คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาด้านค่าตอบแทน

Main Article Content

ดวงพร อ่อนใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจด้านค่าตอบแทน สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาถึงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจด้านค่าตอบแทน สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 จำนวน 133 คน จากประชากรจำนวน 200 คน โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณี 2 ตัวอย่าง (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า


  1. คุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการตำรวจ ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.59 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพอใจกับอัตราเงินเดือนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 2.65 รองลงมา ท่านได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมจากการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรืองานพิเศษอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ย 2.62 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด การได้รับสวัสดิการที่ได้รับจากหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ย 2.53 อยู่ในระดับน้อย จึงสามารถอธิบายได้ว่าพื้นฐานแล้วข้าราชการตำรวจมีความพึงพอใจกับอัตราเงินเดือนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานและการได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมจากการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรืองานพิเศษอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากได้รับสวัสดิการจากหน่วยงาน ค่าตอบแทนตามปริมาณงานที่รับผิดชอบ พร้อมด้วยการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เมื่อศึกษาแล้วอยู่ในระดับน้อยจึงทำให้ ภาพรวมของคุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการตำรวจด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรมอยู่ในระดับน้อย

  2. คุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการตำรวจ ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 2.59 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพอใจกับอัตราเงินเดือนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 2.65 รองลงมา การได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมจากการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรืองานพิเศษอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ย 2.62 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด การนได้รับสวัสดิการที่ได้รับจากหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ย 2.53 อยู่ในระดับน้อย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กานดา วิธานธีรกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เดชา เรื่องอ่อน. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปราณี เลาหพิบูลย์กุล. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพ. (ภาคนิพนธพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภณิตา กบรัตน์. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ศึกษาเฉพาะกรณี กองกำกับการ 4 กองบังคับบัญชาตำรวจสันติบาล 1. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก.
ภาพรรณ พุทธิยาวัฒน์. (2558). ความเครียดของเจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300). (สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.