การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สมรัตน์ บุญมั่น หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาทร นกแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ปริซึมและทรงกระบอก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก และเพื่อศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือแบบสามเส้าโดยใช้แหล่งข้อมูลมากกว่าหนึ่งแหล่ง และใช้เกณฑ์การวิเคราะห์แบบแยกประเด็น ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีประเด็นที่ควรเน้นและแนวการปฏิบัติที่ดี คือ 1) การเน้นย้ำประเด็นปัญหาและเงื่อนไขของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ 2) สรุปเนื้อหาของเรียนที่เรียนก่อนทำกิจกรรมต่อไป 3) ลงมือปฏิบัติจริง และเรียนรู้ด้วยตนเอง 4) อภิปรายการเชื่อมโยงของแบบจำลองทุกกลุ่มร่วมกันหน้าชั้นเรียนโดยใช้สื่อจริง และสื่อเทคโนโลยี 5) ลดการให้คำชี้แนะกับนักเรียน ให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง 6) ฝึกฝนให้นักเรียนได้คิดสถานการณ์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนขึ้น และผลการศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)