วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci <p>วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม เป็นวารสารวิชาการสาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันเป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) กลุ่มที่ 2 สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นวารสารวิชาการรายครึ่งปี (ปีละ 2 ฉบับ) โดยพิจารณาเผยแพร่บทความที่มีเนื้อหา ดังต่อไปนี้</p> <p>1. เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์</p> <p>2. การสื่อสาร ; การสื่อสารเพื่อสุขภาพ ; การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว; การสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม; การสื่อสารเพื่อเศรษฐศาสตร์</p> <p>3. ศิลปะร่วมสมัยและการออกแบบสื่อร่วมสมัย</p> <p>4. เศรษฐกิจ-สังคม-วัฒนธรรม</p> <p>5. ภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การแสดงและกำกับการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การออกแบบเพื่อการแสดงภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล; การจัดการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล</p> <p>6. การจัดการและการบริหารธุรกิจไซเบอร์</p> <p>7. สื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย</p> วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (College of Social Communication Innovation) th-TH วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 3027-7698 <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> พื้นฐานวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลและแนวทางการสร้างทฤษฎีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/270830 <p>ความหลากหลายของรูปแบบวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded Theory Methodology) ทำให้นักวิจัยจำนวนไม่น้อยมีความสับสน ผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างไม่เป็นระบบ (Non-Systematic Literature Review) พบว่างานวิจัยไทยที่ใช้วิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีการอธิบายขยายความถึงเหตุผลหรือที่มาที่ไปของแนวคิด, หลักการ และความแตกต่างของรูปแบบวิธีวิจัย (Variations of Grounded Theory) ผู้เขียนบทความเล็งเห็นว่าหากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารไทยยังไม่เอื้อต่อผู้ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาวิธีวิจัยนี้ อาจส่งผลให้นักวิจัยรุ่นหลังใช้เครื่องมือวิจัยผิดไปจากวัตถุประสงค์หลักของ Glaser และ Strauss ที่เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาวิธีวิจัยนี้ อีกทั้งยังส่งผลให้การตรวจผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยเป็นไปได้ยาก</p> <p>บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายขยายความเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล โดยนำเสนอตัวอย่างการสร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสถิติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และยังมีผลการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาจากบริบทไทยโดยตรง ดังนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่องานวิจัยในอนาคต หากมีการสร้างทฤษฎีที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชากรไทย เพราะทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นตามหลักการของวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลจะเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาจากบริบทที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ของงานวิจัยนั้น ๆ โดยตรง ทฤษฎีสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที และยังสามารถต่อยอดจากการเป็นทฤษฎีที่ใช้ได้ในขอบเขตแรกเริ่มของงานวิจัย (Substantive Theory) ไปสู่การเป็นทฤษฎีกฎเกณฑ์ (Formal Theory) หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายขอบเขตงานวิจัยมากขึ้น</p> มาลียา บุราวาศ จำเนียร จวงตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 125 141 อุดมการณ์ทางการเมือง: Taylor’s Version https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/272362 <p>บทความนี้อภิปรายอุดมการณ์ทางการเมืองของเทย์เลอร์ สวิฟต์ในฐานะตัวแสดงทางการเมือง (political agency) ที่แสดงจุดยืนทางการเมือง สะท้อนผ่านการสื่อสารในผลงานบทเพลงของเธอ ระหว่างปี ค.