ประชาชนกับการรับรู้มาตรการรักษาความปลอดภัยในตลาดนัดสวนจตุจักร

Main Article Content

พชธกร สนประเทศ
อิทธิพล สุขยิ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการในตลาดนัดสวนจตุจักร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการตลาดนัดสวนจตุจักร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.26) และพิจารณาเป็นรายด้าน ยานพาหนะจะมีความปลอดภัยเมื่อมาใช้บริการจอดรถในตลาดนัดสวน อยู่ในระดับมากหรือสูง (gif.latex?\bar{x}=3.76) การมีความมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้ ความสามารถในการควบคุมดูแลความปลอดภัยขณะมาใช้บริการในตลาดนัดสวนจตุจักรได้อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.28) จะเห็นว่าผู้ที่มาใช้บริการหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ตลาดนัดสวนจตุจักรยังขาดการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการการรักษาความปลอดภัยของตลาดนัดสวนจตุจักร รวมทั้งยังไม่ได้ให้ความสนใจหรือการให้ความสำคัญกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น การขาดการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน เงินทองหรือสิ่งของมีค่าที่ติดตัวมา ขาดการระมัดระวังตัวที่ดี

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ไชยวัฒน์ อัศว์ไชยตระกูล. (2556). การรับรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการกลับท่องเที่ยวซ้ำและการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดลฤทัย โกวรรธนะกุล. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนาวัช ลิ้มอุดมพันธุ์. (2558). คุณภาพในการให้บริการของตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2). (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรินทร์ พัชรศรีอาริยะ. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมและความพึงพอใจของชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สาวิตรี ทองทิพยเนตร, ปรีชา ปาโนรัมย์ และสุริยา รักการศิลป์. (2561). ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการตลาดถนนคนเดิน กรณีศึกษาถนนคนเดินเซราะกราววอล์คกิ้งสตรีท. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2561 2nd National and International Research Conference 2018: NIRC II 2018 (น.52-60). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.