https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/issue/feed วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ 2024-04-30T11:28:25+07:00 Wandee Suttharangsee jeiljournalpsu@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการโดยสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่รวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยในด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยในชั้นเรียน โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ วารสารมีระบบการจัดการแบบออนไลน์ มีการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ในรูปแบบการประเมิน Double-blind คือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน</p> <p>บทความที่ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในวารสารฯ จะได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์ (ThaiJO) โดยกำหนดการเผยแพร่วารสารฯ ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)</p> https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266447 บทบาทเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2023-11-02T08:41:45+07:00 อิทธิศักดิ์ ศรีดำ idhisak@pit.ac.th เพชรประภา สังฆะราม idhisak@pit.ac.th อมรา อิทธิพงษ์ idhisak@pit.ac.th <p class="p1">เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นการพัฒนาเครื่องจักรหรือระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความชาญฉลาด สามารถคิด คำนวณ วิเคราะห์ เรียนรู้และตัดสินใจ โดยใช้เหตุผลได้เสมือนสมองของมนุษย์ การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นองค์กรต้นแบบสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาบัณฑิตให้มีความสมบูรณ์ จึงต้องมีการบูรณาการเทคโนโลยีด้านการจัดการศึกษาให้เหมาะสมเพื่อรองรับการบริหารจัดการอุดมศึกษาในยุคดิจิทัล การปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ ของผู้เรียนให้หลากหลาย วิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมการเรียนรู้ และสภาพปัญหาต่าง ๆ ของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนได้ ตลอดจนช่วยสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนให้บรรลุผลสำเร็จ และยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืนดังนั้น การให้ความสำคัญในการวางแนวนโยบายของการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา เร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมดิจิทัลในโลกยุคใหม่</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266618 การพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาสัมมนาแนวโน้มของการแก้ไขปัญหาในระบบการศึกษาโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้านสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา 2023-11-15T11:28:27+07:00 พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ phongsak.pha@rmutr.ac.th ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ phongsak.pha@rmutr.ac.th ดรุณี ปัญจรัตนากร phongsak.pha@rmutr.ac.th <p class="p1">วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยระบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.97/83.04 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .8235 ผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีค่าสถิติทดสอบทีเท่ากับ 31.244 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อคุณภาพของระบบในระดับมากและผู้เรียนมีความพึงพอใจกับระบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยทำให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง ทำให้ผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษามีทักษะและพัฒนาการเรียนรู้วิชาสัมมนาแนวโน้มของการแก้ไขปัญหาในระบบการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266655 รูปแบบการนิเทศแบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2023-10-04T10:54:46+07:00 ธัชกร สุวรรณจรัส touch.su@hotmail.com คณกร สว่างเจริญ kanakorn.sa@bsru.ac.th ณรงค์วัฒน์ มิ่งมิตร wat510333@gmail.com ลักษณา เกยุราพันธ์ luxanak_341@hotmail.com <p>ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ 3) ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการนิเทศแบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ แบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัย แบบประเมินผลงานวิจัย แบบประเมินความพึงพอใจและแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบประกอบด้วย 5 องค์ประกอบและ 5 ขั้นตอน องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ เทคโนโลยีอัจฉริยะ การบริหารจัดการ การเข้าถึงแหล่งทรัพยากร การปฏิสัมพันธ์ และระบบประเมินผล ขั้นตอนของรูปแบบ ได้แก่ เตรียมความพร้อมก่อนการฝึกประสบการณ์ การฝึกประสบการณ์ การนิเทศแบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ การประเมินผลและการสะท้อนคิด 2) ผลการใช้รูปแบบหลังการนิเทศนักศึกษามีสมรรถนะการทำวิจัยสูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลงานวิจัยของนักศึกษามีคุณภาพระดับดีเยี่ยม (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=84.70) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบระดับมากที่สุด (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=4.53) และ 3) ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน รูปแบบมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=4.97) สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/267297 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-11-16T14:01:37+07:00 สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์ surakiat.ta@dtc.ac.th <p class="p1">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาคือ วัยรุ่นอายุ 18-25 ปี ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า 1) ความตั้งใจใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้และการใช้งานจริง พบว่า วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครมีระดับความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=4.04, S.D.