https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/issue/feed วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2023-12-26T00:00:00+07:00 ดร.วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์ [email protected] Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม เป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันเป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุ่มที่ 2 สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นวารสารวิชาการรายครึ่งปี (ปีละ 2 ฉบับ) โดยพิจารณาเผยแพร่บทความที่มีเนื้อหา ดังต่อไปนี้</p> <p>1. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์</p> <p>2. การสื่อสาร ; การสื่อสารเพื่อสุขภาพ ; การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว; การสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม; การสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์</p> <p>3. ศิลปะร่วมสมัยและการออกแบบสื่อร่วมสมัย</p> <p>4. เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม</p> <p>5. ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การแสดงและกำกับการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การออกแบบเพื่อการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การจัดการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล</p> <p>6. การจัดการและการบริหารธุรกิจไซเบอร์</p> <p>7. สื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/265197 การสร้าง Micro-influencer จากกรณีศึกษาของยูทูเบอร์ในประเทศไทย 2023-07-17T15:34:58+07:00 ฐิศิรักน์ โปตะวณิช [email protected] เบญจวรรณ อารักษ์การุณ [email protected] <p>ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องการให้ความสนใจต่อคนดังเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการเพิ่มขึ้นของโซเชียลมีเดีย ภูมิทัศน์ของสื่อจึงเปลี่ยนไป ในปัจจุบันผู้คนสามารถได้รับอิทธิพลจากบุคคลธรรมดาทั่วไปที่เรียกว่า Micro-influencer มากกว่าผู้มีชื่อเสียงแบบดั้งเดิม งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนผ่านที่บุคคลธรรมดาสามารถกลายเป็น Micro-influencer ได้ในภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศไทย จากการศึกษา 24 กรณีศึกษาของยูทูเบอร์ชาวไทยที่มีผู้ติดตาม 10,000 ถึง 100,000 คน ผู้วิจัยสำรวจว่า Micro-influencer เหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อผู้ติดตามของพวกเขาอย่างไร การศึกษานี้ใช้ทฤษฎีของต้นทุนทางวัฒนธรรมของ Bourdieu (1984) และพฤติกรรมผู้บริโภคของ Holt (1995) นักวิจัยได้สังเกตการณ์ช่องของยูทูเบอร์ และพฤติกรรมการบริโภคของทั้งตัวผู้มีอิทธิพลและผู้ติดตามผ่านระเบียบวิจัยที่เรียกว่า Netnography หรือ ชาติพันธุ์วรรณนาทางอินเทอร์เน็ต งานวิจัยได้ค้นพบปัจจัยด้านความเกี่ยวข้อง (Relevancy) กิจวัตร (Ritual) การแทนที่ไม่ได้ (Irreplaceability) และความสัมพันธ์ (Relatability) โดยนำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลที่นอกเหนือไปจากการใช้ความงามทางกายภาพ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของต้นทุนทางวัฒนธรรมสำหรับผู้มีอิทธิพลในการสร้างผลกระทบที่มีความหมายต่อชีวิตของผู้ติดตาม ท้ายที่สุดแล้ว การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกสำหรับองค์กรสื่อในประเทศไทยให้เติบโตในยุคดิจิทัล</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268565 แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ 2023-11-01T15:33:45+07:00 ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล [email protected] เมธชนนท์ ประจวบลาภ [email protected] เจษฎากร อังกูลพัฒนาสุข [email protected] ฐาณิษา สุขเกษม [email protected] <p>การวิจัยมีนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในการศึกษาในระบบ และเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ (2) เปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็นขั้นตอน ตอนที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ในความดูแลของการศึกษาในระบบ จำนวน 466 คน และการศึกษานอกระบบ จำนวน 489 