วารสารนิสิตวัง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw
<p><strong>"วารสารนิสิตวัง"</strong> มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศาสนศึกษา ปรัชญา ภาษาและภาษาศาสตร์ จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ กฎหมาย บริหารธุรกิจ การศึกษาเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม </p> <p>(เนื่องจากวารสารนิสิตวัง ได้รับการปรับกลุ่มวารสารจาก TCI กลุ่ม 3 เป็น TCI กลุ่ม 2 ตามประกาศของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ดังนั้น การเผยแพร่ในวารสารจะมีค่าธรรมเนียม ตั้งแต่เล่มปีที่ 24 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป)</p> <p>- ประเภทของผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร มี 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย</p> <p>- รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>- บทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน (reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยพิจารณาแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้พิจารณาบทความ และผู้เกี่ยวข้อง (double-blinded review)</p> <p><strong>สาขาที่เปิดรับ : </strong>ศาสนศึกษา ปรัชญา ภาษาและภาษาศาสตร์ จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ กฎหมาย บริหารธุรกิจ การศึกษาเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์</p> <p><strong>*</strong><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ : </strong><strong>บทความภาษาไทย 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน), บทความภาษาอังกฤษ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)**</strong><br /><strong>**</strong><strong>กรณีที่บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ วารสารขอแจ้งว่า สงวนสิทธิ์คืนเงินค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong> <strong>**</strong></p> <p><strong>ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม</strong><br /> กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางบัญชีธนาคาร ดังนี้<br /> ชื่อบัญชี <strong>มมร. วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย</strong><br /> ธนาคาร กรุงไทย <strong>สาขาประตูน้ำพระอินทร์</strong><br /> เลขที่บัญชี <strong>126-1-27835-6</strong><br /> <strong> ***(ผู้ส่งบทความจะชำระเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ หลังจากได้รับแจ้งจากวารสารเท่านั้น)***</strong></p>
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
th-TH
วารสารนิสิตวัง
1513-4423
-
ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/271496
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษานิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จำนวน 194 คน จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 391 คน เครื่องมือที่ใช้<br />เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.859 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน <br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1) ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหาร โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก <br />2) การนิเทศภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก <br />3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ 0.923 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 <br />4) ภาวะผู้นำร่วมสมัยของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จากตัวแปรทั้งหมด 4 ตัวแปร ตัวแปรทั้ง 4 ตัว ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) การสร้างแรงบันดาลใจร้อยละ 77.10 2) การค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ร้อยละ 81.80 3) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ร้อยละ 84.30 <br />และ 4) การกระตุ้นทางปัญญา ร้อยละ 85.30 ตามลำดับ โดยร่วมกันพยากรณ์การนิเทศภายในของสถานศึกษาได้ร้อยละ 85.30 (R2 = 0.853)</p>
นภัทร ชัยทวีพรภัทร์
กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
1
13
-
แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/271319
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 306 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน จำนวน 130 โรงเรียน โดยกำหนดให้ร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษาต่อครู 30 : 70 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.980 แบบสอบถามสภาพพึงประสงค์ที่มีค่าเชื่อมั่น 0.975 และแบบการประชุมสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้การเขียนบรรยาย </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <p>(1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ </p> <p>(2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ลำดับแรก คือ ส่งเสริมให้กล้าเสี่ยงลำดับที่สอง คือ ให้พลังอำนาจครูและปลูกฝังทักษะภาวะผู้นำและลำดับที่สาม คือ การเข้าใจความสำคัญของการสร้างชุมชน </p> <p>(3) แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ทั้ง 3 คุณลักษณะมีขั้นตอนและกระบวนการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ครบถ้วน</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> แนวทาง การพัฒนา คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา</p>
ชลธิชา บัวทอง
ภูวดล จุลสุคนธ์
เสริมทรัพย์ วรปัญญา
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
14
25
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272294
<p>การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กระบวนการวิจัยนี้มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5) ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ 6) ขั้นการแสดงผลงาน และ 7) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง จำนวน 31 คน และในการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม<strong> </strong>และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ul> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านท่าม่วง พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 23 (= 22.23) คิดเป็นร้อยละ 74.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70</li> <li>ความก้าวหน้าทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านท่าม่วง พบว่า มีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนโดยใช้วิธี Normalized Gain 57 (< > = 0.57) อยู่ในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</li> </ul> <p>ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าม่วง ที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.67)</p>
ศศิธร บัวศรี
ธนาดล สมบูรณ์
สมาพร มณีอ่อน
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
26
38
-
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272631
