วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca <p><img src="/public/site/images/chani-2945/ส่วนบนของปก2.jpg" width="639" height="142"></p> <p>วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย ได้เริ่มจัดทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 หมายเลข ISSN 2539-6889 (Print) ISSN 2730-2571 (Online) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้</p> <p>1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลการศึกษาวิจัยและความรู้การจัดการภาครัฐและเอกชน องค์ความรู้ทางด้านอาชญากรรม และความปลอดภัย ตลอดจนด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไปสู่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน นักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ</p> <p>2. เพื่อเป็นเวทีหรือเป็นสื่อกลางสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านบทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป</p> <p>3. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติที่จะสามารถนำไปอ้างอิง ประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานได้ ตลอดจนเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย&nbsp;</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในโรงเรียนนายร้อยตำรวจแต่อย่างใด ความรับผิดชอบ องค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> [email protected] (ศ.พล.ต.ต.ดร.ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์) [email protected] (รศ.พ.ต.อ.ดร.ทัชชกร แสงทองดี) Wed, 30 Jun 2021 03:04:43 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยในการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249745 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากร ระดับการรับรู้และระดับความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการรับรู้และความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ สภากาชาดไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ผู้ใช้บริการ และบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 392 คน การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบตรวจสอบรายการ ที่มีค่าความเชื่อมั่น .911 เป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, T-test, F-test, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 3.08 อยู่ในระดับมาก ระดับความเชื่อมั่นด้านการจัดการความปลอดภัยของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมที่ 3.22 อยู่ในระดับมาก 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นด้านการรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ด้านการรับรู้ผ่านสื่อและด้านการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ ระดับการศึกษาและภูมิลำเนาที่แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นด้านความเชื่อมั่นต่อการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ด้านระบบความปลอดภัย ด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย และด้านพนักงานรักษาความปลอดภัย 3) การรับรู้ต่อการจัดการความปลอดภัยทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริการผ่านสื่อ ด้านการรับรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ด้านการรับรู้ผ่านบุคคล และด้านการรับรู้ผ่านช่องทางอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเชื่อมั่นด้านการจัดการความปลอดภัยทุกด้าน ได้แก่ ด้านระบบรักษาความปลอดภัยและด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย ตลอดจนด้านพนักงานรักษาความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01</p> คมนค์ ปานสาคร, พงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์ Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249745 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 การควบคุมตนเองในการป้องกันการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249746 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะการควบคุมตนเองในการป้องกันการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณลักษณะการควบคุมตนเองในการป้องกันการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเซิงปริมาณ ประกอบด้วย 6 ด้าน ด้านการยับยังตนเอง ด้านการมีจิตสำนึกที่ดี ด้านความมั่นใจที่จะควบคุมตนเอง ด้านการต่อสู้กับอารมณ์ตนเอง ด้านการอดกลั้นต่อการคับข้องใจ ด้านความสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนอำเภอสามพราน จำนวน 400 คน โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการควบคุมตนเองในการป้องกันการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ในอำเภอสามพราน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.54 S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุดคือ ด้านความสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.74 S.D. = 0.63) รองลงมาคือ ด้านการมีจิตสำนึกที่ดี (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.66 S.D. = 0.60) และด้านการอดกลั้นต่อการคับข้องใจ อยู่ในระดับน้อยสุด&nbsp; (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.53 S.D. = 0.60) ตามลำดับ) 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการควบคุมตนเองในการป้องกันการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ในอำเภอสามพราน ผลการศึกษาจำแนกตาม เพศ อายุ ภูมิลำเนา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม อาชีพ ระยะเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ต (ต่อวัน) พบว่า ความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กนิษฐา สาครชลธาร, วันจักร น้อยจันทร์ Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249746 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 ปัจจัยการจัดการงานการข่าวการสืบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด: กรณีศึกษาตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249747 <p>ในหลายปีที่ผ่านมา คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 1,546 คดี ในปี 2556 เป็นจำนวน 3,594 คดีในปี 2562 แม้ว่าการจัดการงานการข่าวมีความสำคัญในการจับกุมก็ตาม งานศึกษาวิจัยในเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการงานการข่าวยังขาดแคลน งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคดียาเสพติด ข้อมูลในงานวิจัยนี้ได้จากการทำแบบสอบถามกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติสายงานสืบสวนและปราบปรามในตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 126 คน และจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหาร โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการจัดการงานการข่าวในคดียาเสพติดที่เจ้าหน้าที่มีความเห็นเป็นกลางคือ ความเห็นในด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านงบประมาณและด้านกำลังพล ในส่วนที่เจ้าหน้าที่ที่เห็นด้วย คือ ความเห็นในด้านกฎหมาย ด้านการมีส่วนร่วมจากประชาชนและด้านระบบงานสืบสวน ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่าระบบการหาข่าวของสายสืบในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการประสานงานและข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ แต่ก็เห็นว่าการใช้สายลับยังถือเป็นแหล่งข่าวที่สำคัญ</p> อนุ วังขนาย, ธวิช สุดสาคร Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249747 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 การจัดการการควบคุมตนเองของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางโพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249748 <p>The objectives of this research were 1. to study the level of Self-control management of Police Officers in Bang Pho Police Station.; and 2. to compare between personal factors and Self-control management of Police Officers in Bang Pho Police Station. The research instruments are a questionnaire of 4 aspects: in Subordinate, Colleague, Supervisor and Citizen. The researcher used the questionnaires with 80 police officers in Bang Pho Police Station. By finding the frequency and percentage, finding the mean and standard deviation, Analyzed by t-test independent and One-way ANOVA, data analysis using social science software packages<strong>.</strong></p> <p>The results of this study is as below: 1. The level of Self-control management of Police Officers in Bang Pho Police Station is in a high level (&nbsp;= 4.18, S.D. = 0.40). When considering each aspect, it is found that the aspect of the highest average value of the top 3 was Self-Control with citizen part at a high level (&nbsp;= 4.22, S.D. = 0.51).