ปัจจัยในการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Main Article Content

คมนค์ ปานสาคร
พงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากร ระดับการรับรู้และระดับความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการรับรู้และความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ สภากาชาดไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ผู้ใช้บริการ และบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 392 คน การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบตรวจสอบรายการ ที่มีค่าความเชื่อมั่น .911 เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, T-test, F-test, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 3.08 อยู่ในระดับมาก ระดับความเชื่อมั่นด้านการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 3.22 อยู่ในระดับมาก 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นด้านการรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ด้านการรับรู้ผ่านสื่อและด้านการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ ระดับการศึกษาและภูมิลำเนาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นด้านความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ด้านระบบความปลอดภัย ด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย และด้านพนักงานรักษาความปลอดภัย 3) การรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัยทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริการผ่านสื่อ ด้านการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ด้านการรับรู้ผ่านบุคคล และด้านการรับรู้ผ่านช่องทางอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเชื่อมั่นด้านการจัดการความปลอดภัยทุกด้าน ได้แก่ ด้านระบบรักษาความปลอดภัยและด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย ตลอดจนด้านพนักงานรักษาความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์. (2560). ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการให้บริการกรมการแพทย์ ปีงบประมาณ 2560.
ชนิดา แก้วทรัพย์ศักดิ์. (2552). การรับรู้และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ไทยโพสต์. [ออนไลน์]. (2562). อิสรภาพแห่งความคิด. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipost.net/.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานแผนบริหารการจัดการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย FMS.4 ระเบียบปฏิบัติอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ 2562.
ศักดิ์สิทธิ์ กุลวงษ์. (2552). ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสาธารณสุขไทย. ฉบับที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.