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีชุดแบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ตอนที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการพัฒนาและจัดทำแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีประเด็นและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนการศึกษาในระบบภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก (ร้อยละ 85.37) และเด็กและเยาวชนในการศึกษานอกระบบภาพรวมอยู่ที่ระดับดีมาก (ร้อยละ 81.50) (2) เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ (3) แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ ประกอบด้วยประเด็นพิจารณาด้านวัตถุประสงค์ต้องกำหนดให้สามารถพัฒนาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านเนื้อหาสาระของสื่อเน้นการพัฒนาทักษะการสื่อสาร แนวทางการพัฒนาสื่ออาจใช้รูปแบบการพัฒนาสื่อที่พัฒนาขึ้นหรือนำรูปแบบที่มีผู้พัฒนาไว้แล้วมาใช้ สื่อที่ควรพัฒนาต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อ ด้านการประเมินสื่อควรประเมินเนื้อหาและประสบการณ์ที่ถ่ายทอด และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ควรคำนึงถึงเป้าหมายการเรียนรู้และผู้พัฒนาสื่อต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของเด็กและเยาวชน</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268156 “อินเดียไร้เงินสด”: การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ฟินเทค และบริการการเงินที่ทั่วถึง 2023-11-01T15:53:20+07:00 บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล [email protected] <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของภาคบริการการเงินของประเทศอินเดีย ภายใต้นโยบาย “อินเดียไร้เงินสด” ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในภาคธนาคาร สถาบันการเงิน และบริษัทฟินเทค รวมทั้งนักวิจัยและนักวิชาการที่ศึกษาและเปิดการเรียนการสอนด้านการเงินการธนาคาร การจัดการธุรกิจและฟินเทคของอินเดียทั้งหมด 22 คน ผลการวิจัยเสนอว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลในภาคบริการการเงินเกิดจากปัจจัยหลัก 7 ประการ ได้แก่ 1) โครงการ “ชนธนโยชนา” หรือนโยบายเปิดบัญชีธนาคารให้กับคนจน 2) โครงการ AADHAAR หรือฐานข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชนและข้อมูลไบโอเมทริกซ์ 3) แพลตฟอร์มการชำระเงิน UPI 4) อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 5) อัตราการมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6) การยกเลิกธนบัตร 7) การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ปัจจัยที่กล่าวมาทำให้ธุรกรรมบนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาบริการด้านสินเชื่อดิจิทัล โดยบริษัทฟินเทคเป็นผู้เล่นสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมเติบโตเป็นอันดับต้นของโลก ซึ่งอยู่บนฐานการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นทุนเดิมของอินเดีย อย่างไรก็ตาม การให้บริการการเงินที่ทั่วถึงยังเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องด้วยอินเดียเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมาก และมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษาสูง ตลอดจนความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทและเมือง ที่ทำให้การเข้าถึงทักษะด้านการเงินและเทคโนโลยีดิจิทัลยังเป็นข้อท้าทายในการพัฒนา ที่สำคัญคือโครงสร้างทางสังคมอินเดียที่ผู้หญิงยังเป็นเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ต่ำกว่าผู้ชาย นำไปสู่การเข้าถึงบริการการเงินที่ไม่เท่าเทียมในเชิงเพศภาวะ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/265721 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานต้นคลุ้มที่ตกแต่งพื้นผิวด้วยเทคนิคการเผา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีจ้าวภูผา จันทบุรี 2023-07-12T14:26:27+07:00 ณภัค แสงจันทร์ [email protected] พนม จงกล [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นคลุ้มของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีเจ้าภูผาที่ผ่านการตกแต่งพื้นผิวด้วยเทคนิคการเผา เพื่อเป็นการสร้างเฉดสีและลวดลายให้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มมีความแตกต่าง จากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีการสานลวดลายจากคลุ้มสีธรรมชาติเท่านั้น โดยแบ่งเป็นสองเทคนิค คือ การจี้ร้อนใช้กับการวาดลวดลายบนแผ่นสานคลุ้ม และการเผาเชาสุกิบันใช้กับการสร้างสีบนตอกคลุ้มสำหรับสาน ร่วมกับการหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามความต้องการ เครื่องจักสานจากต้นคลุ้มในจังหวัดจันทบุรี ของผู้บริโภคจำนวน 357 คนมาวิเคราะห์และออกแบบร่างผลิตภัณฑ์ จากต้นคลุ้มที่ผ่านการตกแต่งพื้นผิวด้วยการเผาทั้งสองเทคนิค เทคนิคละ 2 ประเภท คือ 1.