TY - JOUR AU - จันทร์สมดี, รติรส PY - 2022/06/28 Y2 - 2024/03/29 TI - การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างเจตคติเชิงบวกต่อคนพิการ JF - วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม JA - J. Soc. Commun. Innov. VL - 10 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/249558 SP - 58-71 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)  ดำเนินงานวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)  <strong> </strong>การศึกษาครั้งนี้แบ่งกลุ่มการศึกษาเป็น 2 กลุ่มผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ 1.กลุ่มมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์ (Online group) โดยกลุ่มนี้มีผู้เข้าร่วม 5 ส่วน (5 keys stakeholder) ได้แก่คนพิการ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในการทำสื่อ คนทั่วไป และผู้วิจัย จำนวนทั้งหมด 12 คน 2. กลุ่มผู้มีส่วนร่วมรูปแบบออฟไลน์ (Offline group) มีบทบาทเป็นกลุ่มผู้ผลิตสื่อ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย นักแสดง ฝ่ายถ่ายทำและตัดต่อ คนพิการและผู้วิจัยโดยกระบวนการศึกษาครั้งนี้รวมมีผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด 20 คน วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสื่อที่สร้างเจตคติเชิงบวกของคนทั่วไปที่มีต่อคนพิการในรูปแบบการสื่อสารผ่านช่องทางแบบออนไลน์  สื่อที่ได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมคือสื่อภาพยนตร์สั้นความยาว 12 นาที ชื่อ "Just Blind" เนื้อหา และวิธีการนำเสนอที่ได้จากกระบวนการแบบมีส่วนร่วมพบว่าควรสร้างให้เรื่องคนพิการเป็นเรื่องปกติ มีความหลากหลายในการนำเสนอ ไม่ยกชูให้เก่งเหนือมนุษย์ และสร้างให้เห็นถึงผลของการหล่อหลอมการรับรู้เรื่องความแตกต่างตั้งแต่เด็กๆ ผลการศึกษาด้านกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์พบว่าบทบาทของคู่สื่อสารในกลุ่มออนไลน์ ในกระบวนการนี้ผู้วิจัยมิได้เล่นบทเป็นผู้นำการสื่อสารแต่เพียงผู้เดียวแต่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยประเด็นต่างๆ คู่สื่อสารมีการสลับบทบาทเป็นผู้ถามตอบในกลุ่มของผู้มีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตร สามารถสร้างความร่วมมือจากกลุ่มผู้มีส่วนร่วมที่อยู่ในพื้นที่เชิงกายภาพที่ห่างไกล สามารถเกิดปฏิสัมพันธ์ในประเด็นที่เข้าใจร่วมกันได้ ผู้มีส่วนร่วมสามารถแสดงข้อคิดเห็นตามเวลาที่สะดวก ข้อจำกัดของการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมรูปแบบออนไลน์สำหรับคนพิการคือการเข้าถึงเนื้อสาร ความเข้าใจเนื้อสาร และความไม่มั่นใจในการสื่อสาร</p> ER -