แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ ไชยศิลป์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • วจี ปัญญาใส หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุมิตรา โรจนนิติ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว ราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การบริหารจัดการ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนชายขอบ

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่องแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  2. พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  3. ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2   ในการวิจัยในครั้งนี้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยกลุ่มประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา/รักษาการในตำแหน่ง  ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน/ครูประจำชั้นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2  จำนวน 201 คน  ซึ่งผู้วิจัยใช้ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 3  และกลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2  คือ ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนชายขอบ  จำนวน 2 คน  ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 คน  ครูผู้สอน 2 คน ศึกษานิเทศก์จำนวน 1 คน และนักจิตวิทยาจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย แจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชายขอบ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมา คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่วนแนวทางการบริหารจัดการ คือ  ครูมีการนำระบบ dltv ช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและมีการประชุมครูเพื่อวางแผนการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  มีการสร้างเครื่องมือในการคัดกรองนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ มีแนวทางและรูปแบบที่ทันสมัย เทคนิคที่แปลกใหม่ เพื่อเร้าความสนใจหรือความตื่นเต้นให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการแก้ไขพฤติกรรม มีการแต่งตั้งครูผู้ประสานงานหลักด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการส่งต่อนักเรียนรายบุคคลที่มีปัญหาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรมีแผนการที่ชัดเจนและส่งจต่อไปยังหน่วยงานเฉาพะที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด  ส่วนการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)