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต1 (2) ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ (4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่มีต่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 การวิจัยนี้เป็นทดลองการใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร จำนวน 14 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดดอนรวบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ และเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบประเมินเจตคติของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>(1) องค์ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ มีเนื้อหาจำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1) ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำ 2) ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 3) ภาษาไทยทรงดำ 4) วิถีชีวิตไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 5) ประเพณีและพิธีกรรมไทยทรงดำบ้านดอนรวบ 6) การละเล่นไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ และองค์ประกอบของหลักสูตร 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าหมาย 4) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) โครงสร้างเวลาเรียน 7) โครงสร้างหลักสูตรท้องถิ่น 8) สาระการเรียนรู้ 9) การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 10) คำอธิบายรายวิชา 11) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/หน่วยการเรียนรู้ และ 12) แผนการจัดการเรียนรู้</p> <p> (2) ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก </p> <p>(3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนหลักสูตรท้องถิ่นประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ พบว่า กลุ่มประชากรมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>(4) ผลการเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนหลักสูตรท้องถิ่นประเพณีและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านดอนรวบ พบว่า กลุ่มประชากรมีเจตคติต่อหลักสูตรหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1</p>
นฤพนธ์ เดชบุญพบ
ธนาดล สมบูรณ์
วีระ วงศ์สรรค์
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
39
50
-
การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272748
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling random) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วนและร้อยละ เป็นแบบทดสอบคู่ขนานแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 38 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .317 ถึง .863 โดยข้อที่คู่ขนานกันมีค่าความยากง่ายใกล้เคียงกัน มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .206 ถึง .620 โดยข้อที่คู่ขนานกันมีค่าอำนาจจำแนกใกล้เคียงกัน และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .908 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการเข้าใจแนวคิด มีจำนวนนักเรียนที่เข้าใจแนวคิดคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 21.74และจำนวนนักเรียนที่เข้าใจแนวคิดคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 56.52</li> <li>มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการตีความ มีจำนวนนักเรียนที่ตีความคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 8.70และ จำนวนนักเรียนที่ตีความคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 47.83 </li> <li>มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้านการคิดคำนวณ มีจำนวนนักเรียนที่คิดคำนวณคลาดเคลื่อนต่ำสุด ร้อยละ 8.70และจำนวนนักเรียนที่คิดคำนวณคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 26.09</li> </ol>
ไพโรจน์ โอ่งตั๋ว
วรนุช แหยมแสง
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
51
61
-
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272531
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษาในกลุ่ม กรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรประกอบด้วย ครูในสถานศึกษากลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,943 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษากลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 333 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปของโคเฮน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการ สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ค่า จำนวน 52 ข้อ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80–1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค เท่ากับ 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Correlation Coefficient)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <p>1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก </p> <p>2) วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก </p> <p>3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษาในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
วรภรณ์ ทวีกูล
กัลยมน อินทุสุต
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
62
74
-
การพัฒนาชุดสื่อการเล่นลูสพารตส์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านแบบรูป และความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/273263
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดสื่อการเล่นลูสพารตส์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) ประเมินผลการใช้ชุดสื่อการเล่นลูสพารตส์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู 10 คนและเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสนทนากลุ่มออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพชุดสื่อ 3) ชุดสื่อและคู่มือการใช้ 4) แบบประเมินความเข้าใจด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า </p> <p>1) การพัฒนาชุดสื่อด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ขั้นที่ 1 การเข้าใจปัญหา พบว่า ครูไม่ทราบเทคนิคการจัดกิจกรรมและต้องการบรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรง ขั้นที่ 2 การกำหนดปัญหา ได้ระบุปัญหาเทคนิคการจัดกิจกรรมและบรรจุภัณฑ์ ขั้นที่ 3 การระดมความคิด ได้กำหนดวัสดุที่ใช้ บัตรแบบรูปและความสัมพันธ์ตามลำดับความยากง่าย บรรจุภัณฑ์ คู่มือการใช้ ขั้นที่ 4 การสร้างต้นแบบ ประกอบด้วย ชุดสื่อการเล่นลูสพารตส์และคู่มือการใช้ ขั้นที่ 5 การทดสอบ นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและประเมินผล </p> <p>2) การประเมินผลคุณภาพของชุดสื่อมีคุณภาพดีมาก (µ = 4.78, σ = 0.44) และผลการประเมินความเข้าใจด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดีมาก (µ = 2.86, σ = 0.34) ถือว่าชุดสื่อและคู่มือการใช้ลูสพารตส์มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยความคิดเห็นของครูปฐมวัย พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องแบบรูปและความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น เข้าใจเทคนิคการสอนและนำไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้ รวมทั้งเด็กเกิดความเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ สนุกสนาน และเกิดแรงจูงในการเรียนรู้</p>
พนิตา ชอบทำกิจ
อรพรรณ บุตรกตัญญู
เพ็ญศรี แสวงเจริญ
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-12
2024-12-12
26 2
75
85
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา)
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/273004
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) โดยทำการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 24 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test for dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.83/80.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด</p> <p>2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p>3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง (อุดมวนา) ที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคความรวม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( 4.78, S.D. = 0.10)</p>