ประเภทตะกร้า 2.ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อม แต่ละประเภทออกแบบ 4 แบบร่าง ให้ผู้เชี่ยวชาญใช้แบบประเมินคัดเลือกแบบร่างที่มีคะแนนสูงสุดเพื่อผลิตต้นแบบ ผลวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากคลุ้มใช้เทคนิคการจี้ร้อนประเภทตะกร้ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.14) ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.22) ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานจากคลุ้มใช้เทคนิคการเผาแบบเชาสุกิบันประเภทตะกร้ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 1 (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=4.06 )ประเภทแผ่นรองจานและช้อนส้อมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบร่างที่ 3 (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />=3.95)</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/265634 ปัจจัยด้านการสื่อสาร และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ของประเทศไทย 2023-07-12T14:12:15+07:00 อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ [email protected] <p>งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยด้านการสื่อสาร และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19” เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรเพศชายและหญิง อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยโดยมีการเก็บแบบสอบถามผ่านช่องทาง online จำนวน 400 ชุด ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะประชาชนที่เคยเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบที่เคยเสียค่าใช้จ่าย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 นักวิ่งเคยเสียค่าใช้จ่ายการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนทั้งในรูปแบบการวิ่งปกติและรูปแบบเวอร์ชวลรัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเดียวกัน โดยกลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนเฉลี่ย 4.6 ปี ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการวิ่งมาราธอนในรูปแบบที่เสียค่าใช้จ่ายเกินครึ่งเป็นเพศชาย โสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชน/ พนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001 บาทขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (socio-economic status) ที่ดี มีกำลังซื้อสูง</p> <p> ปัจจัยการสื่อสารที่เปิดรับอยู่ในระดับมากที่มีผลในการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรัน คือ การสื่อสารภายในตนเอง (Intrapersonal communication) กล่าวคือ ตัดสินใจสมัครวิ่งด้วยตนเอง เพราะการวิ่งมาราธอนเป็นการใช้ความอดทนและความกล้าหาญในการเอาชนะขีดความสามารถของตนเองในการตั้งเป้าหมายแต่ละครั้ง ขณะที่ปัจจัยช่องทางการสื่อสารที่มีต่อการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสารช่องทางเดียวที่มีผลต่อการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรันที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ เว็บไซต์ และอินสตาแกรมเป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับอยู่ในระดับปานกลาง</p> <p> นอกจากนี้ยังพบว่า การแพร่กระจายของโควิด-19 ย่อมส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างเคยกระทำในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุดในประเด็น สถานการณ์โควิด-19 มีผลกับการวิ่งมาราธอนในรูปแบบปกติ เนื่องจากผู้ที่เคยสมัครวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรันล้วนแต่เคยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนทั้งในรูปแบบการวิ่งปกติ ทำให้ต้องปรับตัวตามสถานการณ์โดยการสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ซึ่งผู้ที่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน จะเห็นด้วยมากต่อองค์ประกอบด้านชื่อเสียงของผู้จัด เหรียญรางวัลโดนใจ เสื้องานสวย และระบบการส่งผลวิ่งไม่ยุ่งยาก มากกว่าผู้ที่ไม่เคยสมัครวิ่ง ในรูปแบบเวอร์ชวลรัน โดยองค์ประกอบเงินรางวัล