วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัฐิยา ส่งสุข คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

อัตราส่วนทางเงิน, นโยบายทางการเงิน, ความสามารถในการทำกำไร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่เลือกจะเลือเฉพาะบริษัทที่มีงบการเงินสมบูรณ์และครบ 5 ปี โดยช่วงเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 จำนวน 105 บริษัท รวมทั้งสิ้น 525 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์มีจำนวน 5 อัตราส่วน ได้แก่ 1) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (D/R) 3)อัตราส่วนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ (NPM) 4) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) 5) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)  ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (D/R) มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ (NPM) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนอัตราส่วนอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ไม่มีความสัมพันธ์กันกับความสามารถในการทำกำไรและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)