กนกลดา อังกินันทน์
กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
86
97
-
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272733
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 1,899 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี จำนวน 320 คน โดยใช้ขนาดอำเภอเป็นชั้นในการแบ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านวิสัยทัศน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านความรู้เท่าทันดิจิทัลเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด<strong> </strong></p> <p>2)<strong> </strong>ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการแก้ไขปัญหาภายในสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านเจตคติทางบวก<strong> </strong></p> <p>3)<strong> </strong>ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านมีส่วนร่วมในการทำงาน () ด้านคุณธรรม จริยธรรม () ด้านทักษะการสื่อสาร () และด้านวิสัยทัศน์ () โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัว มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาร่วมกัน มีค่าคงที่ของการพยากรณ์เท่ากับ .689 </p> <p>4) ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี พบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ดี มี 4 ตัวแปร คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านวิสัยทัศน์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีได้ร้อยละ 59.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณสะสมของตัวแปรพยากรณ์ ทั้งตัวแปรกับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ .769 ค่าความคลาดเคลื่อน เนื่องจากการพยากรณ์เท่ากับ .332 มีค่าคงที่ของการพยากรณ์เท่ากับ .689 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ คือ = .689 + .358() + .300() + .143() + .134()</p>
วรรณนิศา นนทศักดิ์
สุทธิพงศ์ บุญผดุง
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
98
108
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/273201
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผล การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล พระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 68 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล 4) แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) องค์ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชุดกิจกรรมมีองค์ประกอบ 4 องค์ ประกอบ ดังนี้ (1) คู่มือสำหรับครูและนักเรียน (2) คำสั่งหรือคำแนะนำ (3) เนื้อหาสาระและสื่อการสอน (4) แบบฝึกหัด จำนวน 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 รู้จักการเกิดหินและวัฏจักรหิน และชุดที่ 2 นักล่า ซากดึกดำบรรพ์ ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.54/84.71 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80</p> <p>2) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก พบว่า</p> <p>2.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 25.41 และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.43 มีผลการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> <p> 2.2 ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนในภาพรวม พบว่า พฤติกรรมที่ 1 การเขียนรูปแบบการนำเสนอที่เลือกอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 2 การเขียนอธิบายเหตุผลประกอบการเลือกรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 3 การเขียนออกแบบเค้าโครงของรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่ 4 การเขียนระบุข้อมูลลงในเค้าโครงของรูปแบบการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก และพฤติกรรมที่ 5 การพูดหรือการเขียนบรรยายอยู่ในระดับดีมาก ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก</p> <p>3) นักเรียนมีความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านบริบทบรรยากาศในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมาก ด้านครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านเอกสารประกอบการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ซึ่งค่าเฉลี่ยความพึงพอใจทั้ง 5 ด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 และความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 โดยอยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจระดับมากที่สุด</p>
จีรนันท์ เจ็งเจริญ
ประยูร บุญใช้
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
109
121
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272929
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เปรียบเทียบความสามารถการสื่อสารภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสามัคคีพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 198 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม แบบทดสอบความสามารถการสื่อสารภาษาไทย และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic induction) แล้วเขียนบรรยายเป็นความเรียง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1.ข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วยปัญหาการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ที่พบ คือ นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวไทยภูเขาในพื้นที่ชายขอบมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารและการจัดการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทเชิงพื้นที่ หลักการการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้า ทักษะทางสังคม กระบวนการกลุ่ม และผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ความสามารถในการสื่อสารภาษาไทย ประกอบด้วย 5 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด และการใช้หลักภาษาไทย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.ชุดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และมีค่าประสิทธิภาพ 40/89.50</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3.ความสามารถการสื่อสารภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p>
เมธี อนันต์
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
122
133
-
การเรียนรู้เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐานร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ในเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่ม
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/273187
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ออกแบบการวิจัยตามกระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ 4) สะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม ศึกษาอยู่ในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด จำนวน 5 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selecting) ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 1 คน เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 3 คน และเด็กออทิสติก จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์เรื่องการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จำนวน 3 แผน (2) แบบทดสอบการชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม มีพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ระหว่างการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล แผนที่ 1 และ 2 นักเรียนทั้ง 5 คน มีพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง4.0–4.4 ส่วนแผนที่ 3 มีพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยม 4 คน และดีมาก 1 คน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.4–4.2</li> <li>เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในระยะแรกเริ่ม มีพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลังการได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟเป็นฐาน ร่วมกับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ทั้ง3 แผนเด็กทั้ง 5 คน สามารถชี้หรือบอกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกคน อยู่ในระดับร้อยละ 100</li> </ol>
