การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • เทวราช มังคะละ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การอ่านเชิงวิเคราะห์, การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ, กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบ[ย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps)กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ่อยางวิทยา อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T-test Dependent

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\large&space;\bar{x} = 4.47, S.D. = 0.43)
  2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับ
    การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\large&space;\bar{x}= 4.64, S.D. = 0.49)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)