วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil <p>วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการโดยสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่รวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยในด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยในชั้นเรียน โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ วารสารมีระบบการจัดการแบบออนไลน์ มีการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ในรูปแบบการประเมิน Double-blind คือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน</p> <p>บทความที่ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในวารสารฯ จะได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์ (ThaiJO) โดยกำหนดการเผยแพร่วารสารฯ ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)</p> สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ th-TH วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ 3027-6187 <p><span style="font-size: 12pt;">เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ และไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงข้อมูลแสดงที่มาของบทความทุกครั้งที่นำไปใช้ประโยชน์</span></p> การพัฒนาเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์: หลักการทศพิธราชธรรมผ่านการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาเวชจริยศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/267807 <p>วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์ก่อนและหลังการสอนหลักการทศพิธราชธรรมผ่านการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่ม และประยุกต์หลักการทศพิธราชธรรมนำไปสู่การพัฒนาเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์ในมุมมองของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ประชากรเป้าหมายคือนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 จำนวน 48 คน ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยสยาม รูปแบบการวิจัยคือ One-group pretest-posttest quasi-experimental design ออกแบบกิจกรรม สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการสอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบวัดเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์และการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์ของผลรวมทุกด้าน ก่อนเรียน 171.2±12.1 และหลังเรียน 182.5±9.2 ค่าร้อยละของพัฒนาการผู้เรียนอยู่ในระดับสูงคือ 52.5 ในมุมมองของนักศึกษาแพทย์หลักการทศพิธราชธรรม ได้แก่ ทาน การเสียสละ ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร และความไม่เบียดเบียน นำไปสู่การพัฒนาเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์ ดังนั้น การสอนเรื่องความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์รูปแบบการสอนหลักการทศพิธราชธรรมผ่านการเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มช่วยพัฒนาเจตคติต่อความเป็นมืออาชีพทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2</p> กิตติศักดิ์ สินพิทักษ์กุล Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 161 175 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้นที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับวิธีการสอนแบบปกติ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/267914 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้นที่สอนด้วยวิธีสอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีสอนแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 20 คน สุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย และแบ่งเป็นกลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 คน กลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์กลุ่มที่สอนด้วยวิธีสอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยคะแนนในภาพรวมอยู่ในระดับดี และกลุ่มวิธีสอนแบบปกติมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 2) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มทั้งสองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีสอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยรวมทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> นุกูล ธรรมจง Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 177 192 การพัฒนาการ์ดเกมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินดิจิทัลของนิสิตครู: การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/269057 <p>การส่งเสริมความรู้ทางการเงินดิจิทัลให้กับนิสิตครูเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ด้านการเงินดิจิทัลและการเล่นการ์ดเกม และ 2) พัฒนาการ์ดเกมตามหลักการออกแบบเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินดิจิทัลของนิสิตครู โดยประยุกต์การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ข้อมูลปฏิสัมพันธ์ของนิสิตกับการเงินดิจิทัลและการเล่นการ์ด ถูกรวบรวมและวิเคราะห์ผ่านการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อให้ได้หลักการออกแบบและต้นแบบการ์ดเกม 2. การพัฒนาและทดลองใช้ โดยสัมภาษณ์และสังเกตเพื่อปรับปรุงหลักการออกแบบและการ์ดเกม ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาและรูปแบบลำดับ ผลการวิจัย 1) อารมณ์ การรับรู้ต่อการเงินดิจิทัล และการเล่นการ์ดเกมเป็นมิติสำคัญ นิสิตรับรู้ถึงประโยชน์ แต่ก็ตระหนักถึงความเสี่ยง เช่น ความล้มเหลวของระบบ การละเมิดความปลอดภัย ซึ่งการ์ดเกมมีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจ แต่ความซับซ้อนอาจเป็นอุปสรรค 2) รูปแบบที่แสดงถึงการบริหารสินทรัพย์ได้ดีที่สุดมุ่งเน้นที่กลยุทธ์ด้านการออม ลงทุน และบริหารความเสี่ยง 3) หลักการออกแบบ คือ 3.1) บูรณาการแนวคิดความรอบรู้ทางการเงินดิจิทัล 3.2) เรียนรู้จากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องที่ซับซ้อน และ 3.3) กำหนดเป้าหมายย่อยของเกม