&nbsp; The second one is Self-Control with Supervisor part at a high level (=4.19, S.D. =0.66). The last one is Self-Control with Colleague at a high level (=4.16, S.D. =0.57). 2. The perspective of comparison between personal factor and Self-control management of Police Officers in Bang Pho Police Station classified by genders, age and range of work found that the sample variance was not different. These elements were classified by position and local found that the sample variance was different and significantly differently at .05 level.</p> กัญญาณัฐ ตั้งสุข, ชนิกา แสงทองดี Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249748 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการของโรงแรมเดอะเรสซิเด้นซ์ จังหวัดปราจีนบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249749 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่ออิทธิพลของคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการของโรงแรม โรงแรมเดอะเรสซิเด้นซ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในปัจจัยด้านคุณภาพการบริการของโรงแรม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการใช้แบบสอบถามกับลูกค้าของโรงแรมจานวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิง อนุมาน ได้แก่ t-test และ One-way ANOVA สาหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป และพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41–50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานในตำแหน่งหัวหน้างานจนถึงผู้บริหารระดับสูงและมีรายได้เกินกว่า 20,000 – 30,000 บาท มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของโรงแรมเดอะเรสซิเด้นซ์ จังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับโดยมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการด้านการตอบสนองความต้องการในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ มีความพึงพอใจระดับปานกลาง คือ ด้านความเข้าใจและรับรู้ความต้องการ, ด้านความน่าเชื่อถือ, ด้านความเป็นรูปธรรม, และด้านการให้ความมั่นใจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานและรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของโรงแรมเดอะเรสซิเด้นซ์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของโรงแรมเดอะเรสซิเด้นซ์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</p> ธนัฐฎา ยอดเยี่ยม, สุรัสวดี โปสินธุ์ Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249749 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 การตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองบนโลกไซเบอร์ของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249750 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองบนโลกไซเบอร์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองบนโลกไซเบอร์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเซิงปริมาณ ประกอบด้วยตัวแปร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสติปัญญาพื้นฐาน ด้านการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชน เทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองบนโลกไซเบอร์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.60, S.D. =0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านสติปัญญาพื้นฐาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.00, S.D=0.60) รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองทางด้านอารมณ์ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.93, S.D. =0.63) และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด ด้านพฤติกรรม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=2.83, S.D. =0.85) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตระหนักรู้ในการป้องกันตนเองบนโลกไซเบอร์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ เมื่อจำแนกตาม ภูมิลำเนา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระยะเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตต่อวัน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สุพิตรา ศรีบุรินทร์, ทัชชกร แสงทองดี Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249750 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249751 <p>การศึกษารูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ของร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาถึงรูปแบบแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ ของร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อนำผลการศึกษาไปปรับใช้ในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รูปแบบวิธีการศึกษาวิจัยเป็นรูปแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมร้านทอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ออกเป็นจำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) ผู้ประกอบการร้านทอง นายกสมาคมร้านทอง และร้านทองไท้เฮ้งล้ง ที่ถูกวิ่งราวทรัพย์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 3) ปลัดเทศบาลนครนครราชสีมา หัวหน้าฝ่ายควบคุมอาคารเทศบาล และหัวหน้าฝ่ายผังเมืองเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาถึงปัญหาอาชญากรรมเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ของร้านทองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุอาชญากรรมเกิดจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านยาเสพติด และปัญหาด้านการพนัน เนื่องจากสถานประกอบการร้านทองเป็นกลุ่มเสี่ยงหนึ่งในการเกิดเหตุอาชญากรรมในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลักทรัพย์ การวิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ รูปแบบแนวทางการป้องกันปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีรูปแบบแนวทางด้านป้องกันเกี่ยวอาชญากรรม ในภารกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ทำโดยการเมื่อผู้ประกอบการร้านทองพบเหตุอาชญากรรม สามารถแจ้งเหตุโดยตรงทางสายด่วน 191 และทางแอปพลิเคชันไลน์ในสมาร์ทโฟน</p> เกียรติขจร พีเกาะ, ธวิช สุดสาคร Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249751 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700 การจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249752 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี และ 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเซิงปริมาณ ประกอบด้วยตัวแปร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการควบคุมตนเองกับผู้บังคับบัญชา ด้านการควบคุมตนเองกับเพื่อนร่วมงาน ด้านการควบคุมตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา และด้านการควบคุมตนเองกับประชาชน ผู้วิจัยได้วิจัยโดยใช้แบบสอบถามกับข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี จำนวน 140 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">) และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน (S.D.) วิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test Independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชการตำรวจ โดยภาพรวมของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจตำรวจภูธรเทศบาลเมืองจันทบุรี มีการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.58, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการควบคุมตนเองกับประชาชน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">&nbsp;= 3.65, S.D. = 0.69) รองลงมา คือ ด้านการควบคุมตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">&nbsp;&nbsp;= 3.63, S.D. = 0.66) และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุด คือ ด้านการควบคุมตนเองกับเพื่อนร่วมงาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">&nbsp;&nbsp;= 3.51, S.D. = 0.65) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดการการควบคุมตนเองในการทำงานของข้าราชตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี&nbsp; เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง และภูมิลำเนา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตาม ระยะเวลาในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ศันสนีย์ บรรลุสุข, วันจักร น้อยจันทร์ Copyright (c) 2021 วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcs_rpca/article/view/249752 Wed, 30 Jun 2021 00:00:00 +0700