ปัจจัยที่ทำให้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อบังคับใช้กับคนรวย

Main Article Content

ณัฐยศ อาจหาญ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้จะทำการวิเคราะห์ถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกฎหมายกับการบังคับใช้กับคนรวย ในแง่มุมทางสังคม การเมือง ที่ทำให้เกิดความได้เปรียบหรือการใช้ประโยชน์ของกลุ่มคนรวย  กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกฎหมายเป็นสิ่งที่รัฐกำหนดให้คนทุกคนในรัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและการบังคับใช้ที่เหมือนกัน จะมีคนใดคนหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษหรืออยู่เหนือกว่ากฎหมายของรัฐไม่ได้ แต่เมื่อมองมาที่ภาพสังคมในปัจจุบัน ในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีกลุ่มคนบางกลุ่มสามารถที่จะทำตัวอยู่เหนือกฎหมายหรือได้รับสิทธิพิเศษที่แตกต่างหรือมากกว่าที่คนทั่วไปพึงได้รับ โดยจะศึกษาถึงปัญหาสภาพการบังคับใช้กฎหมาย ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารวิชาการ ขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีอาชญาวิทยา ซึ่งการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ดังกล่าวคงไม่เพียงแต่เกิดจากตัวระบบของกระบวนการยุติธรรมหรือกฎหมายเพียงอย่างเดียวแต่ยังคงมีปัจจัยทางสังคม ปัจจัยด้านการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องและทำงานร่วมกันจนทำให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกฎหมายเป็นสิ่งที่ทำให้คนรวยได้เปรียบหรือสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น ซึ่งส่งผลให้ความศักดิ์สิทธิ์และความน่าเชื่อถือของกฎหมายลดน้อยลง รัฐและสังคมควรที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อทำลายปรากฏการณ์ดังกล่าว และนำมาซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

ชยาธร เฉียบแหลม. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับดัชนีชี้ความ). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์. (2560). เหลี่ยมคุก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
วรรณโชค ชัยสะอาด. (2561). ถ้าเงินพูด ความยุติธรรมจะเงียบ. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/politic/report/423092 .
สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2552). กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
MGR Online. (2561). คนรวยชนแล้วหนี คดีแค่รอลงอาญา? คุกมีไว้ขังคนจน!!. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/live/detail/9550000109547