การวิจัยนี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกในการออกแบบเครื่องมือเพื่อเพิ่มความรอบรู้ทางการเงินดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> กณิชชา ศิริศักดิ์ ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 193 208 การประเมินสมรรถนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการทำโครงการในรายวิชา 711-101 ประโยชน์เพื่อนมนุษย์: เปรียบเทียบระหว่างการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงกับสถานการณ์จริง https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/268477 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร จำนวน 24 คน ตามเกณฑ์สมรรถนะนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยประเมิน 3 ใน 5 สมรรถนะหลัก หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการที่ในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง และในสถานการณ์จริงในรายวิชา 711-101 ประโยชน์เพื่อนมนุษย์ สมรรถนะรู้ของนักศึกษาถูกประเมินโดยนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนโดยใช้ Google form ที่สร้างขึ้น จากการศึกษาพบว่า ในสถานการณ์จำลองเสมือนจริงนักศึกษามีสมรรถนะ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน (C1) การรู้เทคโนโลยีและการมีทักษะการสื่อสาร (C2) และ การมีส่วนร่วมทางสังคม (C3) สูงกว่าระดับสมรรถนะของรายวิชารหัส 711-101 ซึ่งเป็นรายวิชาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เกือบทุกองค์ประกอบ และในสถานการณ์จริงมีระดับสมรรถนะข้อ C2.2 และข้อ C3 คงอยู่ในระดับ 1 ซึ่งตรงตามระดับสมรรถนะของรายวิชา เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะการเรียนรู้ที่ประเมินโดยอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา พบว่า อาจารย์และนักศึกษาเห็นตรงกันว่า การจัดการเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงนี้ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามมีผลการประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ข้ออื่น ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการประเมินโดยนักศึกษาและโดยอาจารย์ผู้สอน ทั้งนี้ นักศึกษาอาจประเมินตนเองตามค่าที่คาดหวังซึ่งต่างจากอาจารย์ผู้สอนที่ประเมินตามความเป็นจริง</p> ปฐมาวดี ทองแก้ว จารุวรรณ มณีศรี อาทิตย์ อินทรสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 209 221 การรับรู้ของครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนต่อการใช้บาร์โมเดลในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/269016 <p>การอบรมเชิงปฏิบัติการรูปแบบออนไลน์เพื่อแนะนำการใช้บาร์โมเดล ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้จัดขึ้น 2 ครั้ง ให้กับครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งครู ตชด. เหล่านี้มีประสบการณ์การสอนที่จำกัด ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เรื่องการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นหัวข้อที่ยากสำหรับนักเรียนหลายคนจึงเป็นงานที่ท้าทาย งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์และการรับรู้ของครู ตชด. ที่มีต่อการใช้บาร์โมเดลเพื่อเป็นยุทธวิธีในการแก้ปัญหา แบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ถูกใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูที่เข้าร่วมในงานวิจัย 333 คน หลังจากการอบรม ผลแสดงให้เห็นว่าครูมีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้บาร์โมเดล ครูส่วนใหญ่สะท้อนว่าพวกเขาสามารถใช้บาร์โมเดลในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ และคิดว่าบาร์โมเดลสามารถใช้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการทำให้เห็นภาพและทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา ถึงแม้ว่าครูส่วนใหญ่ต้องการนำบาร์โมเดลไปใช้ในการจัดการเรียนรู้แต่ก็มองเห็นว่าอาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความเข้าใจในวิธีการใช้บาร์โมเดลของครู และอุปสรรคทางภาษาของนักเรียน ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้เป็นความท้าทายที่ครูต้องเผชิญ นอกจากนี้ ครูสะท้อนถึงความต้องการเกี่ยวกับหลักสูตรการอบรมเพิ่มเติมเพื่อทบทวนวิธีการใช้บาร์โมเดล รวมทั้งทรัพยากรและสื่อเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น แผนการสอนและใบงานของนักเรียน บทความนี้มีการสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการใช้บาร์โมเดลของครู ตชด. ต่อไปในอนาคต</p> เหมือนฝัน เยาว์วิวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 223 239 การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/269187 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ รหัสวิชา 20105-2101 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI 2) หาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 70/70 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบประจำหน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>=71.31/70.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>=70/70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ในระดับมาก (x̄=4.46, S.D.=0.47)</p> สิทธิชัย กุลศรี Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 241 253 การละเล่นไทยกับการเคลื่อนไหวแบบปานกลางถึงคล่องแคล่วว่องไว เพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้านทักษะการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/269125 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นไทยที่มีต่อ 1) ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้านทักษะการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยรวมของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้านทักษะการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง รายด้านของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม จำนวน 52 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัยเป็นแบบอสมดุลยภาพมีกลุ่มควบคุมและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นไทย 12 แผน 2) แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน The Test of Gross