@article{อินทร์จันทร์_2022, place={Bangkok, Thailand}, title={แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 }, volume={10}, url={https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/257192}, abstractNote={<p>งานวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะของภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในปัจจุบัน และ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21  โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ ทรรศนะของกลุ่มผู้สอน จำนวน 136 คน และ ทรรศนะของกลุ่มผู้เรียน จำนวน 313 คน โดยจัดโครงสร้างเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) คุณลักษณะเฉพาะเชิงพฤติกรรม (Attributes) และด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดง โดยได้นำข้อมูลช่วงอายุโดยแบ่งตาม Generation เพื่อวิเคราะห์ความคิดและทรรศนะ แสดงความเชื่อมโยง จากนั้นนำมาสร้างแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 โดยประมวลผลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับผลการวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม เมื่อใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยพบว่าทั้งผู้เรียนและผู้สอน มีความเห็นถึงความสำคัญด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยคุณลักษณะด้านความรู้ที่ควรมีคือ สามารถอธิบายความรู้ด้านนาฏศิลป์ และการละครไทยได้เป็นอย่างดี และต้องมีความรู้ที่หลากหลายสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆในการทำงานข้ามศาสตร์ คุณลักษณะด้านทักษะที่ควรมีคือ  ทักษะด้านการนับจังหวะ ทักษะในบริหารการจัดการแสดง และทักษะด้านการสื่อสาร ลักษณะเฉพาะเชิงพฤติกรรม (Attributes)<strong>  </strong>ที่ควรมีคือ คุณลักษณะทางด้านความอดทนต่อการปฏิบัติงาน และการเป็นแบบอย่างของคุณธรรมจริยธรรม และศีลธรรมที่ดี ความกล้าแสดงออก และมีพฤติกรรมการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ในการพัฒนาด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดงที่ควรมีคือ มีบุคลิกของการตื่นรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์  มีภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ในทางสถิติ ด้วย t-test และ f-test พบว่าผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ได้แก่ ระดับการสอนหรือระดับการศึกษา ของกลุ่มผู้สอนในระดับอุดมศึกษาสูงกว่า กลุ่มผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ในขณะที่กลุ่มผู้เรียนไม่มีความต่างกัน    พบว่าผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างช่วงอายุในแต่ละ Generation ระหว่าง กลุ่มครู (Gen X, Gen Y) กับ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา (Gen Z) จะมีระดับความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านทักษะ (Skills) เพียงด้านเดียวที่ไม่แตกต่าง</p> <p>พบว่าแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 มี 6 แนวทางได้แก่ 1. ส่งเสริมพัฒนาทักษะการสื่อสาร และการบริหารจัดการแสดง 2.การยกระดับศักยภาพครูศิลปะการแสดง ให้มีความรู้ที่หลากหลาย สามารถเสาะแสวงหาความรู้ เชื่อมโยง และถ่ายทอดสู่ผู้เรียน 3.ปรับบทบาทของครูศิลปะการแสดงจากผู้สอน เป็นผู้อำนวยการศึกษา (Facilitator) และเป็นนักสร้างสรรค์ 4.ส่งเสริมทักษะการใช้สื่อ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 5.ส่งเสริมพัฒนาภาพลักษณ์ของครูศิลปะการแสดงให้มีความทันสมัย และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 6. รักษาความเป็นภาพลักษณ์ของบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของไทย</p>}, number={1}, journal={วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม}, author={อินทร์จันทร์ นพดล}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={189–199} }