เป็นองค์ประกอบเดียวที่ผู้ที่ไม่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน เห็นด้วยมากกว่า ผู้ที่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/266220 การศึกษาและพัฒนาลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์จังหวัดจันทบุรี 2023-08-24T09:46:28+07:00 สิริวิภา วิมุกตายน [email protected] ศาสตรพันธ์ บุญน้อย [email protected] ภัทรา ศรีสุโข [email protected] <p>การศึกษาและพัฒนาลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย การศึกษาข้อมูลเอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านวัฒนธรรม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) การประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัฒนธรรม และการออกแบบกราฟิก ผู้วิจัยนำข้อมูลจากการศึกษามาออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่ม และผลการประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ (accidental sampling)</p> <p> ผลจากการวิจัย พบว่า แนวทางการออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี มีอัตลักษณ์สำคัญที่นำมาใช้ในการออกแบบลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ 1) อัญมณี ประกอบด้วย พลอยแดง พลอยน้ำเงิน พลอยบุษราคัม 2) กระต่ายในดวงจันทร์ ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรี 3) ผลไม้ จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ ผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือทุเรียนพันธุ์หมอนทองซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจ 4) เสื่อจันทบูร หัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของจันทบุรีมาช้านาน ลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมที่ผู้คนรับรู้ได้มากที่สุดคือ ลวดลายของเสื่อจันทบูร และนำมาทำการออกแบบกราฟิกเชิงวัฒนธรรมทั้งหมด 10 แบบร่าง ซึ่งประกอบไปด้วย อัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรี จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกเหลือเพียง 3 แบบ จากนั้นนำไปให้นักท่องเที่ยวประเมินความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรม พบว่า ลำดับที่ 1 คือ แบบที่ 1 ชื่อ ผลงานประกายเสื่อ มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 4.38 (S.D.=0.71) ลำดับที่ 2 คือ แบบที่ 3 ชื่อ กระต่ายลักษณ์จันท์ มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 4.24 (S.D.=0.79) และลำดับที่ 3 คือ แบบที่ 2 ชื่อผลงาน อัญลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมความพึงพอใจต่อแบบร่างลวดลายกราฟิกเชิงวัฒนธรรมเท่ากับ 3.78 (S.D.=0.93)</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/266075 การศึกษาอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ 2023-07-12T14:34:24+07:00 วิมลิน สันตจิต [email protected] สามารถ จันทนา [email protected] จุฑาทิพย์ นามวงษ์ [email protected] ศันสนีย์ อาจนาฝาย [email protected] <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาข้อมูลและรวบรวมองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์วังสวนบ้านแก้วจังหวัดจันทบุรี 2) ออกแบบเครื่องประดับที่สื่อถึงอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วจังหวัดจันทบุรี มีวิธีการดำเนินงาน โดยการศึกษาข้อมูล เอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้ว เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก กลุ่มที่ 2 นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมวังสวนบ้านแก้ว จำนวนประชากรเฉลี่ย 360 คน โดยกำหนดเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คนตามวิธีการสุ่มจำนวนประชากรจากตารางเคร็จซี่และมอร์แกน กลุ่มที่ 3 ประเมินแบบจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบเครื่องประดับอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้ว พบว่าอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วที่ผู้คนรับรู้ได้มากที่สุดคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ซึ่งเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ เป็นส่วนที่ผู้คนระลึกถึงที่อยู่คงทนกับวังสวนบ้านแก้วและองค์ความรู้ที่มีความโดดเด่น แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ ประวัติศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สถาปัตยกรรม หัตถกรรมภูมิปัญญาและสวนส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผ่านการรับรู้จากการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์และการลงพื้นที่ ผลการวิจัยรูปแบบเครื่องประดับจากแบบร่างทั้งหมด 3 ชุดซึ่งประกอบไปด้วย สร้อยพร้อมจี้ สร้อยข้อมือ พินกลัดเสื้อ คัดเลือกโดยเกณฑ์การออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแบบร่างที่ 2 พลวัตแห่งความรู้ Dynamic of knowledge มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย = 4.