ปริวัตร ส่างหญ้านาง
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
134
146
-
แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/273039
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมระยอง เขต 1 เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การปฎิบัติงาน และเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 276 คน ได้มาโดยใช้ตารางของเครจซี่ มอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าเอฟ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <p>1) ระดับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมนักเรียน </p> <p>2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3) แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา มี 7 แนวทาง ดังนี้ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านกิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง การส่งต่อนักเรียน และการสรุปผล</p>
นปภา สกุลพิทักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
147
159
-
รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัย ในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/276411
<p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิต 3. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตที่สำคัญ 6 ปัญหาได้แก่ 1. ปัญหาและอุปสรรคของการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตที่สำคัญ 6 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหากฎหมายและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยรังสิต เช่น ปัญหากฎระเบียบของมหาวิทยาลัยรังสิตไม่สามารถบังคับใช้กับประชาชนภายนอกมหาวิทยาลัย และไม่เอื้ออำนวยให้ตำรวจมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการจับกุมหรือเข้าระงับเหตุได้ เป็นต้น <br />2) ปัญหากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น ขั้นตอนการปฏิบัติงานบางอย่างมีหลายขั้นตอนเกินไปทำให้ปฏิบัติตามได้ยาก และปัญหาการตัดสินใจคำสั่งมีหลายขั้นตอนมากเกินไปทำให้การทำงานล่าช้า 3) ปัญหาคุณภาพและจำนวนกำลังพลของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ตำรวจมหาวิทยาลัยขาดความรู้ในการคิดวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์และขาดความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และจำนวนของตำรวจมหาวิทยาลัยมีน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับภาระงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น 4) ปัญหาการขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ขาดแคลนกล้อง CCTV ที่ทันสมัย และขาดแคลนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เป็นต้น 5) ปัญหาประชาชนไม่ให้การยอมรับบทบาทหน้าที่ของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ไม่ไห้ความร่วมมือ และการไม่เชื่อฟังคำสั่งของตำรวจมหาวิทยาลัย เป็นต้น และ 6) ปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัย เช่น ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน และพื้นที่ในชุมชนเอื้อต่อการก่ออาชญากรรม เป็นต้น</li> <li>แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมหาวิทยาลัยรังสิตมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ 2) การพัฒนากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3)การพัฒนาคุณภาพตำรวจมหาวิทยาลัย4) การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ 5) การพัฒนาการยอมรับของประชาชน และ 6) การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน </li> <li>ข้อเสนอแนะและรูปแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยได้แก่ 3.1 ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ควรจะดำเนินการพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับอำนาจการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภายนอกมหาวิทยาลัย 2) ควรจะปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานของตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต 3) ควรจะตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของตำรวจมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง 4) ควรจะให้การส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน 5) ควรจะดำเนินการประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่ของตำรวจมหาวิทยาลัยให้ประชาชนเข้าใจ 6) ควรจะแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนให้มีความปลอดภัย 3.2 รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมโดยตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากระบวนและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาคุณภาพตำรวจมหาวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 4 การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาการยอมรับของประชาชน ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน</li> </ol>
ชาตรี รุ่งดำรงค์
กฤษณพงค์ พูตระกูล
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
160
172
-
การบริหารจัดการเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แบบ New Normal
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jonw/article/view/272782
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ แบบ New Normal เพื่อเป็นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น การเมือง การสงคราม และโรคระบาด เป็นต้น ซึ่งผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ต้องมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดรับกับสถานการณ์ภายใต้รูปแบบที่แตกต่างจากอดีต เช่น การจัดสอนระบบทางไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ การจัดตารางบุคคลเข้าเรียน เพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการพัฒนาด้านความปลอดภัยด้านอื่น ๆ เป็นต้น การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันสามารถจัดการเรียนการสอนออกเป็น 4 ระบบ คือ 1) ระบบ Online 100% 2) ระบบ On Site 3) ระบบ Hybrid learning และ 4) ระบบ Home School ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของศูนย์ฯ โดยมีการประเมินความพร้อมด้านการให้บริการจัดการเรียนการสอน เช่น ความพร้อมด้านสถานที่ ความพร้อมด้านอุปกรณ์ สื่อและเทคโนโลยี ความพร้อมด้านผู้สอน ความพร้อมด้านผู้เรียน และการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีการบริหารจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านเทคโนโลยีมากขึ้นร่วมกับการมีส่วนร่วม ได้แก่ บ้าน/ชุมชน วัด/องค์การทางศาสนา และโรงเรียน/หน่วยราชการ เพื่อให้การบริหารจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด</p>
พระมหาไชยถนอม หาระสาย
Copyright (c) 2024 วารสารนิสิตวัง
2024-12-14
2024-12-14
26 2
173
182