ปัจจัยการจัดการงานการข่าวการสืบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษาตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

อนุ วังขนาย
ธวิช สุดสาคร

บทคัดย่อ

ในหลายปีที่ผ่านมา คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 1,546 คดี ในปี 2556 เป็นจำนวน 3,594 คดีในปี 2562 แม้ว่าการจัดการงานการข่าวมีความสำคัญในการจับกุมก็ตาม งานศึกษาวิจัยในเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการงานการข่าวยังขาดแคลน งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคดียาเสพติด ข้อมูลในงานวิจัยนี้ได้จากการทำแบบสอบถามกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติสายงานสืบสวนและปราบปรามในตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 126 คน และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการจัดการงานการข่าวในคดียาเสพติดที่เจ้าหน้าที่มีความเห็นเป็นกลางคือ ความเห็นในด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณและด้านกำลังพล ในส่วนที่เจ้าหน้าที่ที่เห็นด้วย คือ ความเห็นในด้านกฎหมาย ด้านการมีส่วนร่วมจากประชาชนและด้านระบบงานสืบสวน ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่าระบบการหาข่าวของสายสืบในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการประสานงานและข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ แต่ก็เห็นว่าการใช้สายลับยังถือเป็นแหล่งข่าวที่สำคัญ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดมหานาคเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำมา พื้นทอง. (2559). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายข่าวภาคประชาชนของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ. (เอกสารการวิจัย). วิทยาลัยเสนาธิการทหาร: สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
จุลจรัล ลิ้มถาวร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการปราบปรามยาบ้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีศึกษาจังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บันดล สุยะเพี้ยง. (2558). การสืบสวนคดีอาญาเบื้องต้น (Criminal Investigation). กรุงเทพฯ: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์. (2537). ความรู้เบื้องต้นการสืบสวนอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: วันใหม่.
ทนันชัย พอพิน. (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขอเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดปราบปรามยาเสพติดของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรชัย พิศาลบุตร. (2544). วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยาพัฒน์.
สง่า ดวงอัมพร และประดิษฐ์ กล้าณรงค์. (2531). การสืบสวนและสอบสวน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
อัณณพ ชูบำรุง และอุษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.