาจจพูดบทตามความเข้าใจของตนเองได้ตรงกับผู้เขียนบทที่ต้องการสื่อสารเพียงแค่หนึ่งร้อยเปอร์เซ็น  เช่นเดียวกับการตัดต่อ หากลองเปิดโอกาสให้ผู้ทำหน้าที่ตัดต่อภาพยนตร์ ได้ทดลองเรียงร้อยและตัดภาพที่ถ่ายทำมาก็จะทำให้เกิดการสร้างงานรูปแบบใหม่ เนื่องจากการถ่ายทำตามสตอรี่บอร์ดหรือการแสดงตามบทภาพยนตร์ไม่ได้หมายถึงการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์เสมอไป</p> <p>            บทภาพยนตร์ควรยืดหยุ่นให้ส่วนประกอบอื่นได้เข้ามีร่วม โดยเฉาะถ้าผู้เขียนบทภาพยนตร์ภาพยนตร์มีทักษะทางด้านการแสดง และการตัดต่อ ก็จะส่งผลให้การเขียนบทภาพยนตร์ดีขึ้น ในขณะเดียวกันหากนักแสดงมีทักษะด้านการเขียนบทและการตัดต่อ หรือ คนผู้ทำหน้าที่ตัดต่อภาพยนตร์มีทักษะในการเขียนบทและการแสดง ก็จะทำให้ภาพยนตร์มีความกลมกลืนไปในทิศทางเดียวกันและประสบความสำเร็จโดยง่าย ทั้งนี้การจะเรียนรู้ทั้งสามองค์ประกอบเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากเพียงแต่ผู้สร้างงานอาจจะลืมเรื่องการทำงานร่วมกัน ทุกองค์ประกอบจะเกี่ยวโยงกันหมดขาดสิ่งใด ไปสิ่งหนึ่งอาจจะทำให้ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ดังนั้นบทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบสามอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น    และนำมาวิเคราะห์ รวมทั้งวิธีการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้คงความสมดุลย์แก่ภาพยนตร์ และทำให้การสร้างภาพยนตร์ออกมาดี</p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม}, author={อิทธิจารุกุล พัดชา and แพทยานนท์ ปรวัน}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={196–202} }