การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3
คำสำคัญ:
การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะในการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำนวน 136 คน โดยเปรียบเทียบจาก ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่น .968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำแนกตามเพศในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) การเปรียบเทียบการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำแนกตามอายุในภาพรวมไม่แตกต่างกัน รายขั้นตอน พบว่า การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลและ
การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการประเมินความก้าวหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การเปรียบเทียบ
การดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ
การจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำแนกตามระดับการศึกษาในภาพรวมและรายขั้นตอนไม่แตกต่างกัน 5) การเปรียบเที่ยบการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน รายขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิการและขั้นตอนการประเมินความสามารถพื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) ประมวลผลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 พบว่า 1) การรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กพิการ สถานศึกษาจำเป็นต้องมีห้องประเมินแรกรับ โดยจัด กิจกรรมลดความเครียดและสร้างความคุ้นเคยกับเด็กทำให้ เด็กไว้วางใจและแสดงพฤติกรรมมที่แท้จริงออกมาและทำให้ สามารถเก็บข้อมูลพัฒนาการด้าน พฤติกรรม อารมณ์ได้ดี ยิ่งขึ้น 2) การคัดกรองประเภทของความพิการทางการศึกษา ครูผู้สอนต้องใช้แบบคัดกรองประเภทความพิการที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล เพื่อแยกประเภทความพิการทางการศึกษาของผู้เรียน 3) การประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนพิการ ผู้บริหารสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการในการประชุมกลุ่มย่อย ๆ ระหว่างครูนักสหวิชาชีพ ผู้ปกครองเพื่อวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลพฤติกรรมผู้เรียนพิการและเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการตามวัยกับพัฒนาการของเด็กทั่วไป 4) การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ครูผู้รับผิดชอบนำผลการประเมินความสามารถขั้นพื้นฐานผู้เรียนมาประกอบการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลมาวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสอดคล้องกับความพิการและความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละบุคคล 5) ครูผู้สอนจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นพิเศษของผู้เรียนพิการแต่ละประเภทและคำนึงถึงระดับความสามารถพื้นฐานและข้อจำกัดของแต่ละบุคคลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนพิการแต่ละบุคคล 6) การประเมินความก้าวหน้า ครูผู้สอนมีการจดบันทึกและรวบรวมข้อมูลพัฒนาการของ ผู้เรียนพิการก่อน ระหว่างและหลังการประเมินความก้าวหน้า 7) สถานศึกษาจัดทำแผนและปฏิทินในการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อผู้เรียน ติดต่อ ประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งต่อผู้เรียนพิการ