=0.74) และระดับของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=4.05, S.D.=0.75) เช่นเดียวกัน 2) สรุปผลการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นผ่านเกณฑ์ตามค่าสถิติวัดความกลมกลืน (X<sup>2</sup> ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p&gt;0.05) ค่า X<sup>2</sup>/df=1.149, RMSEA=0.021, GFI=0.96, AGFI=0.92, RMR=0.02, SRMR=0.03, NFI=0.99 และ CFI=1.00) นอกจากนี้ ยังพบว่าความสมบูรณ์ของเนื้อหามีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้ ความสมบูรณ์ของเนื้อหามีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้การใช้งานง่ายมีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการใช้งาน ทัศนคติต่อการใช้งานมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งาน การรับรู้ความสนุกมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งาน และความตั้งใจใช้งานมีอิทธิพลต่อการใช้งานจริง ขณะที่ความพึงพอใจของผู้ใช้งานไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติต่อการใช้งาน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266532 ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาล 2023-11-10T08:46:29+07:00 ชุติมา จิรัฐิเกรียงไกร chutima.j@mru.ac.th จิราพร เกษรสุวรรณ์ chutima.j@mru.ac.th <p class="p1">การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเมธารัถย์ จำนวน 105 คน ที่เรียนรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน 5 ขั้นตอน เอกสารประกอบการสอน แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ pair t-test ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.72, S.D.=0.24) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในนักศึกษาพยาบาลได้ จึงควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้นักศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266691 การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนด้วยหลักสูตรอบรมระยะสั้น กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2023-11-20T09:38:57+07:00 ภัทราพร โชคไพบูลย์ puthep.p@lawasri.tru.ac.th สุธินี วงศ์วัฒนานุกุล puthep.p@lawasri.tru.ac.th กวินกรณ์ ชัยเจริญ puthep.p@lawasri.tru.ac.th สุกัญญา ทองแห้ว puthep.p@lawasri.tru.ac.th ภูเทพ ประภากร puthep.p@lawasri.tru.ac.th <p class="p1">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2) เพื่อประเมินผลการทดสอบก่อนและหลังการอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้หลักสูตรระยะสั้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการนำหลักสูตรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนมาใช้ในการอบรม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 สังกัดคณะต่าง ๆ ทั้ง 6 คณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 1,341 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ร่างหลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน (2) แบบทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรม (3) แบบฝึกหัดหลังเรียนประจำหน่วยการเรียนรู้ และ (4) แบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเครื่องมือการวิจัยทุกประเภทได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงร่างหลักสูตรที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อการอบรมระยะสั้นครั้งนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />=4.40, S.D.=0.23) 2) ผลการทดสอบหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม โดยมีคะแนนความก้าวหน้าอยู่ที่ 11.25 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการนำหลักสูตรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนมาใช้ในการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\beta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\beta" />=4.55, S.D.=0.66) แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266611 การเชื่อมโยงเคมีกับวิทยาการคำนวณ: นวัตกรรมเครื่องมือการสอนสำหรับการพัฒนาครูก่อนประจำการ 2023-12-14T13:39:17+07:00 สุทธิดา จำรัส suthida.c@cmu.ac.th สุระศักดิ์ เมาเทือก suthida.c@cmu.ac.th กฤตพร พัวกนกหิรัญ suthida.c@cmu.ac.th ธีร์นวัช นันตา suthida.c@cmu.ac.th นาฏญา อภิชาตโยธิน suthida.c@cmu.ac.th วริสรา ไกรจิตเมตต์ suthida.c@cmu.ac.th พงษ์ศธร สุยะมูล suthida.c@cmu.ac.th <p>งานวิจัยในครั้งนี้ศึกษาการบูรณาการวิทยาการคำนวณเข้ากับการศึกษาเคมีสำหรับครูก่อนประจำการ โดยเน้นไปที่การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Micro:bit และ Arduino เพื่อพัฒนาบทเรียนเคมีที่ใช้แนวคิดสะเต็มเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาเป็นครูก่อนประจำการ 8 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยด้วยวิธีศึกษาระยะยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2563 การวิจัยมุ่งเน้นไปที่การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Micro:bit และ Arduino เพื่อสร้างบทเรียนเคมีที่ใช้แนวคิดสะเต็มเป็นฐาน ข้อมูลถูกรวบรวมผ่านกระบวนวิชาที่สอนในหลักสูตรเคมีศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียน ชิ้นงาน วีดิทัศน์และรูปภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบสำคัญและผลกระทบจากกิจกรรมบูรณาการประกอบด้วย: (1) Micro:bit เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์หลักที่ครูก่อนประจำการเลือกใช้; (2) โครงงานส่วนใหญ่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม; (3) การบูรณาการการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ากับการสอนเคมีอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมเมอร์ (4) การสร้างเซ็นเซอร์/โครงงานที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นฐาน ช่วยยกระดับการบูรณาการวิทยาการคำนวณเข้าไปในบทเรียนวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ (5) การเริ่มต้นที่จะพยายามนำวิทยาการคำนวณบูรณาการเข้ากับการศึกษาด้านเคมี นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมและนวัตกรรมที่หลากหลาย (6) การพัฒนาและการใช้เซ็นเซอร์ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นฐานช่วยให้การทดลองที่ซับซ้อนในวิชาเคมีสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ข้อค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพแนวทางการบูรณาการวิทยาการคำนวณที่ส่งเสริม การจัดการการศึกษาเคมีโดยใช้สะเต็มเป็นฐาน รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสมรรถนะครู การพัฒนาครู ศาสตร์การสอนที่เน้นการบูรณาการข้ามสาขาวิชา และย้ำถึงคุณค่าของการนำวิทยาการคำนวณเชื่อมโยงไปยังวิทยาศาสตร์ศึกษา</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266367 การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพด้านการวิจัยทางการศึกษาพิเศษ สำหรับครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม 2024-01-19T11:50:41+07:00 อนุชา ภูมิสิทธิพร anucha.pho@psru.ac.th บุญล้อม ด้วงวิเศษ anucha.pho@psru.ac.th ศิริวิมล ใจงาม anucha.pho@psru.ac.th สุวพัชร์ ช่างพินิจ anucha.pho@psru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฯ (2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฯ (3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฯ (4) เพื่อประเมินหลักสูตรฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหลักสูตร ได้แก่ ครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในเขตจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดพิจิตร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า มีปัญหาและมีความต้องการอยู่ในระดับมาก 2) หลักสูตรฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา วิธีการสอน และการวัดและประเมินผล โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก และกระบวนการสอนแบบอภิปราย ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฯ มีระดับความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฯ พบว่าศักยภาพด้านการวิจัยทางการศึกษาพิเศษของครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฯ พบว่า มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด 4) หลักสูตรฯ มีระดับคุณภาพในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/266687 ผลของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานในรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2023-12-19T11:01:12+07:00 วิไลวรรณ วิไลรัตน์ wilaiwan.w@yru.ac.th สิริพัฒน์ รันดาเว wilaiwan.w@yru.ac.th จันทรา โอระสะ wilaiwan.w@yru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ตามรูปแบบของแอดดี 5 ขั้นตอน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานในรายวิชาพลเมืองที่เข้มแข็ง 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเกมกระดาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเกมกระดาน ประชากรคือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เกมกระดานดินแดนพลเมืองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ใช้คือ “เกมกระดานดินแดนพลเมือง” จำนวน 28 ชุด ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ และกระดานการเล่นเกม ใช้เวลา 4 สัปดาห์ 2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้นวัตกรรมเกมกระดานสูงกว่าก่อนเรียน (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=25.28, S.D.=2.37 / <img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=19.05, S.D.=3.15) และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{\chi }" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{\chi&amp;space;}" />=4.60, S.D.=0.58)</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/267350 รูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมการศึกษาของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ 2024-02-09T12:16:31+07:00 ปณิตา เกตุแก้ว pupanita9381@gmail.com นันภัทร คำวิจิตร pupanita9381@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบรูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมการศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณคำนวณหาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (2) กำหนดองค์ประกอบการจัดการความรู้ (3) ศึกษาสภาพปัญหา (4) วางแผนการพัฒนา (5) กำหนดขั้นตอนการพัฒนา และ (6) แนวทางการพัฒนารูปแบบ 2) รูปแบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย (1) กระบวนการจัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (2) การบริหารจัดการความรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์ (3) ปัจจัยการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมการศึกษา และ 3) ผลการใช้รูปแบบฯ คือ ผลประเมินตนเองก่อนและหลังพัฒนาของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า ศักยภาพด้านนวัตกรรมการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกด้าน และผลความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบฯ พบว่า มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในทุกด้าน</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้