TY - JOUR AU - แพทยานนท์, ปรวัน PY - 2017/07/01 Y2 - 2024/03/28 TI - การศึกษาบทบาทและทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ JF - วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม JA - J. Soc. Commun. Innov. VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/119363 SP - 168-175 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>การศึกษาบทบาทและทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท กระบวนการของการทำงาน และทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน&nbsp; โดยศึกษาผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 39 คน มีเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดประเมินค่า 5 ระดับโดยแบ่งเป็นการตอบแบบสอบถามสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับผู้ฝึกแสดงแสดง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ที่มีประสบการณ์ในการฝึกนักแสดงไม่ต่ำกว่า 2 เรื่อง</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลจากการศึกษาพบว่าบทบาทของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์มีหน้าที่ค่อนข้างหลายหลาย&nbsp; กล่าวคือทำหลายบทบาทด้วยกัน&nbsp; นอกเหนือจากเป็นผู้ฝึกนักแสดงแล้ว ในขณะเดียวกัน ยังมีบทบาทเป็นผู้กำกับ อาจารย์ ผู้คัดเลือกนักแสดง รวมถึงเป็นนักธุรกิจอีกด้วย&nbsp; โดยมากจะประกอบอาชีพอิสระ และมีอาชีพอื่นนอกจากผู้ฝึกนักแสดงเพียงอย่างเดียว&nbsp; ส่วนในเชิงปริมาณของจำนวนหน้าที่ในตำแหน่งของฝ่ายฝึกนักแสดง มีหน้าที่หลักที่กล่าวเช่นเดียวกันคือหน้าที่การฝึกนักแสดงหน้ากองถ่ายภาพยนตร์&nbsp; หากแต่ในกระบวนการฝึกนักแสดงนั้นจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้บังคับบัญชาของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ ได้แก่ ผู้กำกับภาพยนตร์ รองลงมาได้แก่&nbsp; ผู้ช่วยผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้าง มีกระบวนการในการทำงาน 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1.อ่านบทเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องราวและผู้เขียนบท 2.วิเคราะห์บทละคร 3.วิเคราะห์ตัวละคร 4.การประชุมหารือกับผู้จัด ผู้ช่วยผู้กำกับ และผู้กำกับการแสดง ในการกำหนด ตัวละคร สไตล์การแสดง และการนำเสนอสู่ผู้ชม 5.ขั้นตอนการหาข้อมูลสไตล์การแสดงสำหรับตัวละคร 6.ช่วงฝึกนักแสดงก่อนถ่ายทำ 7.การฝึกหน้ากองถ่าย และดูแลการแสดงในวันถ่ายทำ 8.ประชุมสรุปก่อนออกคิวถ่ายถัดไป</p><p>ทัศนะต่อลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ไทยในปัจจุบันนั้นผู้วิจัยพบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงตามทัศนะของผู้ร่วมงานกับผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ไทย ลำดับที่ 1 คือ การให้ความสำคัญกับการมีจิตวิทยาในการพูด (ทักษะการสื่อสาร) ลำดับที่ 2 คือ การเปิดรับสิ่งใหม่ เรียนรู้และพัฒนางานของตัวเองอย่างต่อเนื่องลำดับที่ 3 คือการมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ลำดับที่ 4 คือ ความใจเย็น อดทนอดกลั้น และลำดับที่ 5 คือ การสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้ฝึกนักแสดงภาพยนตร์ไทยจากผู้ฝึกการแสดงภาพยนตร์ ลำดับที่ 1 คือ การมีจิตวิทยาในการเข้าถึงมนุษย์&nbsp; ลำดับที่ 2 คือ การมีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี&nbsp; ลำดับที่ 3 คือ การมีความรู้ความเข้าใจการแสดงและการฝึกนักแสดง ลำดับที่ 4 คือ การมีความอดทนสูง และลำดับที่ 5 คือ สามารถสื่อสารได้ดี</p><p><strong>คำสำคัญ:</strong> ลักษณะอันพึงประสงค์ / ผู้ฝึกนักแสดง / นักแสดง</p><p>&nbsp;</p><p>Abstract</p><p>The objectives of this study are to research the roles, working processes,and attitudes towards the desired characteristics of an acting coach in Thai’s film. Thirty-nine acting coaches and related persons are involved in this study. The study was conducted by deploying two approaches. First, in-depth interviews of the acting coaches with acting coach experiences of least two films were conducted. Second, related persons were requested to respond to five-point scale questionnaires. The researcher found that the roles of an acting coach are various, ranging from coach, director, instructor, casting staff, to business owner. Additionally, the researcher also found that most of acting coaches are freelancers and having other careers besides being acting coach. For the duty of an acting coach, the researcher found that the main duty is coaching, however, with various and different methods. The results of the study clearly demonstrate that an acting coach is working under supervision of a director, an assistant director, and a producer consecutively. The working process of an acting coach composes of eight steps which can be shown as following: 1.Study the play scripts, 2.Analyze the play, 3.Analyze the characters, 4.Arrange the meeting with the director, the assistant director, and the producer in order to determine the characters, acting styles, and presentation styles, 5.Explore the acting styles for the characters. 6.Coaching, 7.Control the actor on set, and 8.Discuss with team after the production.</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Furthermore, for the attitude towards the desired characteristics of an acting coach, the related persons clearly demonstrate five desired characteristics of an acting coach which they prefer. These five desired characteristics can be shown consecutively as following: 1.An acting coach should have psychological communication skill, 2. An acting coach should be open-minded to a new thing, moreover, he/she should extend his/her skill continuously, 3. An acting coach should have creativity and imagination, 4. An acting coach should have mental calm and great patience, and 5. An acting coach should have the excellent cooperative working ability. While the desired characteristics of an acting coach in the perspective of the acting coaches themselves can be shown consecutively as following: 1. An acting coach should have the psychological ability in human understanding, 2.An acting coach should have excellent impromptu problem-solving skill, 3. An acting coach should thoroughly understand the science of acting and coaching. 4. An acting coach should have great patience, and 5. Acting coach should have excellent communication skill.</p><p>&nbsp;</p><p><strong>Keywords:&nbsp;</strong>Desired Characteristic / Acting Coach / Actor</p> ER -