ศ. 2006-2024 มิวสิควิดีโอ ภาพยนตร์กึ่งสารคดี เรื่อง “Miss Americana” (2020) บนแฟลตฟอร์ม Netflix และการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เขียนวิเคราะห์ตัวบท (Text) โดยใช้แนวคิดการสื่อสารโน้มน้าวใจ (persuasive communication) ภายใต้บริบทสังคมสมัยใหม่ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินสามารถสื่อสารประเด็นทางการเมืองได้</p> <p>ผลงานของเธอนั้นแยกไม่ออกจากบริบททางการเมืองสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผลงานของเธอสะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ ได้แก่ อุดมการณ์สตรีนิยมผ่านเพลง “Look What You Made Me Do” (2017) และเพลง “The Man” (2019) อุดมการณ์เสรีนิยมสะท้อนออกมาในเพลง “You Need to Calm Down” (2019) และอุดมการณ์ประชาธิปไตยด้วยการโพสต์ภาพพร้อมข้อความในบัญชี Instagram ส่วนตัวเมื่อปี ค.ศ. 2018 และเพลง “Only the Young” (2020) ส่งผลให้เกิดการโน้มน้าวใจผู้รับสารได้ ในช่วงท้าย บทความพิจารณาผลสะท้อนจากการสื่อสารอุดมการณ์ทางการเมืองของเทย์เลอร์ สวิฟต์ต่อผู้รับสารในสังคมอเมริกัน และการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2018-2024 อย่างมีนัยสำคัญ</p> ลดาวัลย์ ไข่คำ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 142 155 ชนชั้นกองถ่าย: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตสู่การเลือกปฏิบัติทางลำดับชั้น https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268320 <p>บทความวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกสถานการณ์ทางสังคมและสร้างความเข้าใจต่อความตื่นตัวทางชนชั้นในกองถ่ายของบุคลากรเบื้องหลังท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อสำรวจวิถีชีวิตของคนกองที่แปรผันไปสู่ประเด็นปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติทางลำดับชั้น โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง ‘เส้นแบ่ง’ ในการขยายภาพมิติด้านความสัมพันธ์ที่มีร่วมกันของคนกอง ผนวกเข้ากับแนวคิดเรื่อง ‘สิทธิพิเศษ’ เป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ตกหล่นไปจากการศึกษาด้านบทบาทและตำแหน่งในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ นำไปสู่การค้นหาใจความสำคัญของความเหลื่อมล้ำในกองถ่ายผ่านปัจจัยต่าง ๆ ที่กลายเป็นจุดเปราะบางของแรงงานใต้เส้น อันเป็นปฏิบัติการทางวัฒนธรรมภายใต้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน</p> ณัฐนันท์ เทียมเมฆ เจษฎา ศาลาทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 156 164 การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/270861 <p>วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 99.54 ของธุรกิจทั้งหมด และมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศคิดเป็นร้อยละ 35.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมด ซึ่งความท้าทายของผู้ประกอบการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการไม่มีนวัตกรรมในองค์การ สำหรับการสร้างนวัตกรรมในองค์การสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมการพัฒนาองค์การ เป็นต้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาโอกาสของผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งต้องอาศัยแหล่งข้อมูลจากทั้งภายนอกและภายใน โดยแหล่งข้อมูลภายนอกได้จากการศึกษาความต้องการของลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขายวัตถุดิบ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในโอกาสต่าง ๆ ส่วนแหล่งข้อมูลภายใน ได้มาจากการปรับปรุงกระบวนการภายในองค์การและความคิดเห็นของพนักงานที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า 2) การพัฒนาแนวคิด ซึ่งต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องการขายให้แก่ลูกค้ากลุ่มใด มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วหรือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งอย่างไร และทำการประมาณต้นทุนการผลิตเพื่อกำหนดราคาขาย 3) การออกแบบและพัฒนา เป็นการวางแผนในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่การวางเป้าหมายของเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดเลือกและการประเมินผลการคัดเลือกทางเลือก การพัฒนารูปแบบทางการตลาด รูปแบบการปฏิบัติการ และรูปแบบทางการเงิน 4) การตรวจสอบความถูกต้อง โดยทำการทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์โดยผู้ใช้ ทำการทดลองการตลาด และทดลองการผลิต และ 5) การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในขั้นแนะนำ ขั้นเติบโต ขั้นอิ่มตัว หรือขั้นถดถอยของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่</p> พรมิตร กุลกาลยืนยง ยุพิน พิทยาวัฒนชัย จิราพัชร สุทธิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 