ตำรวจสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกับการดูแลความปลอดภัยสาธารณะ

Main Article Content

ปิยะ อุทาโย
ศิริพร นุชสำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของตำรวจสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกับการดูแลความปลอดภัยสาธารณะ ผลการศึกษา พบว่า การดูแลความปลอดภัยสาธารณะในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงฮานอย ซึ่งเป็นเมืองหลวง บ้านเมืองมีความเจริญ ประชากรพักอาศัยหนาแน่น เป็นย่านการค้าธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยว ตำรวจนครบาลฮานอย มีการวิเคราะห์ปัญหาอาชญากรรมและกำหนดมาตรการในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทำให้สามารถจับกุมคดีที่เกิดขึ้นได้ในอัตราที่สูง ตำรวจนครบาลฮานอยประสบความสำเร็จในการดูแลให้ความปลอดภัยแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจ โดยช่วงที่ผ่านมามีการดำเนินการที่ได้ผล คือ การรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม การให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับอาชญากรรมและการป้องกันตนเอง นอกจากนี้ ยังมีมาตรการระดมกวาดล้างอาชญากรรม มีการสนธิกำลังทุกฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายจราจร ฝ่ายสืบสวนสอบสวน และฝ่ายป้องกันปราบปราม เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันในการจับกุมผู้ก่ออาชญากรรม เช่น ผู้ที่พกพาอาวุธ การลักทรัพย์ การล้วงกระเป๋า เป็นต้น มาตรการในการป้องกันรถจักรยานยนต์หายในเวียดนามประการหนึ่ง คือ เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ไปในสถานที่ที่มีการจัดที่จอดรถ จะมีเจ้าหน้าที่เขียนหมายเลขลงบนเบาะรถจักรยานยนต์ แล้วมอบบัตรที่มีหมายเลขตรงกับเลขที่เขียนไว้ เมื่อจอดรถไว้แล้วมารับรถ จะต้องแสดงบัตรดังกล่าวจึงจะนำรถออกไปได้

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องปัญหาและอุปสรรคของพนักงานอัยการในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญาเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. นครปฐม: โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
จารุวรรณ เจตเกษกิจ. (2555). เวียดนามกับ AEC โอกาสทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการไทยควรรู้. อุตสาหกรรมสาร, 54(มี.ค.-เม.ย.): 24-28.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม. กรุงเทพฯ: กรกนกการพิมพ์.
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2559). กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ระบบงาน และแนวปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานยุติธรรมของประเทศในอาเซียน. เข้าถึงได้จาก http://www.asean.ago.go.th/asean-en/images/file/ASEAN_LAWS/ASEANLAW.pdf
Voice TV. (2557). เวียดนามประหาร 30 นักโทษคดียาเสพติด. เข้าถึงได้จาก https://www. voicetv.co.th/read/94732
Armbruster, Frank E. (1967). A Military and Police Security Program for South Vietnam. New York: Hudson Institute.
Mann, Charles A and Lowe, Robert C. (1966). The Public Safety Program Vietnam.Saigon, Vietnam: Office of Public Safety, US Agency for International Development,
Ministry of Public Security. (2016). Ministry of Public Security of Socialist Republic of Vietnam. Retrieved from http://en.bocongan.gov.vn/
Ministry of Public Security. (2016). Phòng, chống tội phạm và VPPL. Retrieved from http://bocongan.gov.vn/tintuc/Pages/thong-ke.aspx?Cat=101
Overseas Security Advisory Council (OSAC). (2016), Vietnam 2016 Crime & Safety Report: Hanoi. Retrieved from https://www.osac.gov/Content/Report/ 684f2516-d3b6-4285-ac70-15f4add203d3
Overseas Security Advisory Council (OSAC). (2016). Vietnam 2016 Crime & Safety Report: Ho Chi Minh City. Retrieved from https://www.osac.gov/Content /Report/8dd27881-e1c3-4b35-9a5b-15f4add209fd
Wikipedia. (2016). Republic of Vietnam National Police. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Vietnam_National_Police