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.57</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/267583 การศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี 2023-09-28T14:23:43+07:00 สุพิชญา จันทร์ลอย [email protected] ประภัสสร สมสถาน [email protected] <p>การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี โดยงานวิจัยฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน สามารถแสดงผลการวิจัยได้ดังนี้ </p> <p> ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พบว่า ด้านเพศ ของนักศึกษาปวช. พบว่า เพศชาย จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 55.0 รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 45.0 ตามลำดับ ด้านระดับการศึกษา พบว่า ระดับ ปวช. จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 80.0 รองลงมาเป็นปวส. จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 ตามลำดับ และด้านอายุของนักศึกษาปวช. เฉลี่ยเท่ากับ 18.07 ปี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.699 ส่วนนักศึกษาปวส. อายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.05 ปี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.705</p> <p> ทั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกด้านที่สภาพปัญหาของทักษะด้านการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดมาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง โดยนำแนวทางที่สร้างขึ้นไปดำเนินการสนทนากลุ่ม พบว่า การพัฒนาทักษะด้าน</p> <p>การสื่อสารด้วยการพูดที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างในวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีสามารถทำได้ผ่านกิจกรรมที่มีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ได้แก่ 1. การเสริมสร้างความมั่นใจ 2. การฝึกฝนการใช้ภาษาเชิงวิชาการ 3. <span style="font-size: 0.875rem;">การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่เป็นไปได้ 4. การใช้เทคโนโลยี 5. การฟังและตอบ 6. การสร้างสรรค์ 7. การบันทึกและการวิเคราะห์ 8. การสนับสนุนกลุ่ม 9. การให้ข้อคิดเห็นและประเมิน และ 10. การทบทวนและปรับปรุง ในส่วนของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารที่เน้นความตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้องของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างในวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ควรจัดกิจกรรม ได้แก่ 1. การอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล 2. การฝึกเขียนรายงาน 3. การอธิบายเนื้อหา 4. การสนับสนุนการโต้เถียงและการวิจารณ์ 5. การนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ 6. การออกแบบโครงการ 7. การเรียนรู้ผ่านแบบจำลองหรือการจำลองสถานการณ์ 8. การประเมินความถูกต้องของข้อมูล 9. การสนับสนุนการอ่านและวิจัย และ 10. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้</span></p> <p>ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง พบว่า ผู้ประกอบการ จำนวน 5 คน และคณาจารย์ด้านภาษาไทยที่สอนในวิทยาลัยเทคนิคมีบุรี จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน ได้มีความเห็นที่ตรงกันว่า การประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้องของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพื่อยืนยันความเหมาะสมในการนำไปใช้จริง นี้ มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/267682 การศึกษาการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับ ความทรงจําของ ผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อประวัติศาสตร์ไทยสมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2023-11-17T10:43:12+07:00 พัดชา อิทธิจารุกุล [email protected] อุสุมา