พฤติกรรมของวัยรุ่นภายหลังการรับข่าวอาชญากรรมการฆ่าหั่นศพจากสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

Main Article Content

ธิดา ไชยบุญทัน
ชนิกา แสงทองดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นภายหลังการรับข่าวสารอาชญากรรมการฆ่าหั่นศพจากสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของวัยรุ่นภายหลังการรับข่าวสารอาชญากรรมการฆ่าหั่นศพจากสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า


  1. พฤติกรรมของวัยรุ่นภายหลังการรับข่าวสารอาชญากรรมการฆ่าหั่นศพจากสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิจัยพบว่า ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของกลุ่มตัวอย่างติดตามเมื่อเกิดกระแสมากที่สุด ด้านช่องทางการติดตามข่าวอาชญากรรมทางสื่อออนไลน์มากที่สุด ด้านการคุยเรื่องข่าวสารอาชญากรรมกับเพื่อนมากที่สุด ด้านการศึกษาข้อกฎหมายในคดีที่สนใจพบว่ามีการศึกษาข้อกฎหมายบ้าง ส่วนใหญ่อยากให้ลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด มีการติดตามข่าวสารบ้างอย่างต่อเนื่อง

  2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมของวัยรุ่นภายหลังการรับข่าวสารอาชญากรรมการฆ่าหั่นศพจากสื่อออนไลน์ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า เพศ ชั้นปีการศึกษา สถานภาพ ที่พักอาศัย รายได้/รายรับของนักศึกษาต่อเดือนมีการติดตามข่าวสารอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของในครอบครัวแตกต่างกัน ด้านการติดตามข่าวสารอาชญากรรมของเพื่อนแตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางสื่อออนไลน์ไม่แตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางโทรทัศน์แตกต่างกัน ด้านช่องทางการติดตามข่าวสารอาชญากรรมทางหนังสือพิมพ์แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กานดา วิธานธีรกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โกศล วงค์สวรรค์และคณะ. (2543). ปัญหาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น 1997.
ญาณกร วิภูสมิทธ์. (2558). การเปิดรับและพฤติกรรมการตอบสนองต่อโฆษณาทางยูทูบ (You tube). (การศึกษาอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2531). อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.
สโปคดาร์ค. (2560). สัมผัสจิตใจฆาตกรคดี ‘ฆ่าหั่นศพ’ ด้วยทฤษฎีอาชญาวิทยา ขณะที่ทำพวกเขาคิดอะไร. เข้าถึงได้จาก https://www.spokedark.tv/posts/murder-cut-body.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2560). ถอดบทเรียนคดีฆ่าหั่นศพ มุมมองนักวิชาการ-คนรุ่นใหม่. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/758529
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.