165 174 การศึกษาการสร้างความกลัวผ่านเทคนิคการกำกับภาพในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับภาพยนตร์ “เจมส์ วาน” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/270853 <p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการกำกับภาพที่สร้างความกลัวในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับภาพยนตร์ “เจมส์ วาน” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของภาพยนตร์ โดยนำทฤษฎีและแนวคิดด้านเทคนิคการกำกับภาพ (Cinematography) และทฤษฎีประพันธกร (Author theory) ในการศึกษาภาพยนตร์แนวสยองขวัญของผู้กำกับ เจมส์ วาน จำนวน 5 เรื่อง คือ 1) Insidious (2010) 2) The Conjuring (2013) 3) Insidious: Chapter 2 (2013) 4) The Conjuring 2 (2016) และ 5) Malignant (2021)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การกำกับภาพเพื่อสร้างความกลัวในภาพยนตร์สยองขวัญที่กำกับภาพยนตร์โดย เจมส์ วาน ให้ความสำคัญด้านเทคนิคการกำกับภาพ คือ 1) เทคนิคการจัดแสง (Lighting) ที่เน้นการกำหนดให้ผู้ชมมองจุดที่สว่างที่สุดในภาพ 2) เทคนิคการถ่ายภาพแบบนานต่อเนื่อง (Long take shot) 3) เทคนิคการใช้ขนาดภาพและมุมกล้อง (Shot size and Camera angle) ประกอบด้วย การนำเสนอมุมมองตัวละคร (Point of View) และ ภาพขนาดใกล้ (Close-up Shot) 4) เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) ประกอบด้วย เทคนิคการสร้างพื้นที่ว่าง (Negative space) การใช้เส้นนำสายตา (Leading line) การวางเฟรมภาพให้รู้สึกแคบ (Narrow frame) และการจัดองค์ประกอบภาพแบบกรอบภาพ (Frame in frame) ซึ่งเทคนิคการกำกับภาพดังกล่าวมุ่งเน้นในการควบคุมการมองภาพของผู้ชมในการสร้างความกลัวไปพร้อมกับการเล่าเรื่องด้วยภาษาภาพยนตร์ จึงทำให้ภาพยนตร์สยองขวัญของเขาประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในวงการภาพยนตร์</p> อธิป เตชะพงศธร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 10 21 การออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/269918 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมเสื่อจันทบูร 2) เพื่อออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร นำมาวิเคราะห์และออกแบบ จากนั้นทำการแบบประเมินรูปแบบนิทรรศการโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินรูปแบบ และประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวบริเวณชุมชนริมน้ำจันทบูร จำนวน 97 คน จากวิธีการสุ่มแบบบังเอิญด้วยเครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบสถิติ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าในงานหัตถกรรมเสื่อจันทบูร ประกอบด้วย คุณค่าของลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น คุณค่าของงานวัสดุคือเส้นกกที่มีคุณสมบัติเหนียว ทน มีกระบวนการทอที่พิถีพิถัน คุณค่าความงามของลวดลายเสื่อ และคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยที่สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าจนมีชื่อเสียง 2) แนวคิดในการออกแบบมีดังนี้ “แลจันท์” มีพื้นที่ 20 % ออกแบบผ่านเรื่องราวของดีในจันทบุรี และเสื่อจันทบูร “ปูเสื่อนั่งคุย” ใช้พื้นที่ 20 % แนวคิดที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ตกแต่งบรรยากาศเสมือนระเบียงริมนากก เพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสและรับรู้เรื่องราวของต้นกก “วิถีจันท์” ใช้พื้นที่ 40 % จัดแสดงประวัติของเสื่อจันทบูรและกระบวนการทอเสื่อผ่านภาพในแต่ช่วงเวลา และ “สานต่อ” ใช้พื้นที่ 20 % ใช้แนวคิดในการออกแบบจัดแสดงผลิตภัณฑ์เสื่อในห้องโชว์รูม 3) ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน พบว่าผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุดเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.56) โดยความสอดคล้องของเนื้อหากับภาพเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.47) เนื้อหาสาระมีประโยชน์เท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.50 ) และ การสื่อถึงภูมิปัญญางานหัตถกรรมเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.47)</p> พนม จงกล ศาสตรพันธุ์ บุญน้อย กรกนก สนิทการ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 22 35 การพัฒนาสื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/271286 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ในการพัฒนาสื่อแอนิเมชันนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพสื่อแอนิเมชันสองมิติพบว่า เนื้อหาถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์ การออกแบบมีความเหมาะสม มีการนำเสนอที่ดี เป็นลำดับขั้นตอน ภาพและเสียงที่ใช้ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย มีความเหมาะสมที่จะนำไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ แต่ควรพิจารณาเรื่องความยาวของสื่อแอนิเมชัน อาจจะเพิ่มองค์ประกอบเชิงโต้ตอบกับสื่อแอนิเมชัน ในการศึกษาผลการใช้สื่อแอนิเมชัน มีการประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ประโยชน์สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง 428 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ พบว่า มีความเหมาะสมมากใน 3 อันดับแรกคือ ความเหมาะสมในการลำดับเรื่องราว ความเหมาะสมของเนื้อหา และการนำเสนอในรูปแบบสื่อแอนิเมชันสองมิติ สื่อแอนิเมชันนี้มีความเหมาะสมในการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้มาก มีการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้จากสื่อแอนิเมชันได้มาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มาก นอกจากนี้ยังพบว่า เพศที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในประเด็นการนำเสนอในรูปแบบสื่อแอนิเมชันสองมิติ ความเหมาะสมของเนื้อหา และความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนสถานภาพ/การทำงานที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในประเด็นความเหมาะสมของเนื้อหา ความเหมาะสมในการลำดับเรื่องราว ความเข้าใจในเนื้อหา ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อแอนิเมชัน และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05</p> จักรพันธ์ เรืองนุภาพขจร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 36 48 กระบวนการต่อยอดผลงานวิจัยนวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย “History of Art… การเดินทางของศิลปะ” สู่การสร้างงานเชิงพาณิชย์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/269162 <p>โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การสร้างงานเชิงพาณิชย์ ในการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ สืบเนื่องจากงานวิจัยเดิม 4 ระยะ ได้แก่ ระยะการศึกษาค้นคว้าและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะการสร้างนวัตกรรม ระยะการทดลองใช้ และเป็นการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 4 คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพันธกิจเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านนวัตกรรม และด้านการสอนศิลปะในโรงเรียนประถม และเด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 10 – 12 ปี จำนวน 10 คน คัดเลือกด้วยวิธีอาสาสมัคร การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัย แบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพนวัตกรรม ด้วยแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า ประการแรกนวัตกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมสูงขึ้นก่อนเรียน มีความพึงพอใจในนวัตกรรมในระดับมากที่สุด และมีความรู้ด้านวัฒนธรรม รวมทั้งมีความชื่นชอบ สนุก และได้รับความรู้ในการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน ในการประเมินคุณภาพนวัตกรรม พบว่านวัตกรรมมีข้อดี ในเรื่องการรวบรวมเนื้อหา เนื้อหาเหมาะสมสำหรับผู้เรียน มีการออกแบบที่นำสมัย เชื่อมโยงให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ประการที่สอง การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และพันธกิจเชิงพาณิชย์ นวัตกรรมประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) หนังสือฉบับพิมพ์ จำนวน 76 หน้า พิมพ์ 4 สี ที่สำนักพิมพ์จุฬาฯ วางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ และศูนย์หนังสือจุฬาฯ ในราคาเล่มละ 490 บาท 2) หนังสือฉบับออนไลน์ จำนวน 23 หน้า 3) ชุดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 6 ชุด ขนาด 30X20 เซนติเมตร วางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ ในราคากล่องละ 390 บาท 4) เว็บไซต์โครงการ 5) คู่มือการใช้นวัตกรรม 6) ของที่ระลึก ได้แก่ สมุดบันทึก และสติกเกอร์</p> สุภิญญา สมทา Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 49 61 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์เพื่อสร้างโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/270905 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติ ที่เหมาะสมกับการประมวลผลตามเวลาจริงในงานจักรวาลนฤมิต 2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการผลิตแอนิเมชัน 3 มิติเบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดล 3 