สุขสวัสดิ์ [email protected] สุภฆเณศร์ ชุณหศิริรักษ์ [email protected] <p>การศึกษาการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อความทรงจําประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ผ่านการศึกษาจากการผลิตภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “นิทานจากป่า (Comrade’s tales)” ถือเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการสัมภาษณ์ของผู้มีประสบการณ์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา อย่าง เทพศิริ สุขโสภา ศิลปินแห่ง ชาติในสาขาวรรณศิลป์ อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนหนังสือนิทานที่ ได้เข้าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อรวบรวม ข้อมูลก่อนที่จะมีอาการอัลไซเมอร์ และได้พบว่าประวัติศาสตร์ กลับถูกปกปิดและบิดเบือนโดยงานวิจัยการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการ สร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ ต่อความทรงจํา ประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2) เพื่อให้คนตระหนักถึงการสร้าง ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีแบบมีส่วนร่วม (Participatory Documentary) ซึ่งเป็นสารคดีประเภทที่ผู้ผลิตภาพยนตร์เข้ามามีบทบาทในสารคดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น มีเสียงสัมภาษณ์ของผู้ผลิตในผลงาน เป็นต้น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การผลิตภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อความทรงจําประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีความยากลำบากในการเก็บข้อมูล และตัดต่อ เนื่องจากผู้ที่มีภาวะอัลไซเมอร์จะให้สัมภาษณ์เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ทำให้การเก็บข้อมูลในระยะเวลาอันสั้นนั้นทำได้ยาก และเมื่อได้ข้อมูลมาปริมาณน้อยก็จะส่งผลให้ มีปัญหาในการตัดต่อภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดี และทำให้ผู้ชมตระหนักถึงการสร้างภาพยนตร์สารคดี ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย มากขึ้น</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/267951 การนำเสนอชีวิตคนไร้บ้านในภาพยนตร์ Les amants du Pont-Neuf 2023-09-27T16:33:11+07:00 พิชัยวัฒน์ แสงประพาฬ [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การทำงานในเชิงความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ใน Les amants du Pont-Neuf (1991) ผ่าน แนวคิดสัญวิทยาทางภาพยนตร์ โดยผลงานดังกล่าวได้นำเสนอเรื่องราวชีวิต ความเจ็บปวด ความลำบาก และความรักของคนไร้บ้านในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผลจากการวิเคราะห์ ทำให้เห็นถึงศักยภาพของศิลปะภาพยนตร์ในการสื่อสารความเป็นชายขอบ (Marginality) ที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ ตระหนักถึงความเป็นจริงในชีวิตของเหล่าคนไร้บ้าน รวมไปถึงความรู้สึกทั้งทุกข์และสุขภายในจิตใจของพวกเขา</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268453 การให้บริการข้อมูลทางการศึกษา ด้วยระบบไลน์แชตบอท ผ่านกลไกการติดต่อระหว่าง REST API และ LINE Messaging API 2023-11-01T14:50:29+07:00 สิทธิชัย วรโชติกำจร [email protected] พัชราภรณ์ วรโชติกำจร [email protected] <p>บทความทางวิชาการนี้อธิบายรูปแบบการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานกับระบบโต้ตอบอัตโนมัติแบบไลน์แชตบอทผ่านกลไกการติดต่อระหว่างเรส เอพีไอ (REST API) และไลน์เมสเสจจิ้ง เอพีไอ (LINE Messaging API) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้กับผู้พัฒนาไลน์แชตบอท สามารถนำแนวความคิดการทำงานไปพัฒนาแอปพลิเคชันได้ โดยศึกษาจากตัวอย่างจากการให้บริการข้อมูลทางการศึกษาด้วยระบบไลน์แชตบอท โดยใช้เครื่องมือของไลน์เมสเสจจิ้ง เอพีไอ สำหรับเชื่อมต่อระบบสู่ภายนอก โดยมีเว็บฮุค <br />ยูอาร์แอล (Webhook URL) ทำหน้าระบุที่อยู่ปลายทางของบอทเซิร์ฟเวอร์ (Bot Server) ซึ่งผู้พัฒนาแชตบอทสามารถนำ<br />แอปพลิเคชันที่ต้องการให้บริการข้อมูลตอบกลับไว้ในส่วนบอทเซิร์ฟเวอร์</p> <p>วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันแชตบอทจะใช้หลักการที่เรียกว่า เรส เอพีไอ สำหรับจัดการข้อมูลการโต้ตอบ โดยส่งข้อมูลไปยังไลน์เมสเสจจิ้ง เอพีไอ ของไลน์เซิร์ฟเวอร์ (LINE Server) เพื่อส่งข้อมูลตอบกลับให้ผู้ใช้งานไลน์แชตบอทได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทันทีทันใด โดยวิธีการที่พัฒนาจะทำงานบนโปรโตคอล HTTPS โดยรับส่งข้อมูลในรูปแบบ JSON ผ่านแพลตฟอร์มในแอปพลิเคชันไลน์ (Line Application)</p> <p>ดังนั้นบทความทางวิชาการนี้ สามารถให้ความรู้กลไกการทำงานระหว่างเรส เอพีไอ และไลน์เมสเสจจิ้ง เอพีไอ ในการสร้างไลน์แชตบอท และเป็นแนวทางการพัฒนาเครื่องมือการโต้ตอบข้อความอัตโนมัติ ตลอดจนนำไปใช้ในการอ้างอิงวารสารทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/267526 กลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทย 2023-11-01T14:20:11+07:00 อาทิตย์ เกษหอม [email protected] <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การปราศรัยต่อตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อรับสมัครสมาชิกเครือข่ายร่วมพลักดันนโยบายบำนาญประชาชนเดือนละ 3,000 บาท ณ พื้นที่เขตเลือกตั้งแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลาประมาณ 15.00 น. ถึง 17.00 น. ด้วยแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร แนวคิดกลวิธีทางภาษา และแนวคิดการตลาดทางการเมือง ผลการวิเคราะห์พบว่ากลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทยทั้งในมิติบริบท มิติภาษา และมิติกระบวนการมีความหลากหลาย ซึ่งผ่านกระบวนการปรับใช้และเลือกใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ฯลฯ นอกจากนี้กลวิธีการสื่อสารในมิติต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นยังสามารถสร้างการรับรู้และโน้มน้าวจิตใจแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและถือเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ผู้สมัคร สส.เขต ในพื้นที่กรณีศึกษาสามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างมีนัย</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268737 ศิลปะแห่งการเป็นผู้ประกอบการ: การนำทางไปสู่ความสำเร็จผ่านการออกแบบเพื่อธุรกิจ 2023-11-20T10:48:18+07:00 ณัฐวรรธน์ วิวัฒน์กิจภูวดล [email protected] <p>การศึกษานี้เกี่ยวกับ "ศิลปะแห่งการเป็นผู้ประกอบการ: การนำทางไปสู่ความสำเร็จผ่านการออกแบบเพื่อธุรกิจ" เจาะลึกถึงการทำงานร่วมกันระหว่างหลักการออกแบบและความสำเร็จของผู้ประกอบการ การสำรวจความเชื่อมโยงแบบพลวัตระหว่างความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และความสำเร็จทางธุรกิจ โดยพิจารณาว่าการออกแบบกลายเป็นเข็มทิศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ</p> <p>การวิเคราะห์นี้ เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการออกแบบเพื่อธุรกิจในการกำหนดรูปแบบต่างๆ ไม่เพียงแต่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นนวัตกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานที่ยืดหยุ่นสำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการอีกด้วย โดยกล่าวถึงวิธีที่ผู้ประกอบการจัดการกับความท้าทายโดยการบูรณาการวิธีการออกแบบเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์การออกแบบและผลลัพธ์ของผู้ประกอบการ</p> <p>นอกจากนี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์และคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในอนาคตในด้านการออกแบบเพื่อธุรกิจที่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ "ศิลปะแห่งการเป็นผู้ประกอบการ" ทำหน้าที่เป็นเรื่องราวที่เป็นแนวทางสำหรับนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงาน โดยแนวคิดนี้เสมือนเส้นทางที่เป็นแรงบันดาลใจของการออกแบบและผู้ประกอบการมาบรรจบกัน ส่งเสริมนวัตกรรม และขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน โดยผู้เขียนสามารถสรุปปัจจัยที่ควรคำนึงในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. การคิดเชิงออกแบบและความคิดแบบผู้ประกอบการ 2. การบูรณาการเชิงกลยุทธ์ของการออกแบบในกิจการผู้ประกอบการ 3. นวัตกรรมและการออกแบบ 4. การออกแบบที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในการเป็นผู้ประกอบการ 5. การคิดเชิงออกแบบและการแก้ปัญหา 6. ลักษณะซ้ำของการออกแบบในการเป็นผู้ประกอบการ 7. การสร้างแบรนด์ผ่านการออกแบบ 8. ความเกี่ยวข้องของตลาดและการออกแบบ 9. ความท้าทายและโอกาสในการบูรณาการการออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการ และ 10. เทรนด์ใหม่ที่มาบรรจบกันระหว่างการออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม