103 ปี ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ การสืบสานบนพื้นฐานของความขัดแย้ง

Main Article Content

รัตติยา เหนืออำนาจ
อัครเดช พรหมกัลป์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การสืบสานบนพื้นฐานของความขัดแย้ง  103 ปี ประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ พบว่า งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 หลังจากที่เกิด  โรคห่าระบาด เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันในขณะนั้นไม่สามารถปัดเป่าโรคร้ายให้หายได้ ผู้คนจึงหันไปพึ่งพายันต์หรือ “ฮู้” ของเทพเจ้ามาเป็นเครื่องป้องกัน บางคนนำฮู้ไปเผาไฟแล้วชงเป็นชาดื่มกินแล้วซึ่งปรากฏว่าสามารถเยียวยารักษาโรคให้หายขาดได้ จึงเป็นที่มาแห่งปฐมบทของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลักของความเชื่อและค่านิยมของผู้คนในสมัยนั้น ส่วนความขัดแย้งในมิติอื่น ๆ  ทั้งในเรื่องของความขัดแย้งในเชิงข้อมูลข้อเท็จจริง เชิงความสัมพันธ์ หรือเชิงโครงสร้างนั้น เมื่อประชาชนเชื่อและศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพว่าสามารถปัดเป่าทุกข์ภัยต่าง ๆ  ได้ ทุกปีชาวตลาดปากน้ำโพก็จะร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองและจัดขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพอย่างยิ่งใหญ่ไปรอบ ๆ  ตลาด เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันตั้งโต๊ะรับเจ้าและกราบไหว้บูชา  ทั้งนี้ในแต่ละปีจะมีคณะกรรมการจัดงานที่เรียกว่า “เถานั้ง” ที่มาจากการคัดเลือกที่อาศัยการเสี่ยงทาย (ปัวะปวย) มาร่วมกันจัดงานประเพณีดังกล่าว และด้วยความที่คณะกรรมการแต่ละคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า คหบดี เจ้าของกิจการร้านค้า หรือบริษัทห้างร้านได้ถูกเลือกมาโดยวิธีการข้างต้น การจัดงานสืบสานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพจึงเป็นไปด้วยความขัดแย้งและแข่งขัน ทั้งขัดแย้งและแข่งขันกันและกันในคณะกรรมการชุดเดียวกันในแต่ละปี รวมถึงขัดแย้งและแข่งขันกันกับคณะกรรมการจัดงานประเพณีในปีที่แล้ว  ๆ  มา รวมถึงความขัดแย้งที่ต่อความความคิดและความคาดหวังของผู้คนทั้งสังคม ทำให้คณะกรรมการแต่ละปีแต่ละรุ่นต่างก็จะมีแรงบันดาลใจและความคาดหวังที่จะทำให้การจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพในแต่ละปีเกิดความยิ่งใหญ่ อลังการ สมบูรณ์และเพรียบพร้อมที่สุด เราจึงได้เห็นปรากฏการณ์แห่งความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลให้เกิดการสืบสานประเพณีนี้มาอย่างยาวนานนับ 100 ปีจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันในทุกกลิ่นไอแห่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากดำเนินงานหรือบริหารจัดการจนเกิดประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สืบสานมาอย่างยาวนานเช่นนี้ กลับไม่มีกลิ่นกลิ่นไอแห่งความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์เกิดขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าทุกคนทุกฝ่ายที่ร่วมกันสืบสานงานประเพณีนี้ต่างก็มีจิตใจที่ตั้งมั่นอยู่ในความเคารพ ความเชื่อ ความศรัทธา และปณิธานอันแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวกันว่าจะจัดงานประเพณีที่สำคัญนี้เพื่อเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพที่ตนเคารพและบูชานั่นเอง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

วันชัย วัฒนศัพท์. (2537). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล. (2545). การมีส่วนร่วมของสาธารณชนและการจัดการความขัดแย้ง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
อรุณ รักธรรม. (2537). องค์การ: พฤติกรรมความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
Brow, D.L.(1983). Managing Conflict at Organizational Interfaces. Massachusetts: Addison–Wesley.
Dahrendorf, R. (1959). Class and Class Conflict in Industrial Society. California: Standford University Press.
Filley, A.C. (1975). Interpersonal Conflict Resolution. Glenview, Illinois: Scott. Foresman and company.
March, J.G. and Herbert, A.S. (1958). Organizations. New York: John Wiley and Sons.
Nader, L. (1968). Conflict: Anthropological Aspect. International Encyclopedia of the Social Sciences. New York: Macmillan.
Robbins, S.P. (1983). Organizations Behavior: Concepts, Controversies, and Applications. (2nd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice–Hall.
Shaffer, L.F. and Shoben, E.J. (1965). The Psychology of Adjustment. Boston: Hougton Miffin.
Simmel, G. (1955). Conflict and the Web of Group Affiliations. Kurt H. Wolf (tran). Glencoe Illinois: Free Press.
Weber, M. (1968). Economy and Society. New York: Bedminster Press.