การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนรวมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1

ผู้แต่ง

  • พรรณรังษี อินทมะโน ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • นิรันดร์ จุลทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การจัดการเรียนรวม, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนรวมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ขนาดสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง  คือ ครูในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 200 คน สุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา มีค่าความเชื่อมั่น .843 และใช้วิธีการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีอิสระ ค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนรวมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนรวมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 พบว่า เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนขนาดสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
  3. แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการจัดการเรียนรวมเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากรทางการศึกษา ชุมชน มีส่วนรับรู้การใช้งบประมาณ ตรวจสอบการดำเนินงาน ให้ความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)