การจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี

Main Article Content

ศันสนีย์ บรรลุสุข
วันจักร น้อยจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเซิงปริมาณ ประกอบด้วยตัวแปร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมตนเองกับผู้บังคับบัญชา ด้านการควบคุมตนเองกับเพื่อนร่วมงาน ด้านการควบคุมตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านการควบคุมตนเองกับประชาชน ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี จำนวน 140 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์


ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจ โดยภาพรวมของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจตำรวจภูธรเทศบาลเมืองจันทบุรี มีการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.58, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการควบคุมตนเองกับประชาชน ( gif.latex?\bar{x} = 3.65, S.D. = 0.69) รองลงมา คือ ด้านการควบคุมตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา (gif.latex?\bar{x}  = 3.63, S.D. = 0.66) และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านการควบคุมตนเองกับเพื่อนร่วมงาน (gif.latex?\bar{x}  = 3.51, S.D. = 0.65) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี  เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง และภูมิลำเนา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตาม ระยะเวลาในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จิรายุ เลิศเจริญวนิช. (2557). อิทธิพลของการควบคุมตนเองและการวางกรอบการตัดสินใจต่อเจตนาและพฤติกรรมเพื่อส่วนรวมในภาวะยุ่งยากสองด้านทางสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงทิพย์ ก่อกิจงาม. (2561). รูปแบบการพัฒนาชุดฝึกอบรมการควบคุมตนเองตามหลักพุทธจิตวิทยาของพยาบาลวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาระ มุขดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการควบคุมตนเองตามหลักพุทธจิตวิทยา สำหรับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพงษ์ ตันสุภาพ. (2559). ผลกระทบของการควบคุมตนเองที่มีต่อการออม: กรณีศึกษาบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ วรอรุณ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และ ศุภชัย ปิติกุลตัง. (2562). ปัจจัยที่มีความสำพันธ์กับการควบคุมตนเองในพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.