Motor Development-2<sup>nd</sup> edition มีค่าความเชื่อมั่นในการทดสอบสำหรับเด็กอายุ 6-7 ปีเท่ากับ .82 และอายุ 8 ปีเท่ากับ .76 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานด้านทักษะการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยรวมของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ทักษะรายด้านของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทักษะการวิ่ง ทักษะการวิ่งท่าม้าควบ ทักษะการกระโดดแนวนอน ภายหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ ทักษะการวิ่งก้าวขายาวข้าม ภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ส่วนทักษะการกระโดดขาเดียว และทักษะการวิ่งสไลด์ ภายหลังการทดลอง 9 สัปดาห์</p> สุวิทย์ โสตถิปรีดาวงศ์ บัญญัติ ยงย่วน แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 255 270 ความท้าทายของการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทของอำเภอหาดใหญ่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/267773 <p>ปัจจุบันหลักสูตรนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทยมีการแข่งขันอย่างดุเดือด หลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงมีความท้าทายเมื่อเทียบกับการเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมืองหลวงหรือการเป็นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เปิดหลักสูตรนานาชาติ เนื่องจากอำเภอหาดใหญ่ เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการลงทุน ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรใช้บริบทหาดใหญ่เป็นโจทย์ของความท้าทายในการพัฒนากำลังคนให้พร้อมต่อการทำงานที่สอดรับบริบทของหาดใหญ่เองและในระดับนานาชาติ ปัจจุบันอำเภอหาดใหญ่มีหลักสูตรนานาชาติทั้งหมด 8 หลักสูตรจาก 2 มหาวิทยาลัย ทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้มีปรัชญา วิสัยทัศน์ และค่านิยมร่วมด้านวิชาการและนวัตกรรม จึงอาจมองได้ว่ามีความท้าทายในทิศทางที่ใกล้เคียงกัน จากการสังเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยนำเสนอความท้าทายของหลักสูตรนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทยในบริบทอำเภอหาดใหญ่ทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ 1) คู่แข่งเพื่อนบ้าน 2) การบริหารคนในหลักสูตรนานาชาติ 3) การประชาสัมพันธ์ 4) การจัดการศึกษาในห้องเรียน และ 5) การจัดการศึกษานอกห้องเรียน โดยมิติเหล่านี้ล้วนเป็นการพิจารณาจากบริบทพื้นที่ เอกสารที่เปิดเผยได้ของมหาวิทยาลัยผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งในการนำไปใช้จำเป็นต้องพิจารณาถึงทรัพยากร ข้อจำกัด ทิศทางการพัฒนา และจุดเด่นของหลักสูตรและมหาวิทยาลัยเพื่อชูจุดเด่นที่สามารถจูงใจผู้เรียนให้เลือกเรียนหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหาดใหญ่ได้</p> กิตตินันท์ เครือแพทย์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 271 289 กลยุทธ์และคุณลักษณะของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/268852 <p>บทความวิชาการนี้เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์และคุณลักษณะของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อขยายขอบเขตการนำองค์ความรู้เรื่องการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงไปปรับใช้ในบริบทการจัดการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากวิชาชีพและห้องเรียนขนาดปกติในระดับอุดมศึกษา โดยบทความนี้ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของผู้เรียน ลักษณะห้องเรียนขนาดใหญ่ และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป บทความนี้นำเสนอ 3 กลยุทธ์หลักในการจัดการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่บูรณาการหลักการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ 1) กลยุทธ์ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อาทิ การเตรียมความพร้อมให้กับผู้สอน การประเมินความสนใจและความต้องการของผู้เรียน การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน 2) กลยุทธ์ระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย การนำเข้าสู่บทเรียน การสร้างประสบการณ์ การเชื่อมโยงประสบการณ์การสะท้อนคิด และ 3) กลยุทธ์หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การจัดการความรู้ และนำเสนอคุณลักษณะของผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับหลักการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 2 คุณลักษณะ อาทิ กรอบแนวคิดแบบเติบโต และสมรรถนะในการสอนด้านกระบวนการทางการคิด อารมณ์ และสังคม</p> เมทินี ทะนงกิจ จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 291 305 กลยุทธ์การเรียนรู้ การอภิปราย และการตั้งคำถามแบบมีส่วนร่วม (Coop-Dis-Q): เทคนิคสอนการอ่านด้วยการทำงานเป็นทีม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/269099 <p>การอ่าน เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และความรู้ เป็นความสามารถที่มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้จากผู้อื่น การสอนอ่านมีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดรู้ด้านการอ่าน เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความรู้ทางศาสตร์การสอน โดยเฉพาะรูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์การเรียนรู้ การอภิปราย และการตั้งคำถามแบบมีส่วนร่วม ในฐานะที่เป็นเทคนิคสอนการอ่านด้วยการทำงานเป็นทีม นับเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะสร้างประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ 1) สร้างกลุ่ม 2) เตรียมชุดคำถาม 3) อภิปรายเรื่องราวเป็นกลุ่มและแบ่งคำถาม 4) อภิปรายไตรมิตร ตอบคำถาม และเพิ่มคำถาม และ 5) นำเสนอไตรมิตร อภิปรายคำตอบของกลุ่ม การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ การอภิปราย และตอบคำถามร่วมกัน ซึ่งเทคนิคการสอนนี้สามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะสมรรถนะด้านการสื่อสาร ด้านการทำงานแบบรวมพลังเป็นทีมและมีภาวะผู้นำ</p> อภิชาติ อ้วนศิริ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-26 2024-08-26 4 2 307 322