มิติที่ได้จากการใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ มีข้อมูล File size, Mesh vertices, Unique materials, Batches (Draw calls), Materials count, Materials memory use ลดลง และจำนวน Object ที่แสดงผลในเกมเอนจิ้น Unity โดยกำหนดค่า 60 เฟรมต่อวินาทีเพิ่มขึ้นร้อยละ 393.37 2) ผู้ใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71</p> อภินันท์ รังสูงเนิน สุวิช ถิระโคตร มนัสวี แก่นอำพรพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 62 71 การสื่อสารอัตลักษณ์และตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิตของเยาวชนไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268704 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิตของเยาวชนไทย 2) เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อในการสื่อสารตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิตของเยาวชนไทย 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิตที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อในการสื่อสารตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิตของเยาวชนไทย โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชน อายุ 18-25 ปี ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มจังหวัดตามภูมิภาค ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการสื่อสารอัตลักษณ์และตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิต โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ค่าเฉลี่ย=3.30) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เคยสื่อสารเกี่ยวกับคุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถศักยภาพของตนเองที่แตกต่างไปจากคุณลักษณะที่เป็น (ค่าเฉลี่ย=3.55) อยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) การรู้เท่าทันสื่อในการสื่อสารผ่านจักรวาลนฤมิต โดยรวมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.57) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสื่อสารผ่านจักรวาลนฤมิตสามารถขยายขอบเขตการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น (ค่าเฉลี่ย=3.89) ในระดับมาก 3) อิทธิพลของการสื่อสารอัตลักษณ์และตัวตนผ่านจักรวาลนฤมิต ประเด็น 1) เคยใช้รูปบุคคลอื่น หรือตกแต่งรูปภาพ หรือใช้มุมกล้อง เพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น 2) เคยสื่อสารเกี่ยวกับคุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของตนเองที่แตกต่างไปจากคุณลักษณะที่ตนเองเป็น 3) เคยต้องการให้บุคคลอื่นที่พบเจอในจักรวาลนฤมิตพึงพอใจในรูปลักษณ์ หรือรูปร่างหน้าที่คุณนำเสนอผ่านจักรวาลนฤมิตมากกว่ารูปลักษณ์ที่แท้จริง สามารถร่วมกันอธิบายการรู้เท่าทันสื่อในการสื่อสารผ่านจักรวาลนฤมิต ได้ร้อยละ 17 (R-Square=0.17) </p> ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ กฤชณัท แสนทวี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 72 84 แนวคิดเรื่องความรักในบทเพลงยอดนิยมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/272490 <p>บทความวิจัยเรื่อง แนวคิดเรื่องความรักในบทเพลงยอดนิยมของเทย์เลอร์ สวิฟต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกประภทความรัก และวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความรักที่พบในเนื้อหาบทเพลงของเทย์เลอร์ สวิฟต์ ซึ่งคัดสรรบทเพลงจากสตูดิโออัลบั้ม มีการสะท้อนถึงความรักคนหนุ่มสาวผ่านบทเพลงอย่างไร จากการนำกรอบทางทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก โดย โรเบิร์ต เสติร์น (1986) และ จอห์น ลี (1973) มาจัดประเภทความรัก การเก็บข้อมูล เลือกตัวแทนบทเพลงจากความนิยมสูงสุดจากการจัดอันดับของบิลบอร์ด ในการในส่วนการวิเคราะห์แนวคิดความรัก ผู้วิจัยใช้เครื่องมือทางวรรณกรรมศึกษาภาษาที่ปรากฏในเนื้อหา คือการวิเคราะห์ผ่านเทคนิคการประพันธ์ได้แก่ การใช้อุปมาอุปไมย (metaphor and simile) ที่เนื้อเพลงเปรียบเทียบความรักกับอะไร การใช้สัญลักษณ์ (symbol) และเทคนิคทางวรรณกรรมอื่นๆ ที่สื่อความหมายถึงแนวคิดความรัก ผลการวิจัย พบว่าความรักมีประเภท Intimacy Passion Eros Ludus และ Mania และค้นพบแนวคิดความรัก 6 เรื่อง ได้แก่ 1. รักต้องห้าม 2. คนที่ไม่สมหวังในความรัก วันหนึ่งจะลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงตัวเองในแบบที่ใครก็คาดไม่ถึง 3. รักต้องเสี่ยง เราจะผจญภัยในรักด้วยกัน 4. ในการรักษาความสัมพันธ์ให้ยาวนาน ฝ่ายหนึ่งต้องยอมโอนอ่อนผ่อนตามคนรัก 5. ความรักที่ไม่อาจเยียวยาหรือหวนคืนมาได้อีก และ 6. <span style="font-size: 0.875rem;">ความรักเป็นเรื่องที่ดีและควรเปิดเผย เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับอาการตกอยู่ในภวังค์รัก โดยที่ไม่สนใจว่าสังคมจะมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการคบกัน</span></p> ปรียาภรณ์ เจริญบุตร สันติภาพ บรรชิต อภิสิทธิ์ บุญโสดากรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 85 95 การศึกษารูปแบบโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/270667 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าที่ปรากฏในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ดิจิทัลจำนวน 88 รายการ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของโฆษณาแฝงและการนำเสนอสินค้าที่พบในการศึกษาครั้งนี้มี 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยภาพเท่านั้น โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยเสียงเท่านั้น โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยภาพพร้อมเสียง และโฆษณาแฝงรูปแบบการเชิญชวนให้ซื้อสินค้ารวมถึงรูปแบบรายการนำเสนอสินค้า โดยประเภทรายการที่มีรูปแบบโฆษณาแฝงมากที่สุด คือ รายการกีฬา รองลงมาคือ รายการบันเทิง รายการข่าว และรายการวิทยาศาสตร์และสุขภาพ ซึ่งการโฆษณาแฝงและการนำเสนอสินค้าในทุกประเภทรายการนั้นส่วนใหญ่เป็นการปรากฏที่เด่นชัด อีกทั้งในบางรายการพบว่าเป็นการนำเสนอที่ไม่เชื่อมโยงกับรายการ สำหรับสัดส่วนเวลาการปรากฏของโฆษณาแฝงเมื่อเทียบกับเวลาของรายการพบว่า ประเภทรายการที่มีการปรากฏของโฆษณาแฝงโดยเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ 50 ประกอบไปด้วย รายการข่าว รายการกีฬา รายการบันเทิง รายการตลก และรายการจำหน่ายสินค้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการกำหนดแนวทางการนำเสนอให้เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสม คุ้มครองสิทธิที่ผู้ชมรายการโทรทัศน์พึงได้รับ และคำนึงถึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการโทรทัศน์ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพต่อไป</p> บุหงา ชัยสุวรรณ พรรณพิลาศ กุลดิลก ชัชญา สกุณา ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 96 109 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/268928 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 2. เพื่อสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ 1. อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง โดยใช้ประชากรทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 5 คน 2. อาจารย์พิเศษจำนวน 2 ท่าน โดยประชากรทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง และ 3. นิสิตชั้นปีที่ 1-4 ของสาขาวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง (ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษา 1-2 /ปีการศึกษา 2564 และ ภาคการศึกษา 1 /ปีการศึกษา 2565) รวมจำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงบรรยาย ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน แนวการสอน และกลวิธีการสอนออนไลน์ ต้องให้ผู้เรียนได้เข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีอย่างชัดเจนแล้ว จึงค่อยเข้าสู่แนวทางการปฏิบัติที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและมองภาพรวมได้มากขึ้น ด้านอุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน พบว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะต้องใช้อุปกรณ์ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนได้เข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ได้มากที่สุด 3 ด้านกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน พบว่า ด้านผู้สอนมีการใช้กิจกรรมเข้ามาช่วยในการประกอบการเรียนการสอนที่หลากหลาย และลดการบรรยายลง ให้เน้นไปในทางกิจกรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจในแต่ละรายวิชา ด้านความพร้อมต่อการเรียนการสอนออนไลน์และแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ พบว่า ความพร้อมของการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการใช้ในกระบวนกรเรียนการสอนออนไลน์ด้านความเข้าใจในการเรียนของผู้เรียน พบว่า ในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนออนไลน์ของผู้เรียนที่ได้รับนั้น จะไม่สามารถที่จะเท่ากันกับความเข้าใจที่ผู้เรียนได้เรียนภายในห้องเรียน ผู้สอนต้องมีการปรับกฎเกณฑ์การวัดผล เพื่อให้เป็นไปตามที่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่ตั้งไว้</p> ทิพนารี วีรวัฒโนดม ระวิวรรณ วรรณวิไชย กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-31 2024-05-31 12 1 110 124